10 มี.ค. 2023 เวลา 12:30 • หนังสือ

คมคิด จากบทสัมภาษณ์ ไอติม พริษฐ์

#เน้นข้อความ ประโยคเด็ดชวนฉุกคิด
จากบทสัมภาษณ์ คุณไอติม พริษฐ์ วัชรสินธุ
CEO 'StartDee' แพลตฟอร์มด้านการศึกษา ผู้ก่อตั้งกลุ่มรัฐธรรมนูญก้าวหน้า และปัจจุบันเป็นสมาชิกพรรคก้าวไกล
ในหนังสือ Leaders' Wisdom ของคุณต้อง กวีวุฒิ เต็มภูวภัทร เรียบเรียงโดย คุณพันธวัฒน์ เศรษฐวิไล
สำนักพิมพ์ KOOB
มีดังนี้ครับ...
ความเชื่อมโยงระหว่างการศึกษากับการเมือง
การจะลดความเหลื่อมล้ำได้ก็ต้องเริ่มต้นจากการลดความเหลื่อมล้ำ"ในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ"
การเรียนประวัติศาสตร์
ในมุมมองของผม ไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าเราจำได้หรือไม่ว่า 200 ปีที่แล้วประเทศไหนได้โจมตีประเทศไหน หัวใจสำคัญคือมันควรเป็นวิชาที่ช่วยพัฒนาทักษะการวิเคราะห์และแยกแยะข้อมูลต่างๆ ที่เรารับเข้ามา
...ไม่ว่าข่าวปลอมจะเข้ามาเยอะแค่ไหน ก็สามารถวิเคราะห์แยกแยะได้
การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ในฐานะผู้นำองค์กร ไอติมกล่าวว่า
ถ้าเราตั้งคำถามเป็น ดึงข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญเป็น สุดท้ายเราจะเพิ่มคุณค่าให้กับองค์กร
ความต่างระหว่างวัย
ไม่ใช่เรื่องแปลกที่คนแต่ละรุ่นจะมีความคิดที่ต่างกัน เพราะประสบการณ์ที่คนแต่ละรุ่นเจอในตอนเด็กมันต่างกันเยอะมาก
...เด็กในยุคปัจจุบันเกิดมาพร้อมกับโซเชียลมีเดีย ทำให้เขามีความเป็นพลเมืองโลกมากกว่าพลเมืองชาติ โซเชียลมีเดียทำให้เส้นแบ่งของประเทศจางลงไป ดังนั้นไม่ต้องแปลกใจ ถ้าเขาไม่ได้มีความเป็นชาตินิยมหรือความรักชาติในมุมมองแบบสมัยก่อน
คนรุ่นเก่ากับคนรุ่นใหม่สามารถทำงานร่วมกันได้ สิ่งสำคัญคือ "การฟัง" โดยเฉพาะการฟังให้ถึงแก่นของเนื้อหาสาระ
'ผมไม่อยากให้สังคมไทยเป็นสังคมของไดโนเสาร์(รุ่นใหม่มองรุ่นเก่า) กับเด็กเมื่อวานซืน(รุ่นเก่ามองรุ่นใหม่)'
Empathy
สาเหตุที่การเข้าใจคนอื่นเป็นเรื่องยาก เพราะเราต้องพยายามเข้าใจบริบทของเขาก่อน ซึ่งไม่ง่าย แต่อย่างน้อยถ้าเราแสดงความจริงใจในการสงสัย ถามด้วยความอยากรู้จริงๆ ว่าเขาคิดยังไง แล้วตั้งใจรับฟัง
'Empathy เริ่มจาก Curiosity' (ความเข้าอกเข้าใจ เริ่มจาก ความสงสัยใคร่รู้)
สุดท้ายไอติมมีเป้าหมายหวังให้สังคมไทยมีความเป็น
'Meritocracy'
Meritocracy คือ สังคมที่โอกาสซึ่งแต่ละคนได้รับขึ้นอยู่กับความสามารถ ความขยัน และความพยายามของเขาเอง ไม่ได้ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ เช่น เกิดที่จังหวัดไหน นามสกุลอะไร สถานทางสังคมหรือเศรษฐกิจแบบไหน หรือเพศอะไร
โฆษณา