4 ธ.ค. 2022 เวลา 16:10 • สุขภาพ
🤔ทำไมยาทิฟฟี่​ ดีโคลเจน​ ถึงมีคำเตือนห้ามใช้ในคนเป็นความดันโลหิตสูง​ โรคเบาหวาน​ โรคหัวใจ​ โรคของต่อมทัยรอยด์
💠ยาทิฟฟี่​ (เดย์)​ ดีโคลเจน​ (พริน)​
และยาหวัดยี่ห้ออื่นๆ​ เช่น​ อะปราคัว​ แม็กซี่​ พลัส​ เมดิแทป นาโซแทป​ ไซนูเฟน​ ซูลิดีน
เป็นยาสูตรผสมระหว่างยาแอนตี้ฮีสตามีน​ แก้หวัด​ และยาหดหลอดเลือด​ แก้คัดจมูก​ ซึ่งบางยี่ห้อก็มียาแก้ปวดพาราเซตามอล​ ผสมอยู่ด้วย​ ซึ่งที่กล่าวมาทั้งหมด​​ ล้วนแล้วแต่เป็นยาสูตรผสมที่มียาหดหลอดเลือดฟีนิลเอฟรีน (Phenylephrine) ผสมอยู่
😪ฟีนิลเอฟรีน​ เป็นยากลุ่ม vasopressors ชนิดเดียวที่ออกฤทธิ์กระตุ้นอย่างเฉพาะต่อ alpha-1 receptor ทำให้หลอดเลือดหดตัว เพิ่มความดันเลือด จึงนำไปใช้รักษาผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยากลุ่ม​vasopressors อื่นแล้ว โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีความดันต่ำ แต่ยังคงมีหัวใจเต้นเร็วขณะดมยาสลบในห้องผ่าตัด​
🔺อาการไม่พึงประสงค์ที่พบ ได้แก่ reflex bradycardia, หลอดเลือดส่วนปลายและในอวัยวะร่างกายหดตัวรุนแรง ทำให้​ renal blood flow, splanchnic blood flow และ cardiac output ลดลง ซึ่งเป็นผลจากการที่ยาฟีนิลเอฟรีน​ทำให้หลอดเลือหดตัว​
❗การกินยาฟีนิลเอฟรีน​นอกจากจะทำให้หลอดเลือดในจมูกหดตัวเพื่อแก้คัดจมูกแล้ว​ ก็ยังทำให้เกิดการหดตัวของหลอดเลือดทั่วร่างกายซึ่งอาจทำให้ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น
⚠️ยาบรรเทาอาการคัดจมูก (decongestants) ในยานี้อาจทำให้เกิดความดันโลหิตสูงขึ้นและเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ
⚠️ยาบรรเทาอาการคัดจมูกในยานี้อาจทำให้ความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานเพิ่มขึ้น
⚠️ภาวะไทรอยด์ทำงานมากเกินไปอาจทำให้หัวใจเต้นเร็ว ซึ่งยาบรรเทาอาการคัดจมูก (decongestants) ในยานี้อาจทำให้หัวใจเต้นเร็วได้เช่นกัน
⛔การใช้ยาทิฟฟี่​ ดีโคลเจน​ และยาอื่นที่มีฟีนิลเอฟรีน​ จึงต้องระวังการใช้ยาในผู้ที่เป็นความดันโลหิตสูง ไธรอยด์เป็นพิษ โรคหัวใจ และเบาหวาน
▶️▶️▶️ ทิฟฟี่​ เดย์, ดีโคลเจน​ พริน
[สถานะตามกฎหมาย]
ยานี้หากจัดประเภทตาม พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 แล้ว ถือว่าเป็นประเภทยาอันตราย ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ยาอันตราย ฉบับที่ 24 (ราชกิจจานุเบกษา 19 กันยายน 2554) เนื่องจากสูตรดังกล่าวมีพาราเซตามอลถึง 500 มิลลิกรัม ซึ่งมีพาราเซตามอลเกิน 325 มิลลิกรัม จึงไม่เข้าข้อยกเว้นยาที่ไม่ใช่ยาอันตราย
[สถานที่ที่สามารถขายยานี้ได้]
ต้องขายในร้านขายยาแผนปัจจุบันประเภท ข.ย.1 เท่านั้น (สังเกตป้ายที่เขียนว่า “สถานที่ขายยาแผนปัจจุบัน” จะเป็นสีน้ำเงิน) และต้องมีเภสัชกรเป็นผู้ขายเท่านั้น (ตามมาตรา 32 ผู้ฝ่าฝืนต้องได้รับโทษตามมาตรา 107 กล่าวคือ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 1,000 – 5,000 บาท)
[สถานที่ห้ามขายยานี้] เช่น
ห้ามขายในร้านขายยาประเภท ข.ย.2 (สังเกตป้ายที่เขียนว่า “สถานที่ขายยาแผนปัจจุบันเฉพาะยาบรรจุเสร็จที่ไม่ใช่ยาอันตรายหรือยาควบคุมพิเศษ” จะเป็นสีเขียว) เนื่องจากเป็นการขายยาแผนปัจจุบันไม่ตรงตามประเภทใบอนุญาต (ฝ่าฝืนมาตรา 19(2) ต้องรับโทษตามมาตรา 102 กล่าวคือ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 2,000 – 5,000 บาท)
ห้ามขายในร้านชำหรือร้านสะดวกซื้อ (เนื่องจากไม่มีใบอนุญาตขายยาแผนปัจจุบัน ฝ่าฝืนมาตรา 12 ต้องรับโทษตามมาตรา 101 กล่าวคือ โทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 10,000 บาท)
[การโฆษณา]
เนื่องจากยาในสูตรนี้เป็นยาอันตราย จึงห้ามโฆษณาขายยาที่แสดงสรรพคุณยาอันตรายโดยตรงต่อประชาชน ตามมาตรา 88 (ฝ่าฝืนต้องระวางโทษตามมาตรา 124 กล่าวคือ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 100,000 บาท) ทำได้เพียงโฆษณาขายยาต่อผู้ประกอบวิชาชีพโดยต้องขออนุญาตก่อน ซึ่งเลขที่โฆษณาจะเห็นคำว่า ฆศ
สูตรที่เห็นในโฆษณาเป็นสูตรที่ยกเว้นไม่เป็นยาอันตราย (และมีชื่อการค้าเกือบเหมือนกับสูตรยาที่โฆษณาไม่ได้ ต่างกันตรงที่สูตรที่โฆษณาได้ ชื่อยาจะไม่มี “เดย์” หรือ “พริน” หรืออื่น ๆ ต่อท้าย
😀มีปัญหา​เรื่อง​การ​ใช้​ยา​เชิญ​ปรึกษา​เภสัชกร​
.
.
💢
CPE 2-2562 Vasopressors and Inotropes.pdf
POSTED 2022.12.04
บทความ​อื่น
😠HYPERTENSION
New Hypertension Guidelines Apply to Diverse Socioeconomic Settings
ยาความดัน
🔰ACEi ARBs กับ​ อาการไอ🔰
สรุปยารักษาโรคความดันโลหิตสูงและอาการข้างเคียงที่สาคัญ
ยากับความดัน
บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป.
โฆษณา