Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
คณะกรรมประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.)ตะวันออก
•
ติดตาม
5 ธ.ค. 2022 เวลา 04:34 • สิ่งแวดล้อม
เวทีจัดทำข้อเสนอแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนต่อประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาช้างป่า
(ซ้าย)นายไพโรจน์ พลเพชร ที่ปรึกษากสม./ ศยามล ไกยูรวงศ์ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประธานที่ประชุม/ชัยธวัช เนียมศิริ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดเลย
คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน(กป.อพช.)ภาคตะวันออก ในฐานะเป็นองค์กรขับเคลื่อนประเด็นปัญหาสาธารณะต่างๆที่เกิดขึ้นในภาคตะวันออก โดยหนึ่งในประเด็นต่างๆ นั่นคือ ประเด็นภัยคุกคามจากช้างป่า ที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อชีวิตและทรัพย์สินประชาชนมานานหลายปีและทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จนถึงขั้นชาวบ้านหลายรายเสียชีวิตอย่างต่อเนื่อง และไม่มีทีท่าว่าจะลดความรุนแรงลง จนก่อให้เกิดวิกฤติการณ์ปัญหาอันดับต้นๆในภาคตะวันออก
และในวันที่ 2 ธันวาคม 65 ที่ผ่านมา
ทาง กป.อพช.ภาคตะวันออกได้รับการประสานงานจากกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ให้ร่วมเสนอแนวทางปกป้องคุ้มครองสิทธิความเป็นมนุษย์ของประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากปัญหาช้างป่าที่เกิดขึ้น ในเวทีหารือจัดทำข้อเสนอแนะในทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาช้างป่า
ซึ่งก่อนหน้านี้ทาง กป.อพช.ภาคตะวันออก ได้เสนอแนะให้ทางกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้เรียนเชิญผู้ว่าราชการทุกจังหวัด รวม 8 จังหวัด และหัวส่วนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมรับฟังแนวทางการร่วมแก้ไขปัญหาช้างป่าภาคตะวันออกนี้จากภาคประชาชน เพื่อผลักดันให้เกิดกลไกการจัดตั้งคณะแก้ไขปัญหาช้างป่าระดับจังหวัด และระดับภาค โดยมีภาคประชาชน และผู้ได้รับผลกระทบเข้าไปมีส่วนร่วม อย่างเร่งด่วน
บุปผาทิพย์ แช่มนิล ประธานกป.อพช.ตะวันออก
โดยมีเนื้อหาสาระสำคัญข้อเสนอผ่านกสม.ในส่วนของ กป.พอช.ตะวันออก โดยมุ่งเน้นไปในเรื่องของสิทธิของคนเป็นหลัก 3 ข้อเรียกร้อง 1 กลไก ดังต่อไปนี้
กลไก
1.ผลักดันให้จัดตั้งกลไกระดับจังหวัดจัดการ ช้าง คน ป่า อย่างมีส่วนร่วมโดยมีเครือข่ายภาคประชาชน
2.ผลักดันให้จัดตั้งกลไลระดับกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก กป.อพช.ภาคตะวันออก และอาสา(ผู้ได้รับผลกระทบ) ทำงานร่วมอย่างบูรณาการ ร่วมกับกลุ่มจังหวัดบูรณาการ (ก.บ.ก.) กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก 2
ข้อเรียกร้อง
1.ศึกษารวบรวมข้อมูลช้างป่าตะวันออก 8 พื้นที่ 8 จังหวัด โมเดลวิถีคน วิถีช้างศึกษาบนฐานชุมชน(Area Based Learning)
2. เรียกร้องให้รัฐบาลให้ความสำคัญกับกองหน้าท้องถิ่น สนับสนุนการทำงานของชุดอาสาอย่างเต็มกำลัง
3. ติดตามนโยบาย และ กฏหมาย เพื่อเรียกร้องให้เกิดการดำเนินการอย่างเป็นธรรม สิทธิขั้นพื้นฐาน มาตรา 40 คุ้มครองทั้งคนไทยและต่างชาติ
อีกทั้งผลัดดันให้เกิดกฏหมายการคุ้มครองสิทธิ ที่เกิดจากโครงการฯ กิจกรรมของรัฐที่เกี่ยวกับภัย ช้าง (ช้างป่าเป็นกาลเฉพาะ)
และยังมีเสนอข้อเรียกร้องให้เกิดการจัดการปัญหาช้างป่าอย่างเป็นธรรมให้กับชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบทุกคน ตามมาตรการ 3 ค.
1.คุ้มครองคน ประชาชนต้องได้รับสิทธิการคุ้มครองชีวิตและทรัพย์สินจากภาครัฐอย่างเป็นธรรม
เร่งแก้ไขหลักเกณฑ์การเยียวยาบนฐานความเป็นจริงและเป็นธรรม / แก้ไขระเบียบขั้นตอนการเยียวยา เพราะกรณีภัยช้างป่าแตกต่างจากภัยพิบัติทั่วไป
เร่งกำหนดหลักเกณฑ์ช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากสัตว์ป่า ตาม ม.60 (8)) พรบ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า
เร่งสนับสนุนสวัสดิการอาสาสมัครเฝ้าระวังช้างป่า ม.60 (7) พรบ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า และ ตาม ม.32 (3) พรบ.อุทยานแห่งชาติ
2.ควบคุมช้าง
กรมอุทยานฯ ต้องควบคุมจำนวนประชากรช้างป่า ควบคู่กับการพัฒนาพื้นที่รองรับที่เหมาะสมต่อจำนวนประชากร (Carrying Capacity) ในพื้นที่ป่ารอยต่อ 5 จังหวัดภาคตะวันออก
ออกกฎหมายว่าด้วยการจัดการช้างป่า และจัดตั้งหน่วยงานรับผิดชอบในการจัดการปัญหาช้างป่าเป็นการเฉพาะ
3.ขับเคลื่อนร่วมกัน
ต้องสร้างกลไกในการจัดการปัญหาช้างป่าในระดับจังหวัดเพื่อกำหนดนโยบายของแต่ละจังหวัด และต้องมีตัวแทนภาคประชาชน ภาคประชาสังคม คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และผู้ตรวจการแผ่นดิน เพื่อมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและการตรวจสอบท่วงดุลการจัดการปัญหาช้างป่า
โดยต้องกระจายอำนาจการจัดการปัญหาช้างป่าไปสู่องค์กรส่วนท้องถิ่น เพื่อให้มีส่วนร่วมในการจัดการปัญหาช้างป่าในท้องถิ่นของตนเอง
และการให้การช่วยเหลือเยียวยาอย่างทันท่วงที จากสาเหตุความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
ซึ่งคือสิทธิในชีวิตและร่างกาย และสิทธิในทรัพย์สินของประชาชน ไม่เพียงแต่กระทรวงมหาดไทยที่มีหน้าที่ปกป้องและคุ้มครองสิทธิดังกล่าวแต่รวมถึงทุกองคาพยพของรัฐต้องทำหน้าที่ปกป้องและคุ้มครองเช่นเดียวกัน
หลังจากนี้ทางคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.)ภาคตะวันออก จะติดตามข้อเสนอต่างๆอย่างใกล้ชิดเพื่อให้เกิดผลปฎิบัติเพื่อขับเคลื่อนให้เกิดการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วนและเป็นรูปธรรมต่อไป
ทีมสื่อ กป.อพช.ตะวันออก
รายงาน
บันทึก
9
9
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย