Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เที่ยววัด...ตามใจ
•
ติดตาม
5 ธ.ค. 2022 เวลา 09:45 • ประวัติศาสตร์
ลมหายใจอยุธยายุคปลายใจกลางกรุงเทพฯ
วัดช่องนนทรี(วัดนางหนี)
พระประธานพระอุโบสถ
เป็นลักษณะพระพุทธรูปพระพักตร์รูปสี่เหลี่ยมมีไรพระศกแบบอย่างศิลปะพระพุทธรุปแบบพระพุทธรูปกํ้ากึ่งระหว่างพระพุทธรูปแบบอู่ทองรุ่น2(หน้าเลี่ยม)ที่จะเข้าสู่พระพุทธรุปแบบอู่ทองรุ่น3(หน้ารี) คือลักษณะพระพักตร์เป็นโครงรูปสี่เหลี่ยมแต่ยืดยาวเล็กน้อย สันนิษฐานว่าจะอยู่ในยุคระหว่างกึ่งกลางพุทธศตวรรษที่20พระพุทธรูปซ้าย-ขวาจะเป็นพระพุทธรูปกลุ่มเดียวกับพระประธาน 2 องค์ส่วนอีก 2 องค์จะเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องกษัตริย์ซึ่งจะอยู่ในยุคปลายอาณาจักรอยุธยาถึงต้นกรุงธนบุรีและรัตนโกสินทร์
จิตกรรมอยุธยาตอนปลายวัดช่องนนทรี(วัดนางหนี)
เหลือเพียงแห่งเดียวในกรุงเทพฯ
ข้อมูลงานจิตรกรรมฝาผนัง
จิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถวัดช่องนนทรี เป็นงานศิลปะในสมัยอยุธยาตอนปลาย พุทธศตวรรษที่ 23 สอดคล้องกับลักษณะทางสถาปัตยกรรมของพระอุโบสถ โดยเขียนภาพเต็มพื้นที่ภายใน ผนังด้านข้างแถวบนสุดเขียนภาพแถวพระอดีตพุทธเจ้าประทับนั่งเรียงราย พื้นที่ถัดลงมาเขียนภาพทศชาติชาดก มีการเขียนภาพแทรกด้วยภาพวิถีชีวิตของชาวบ้าน
ผนังด้านหน้าพระประธานเขียนภาพพระพุทธประวัติตอนมารผจญ-ชนะมาร
ผนังด้านหลังภาพลบเลือนมากแต่พอสังเกตได้ว่าเป็นภาพพระอดีตพุทธเจ้าประทับนั่ง
ลักษณะเด่นของจิตรกรรมฝาผนัง
จิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถวัดช่องนนทรี มีลักษณะโดดเด่นอยู่ที่ความเป็นงานจิตรกรรมในสมัยอยุธยาตอนปลาย ภาพเล่าเรื่องชาดกมีแถบเส้นแนวตั้งทรงสามเหลี่ยมหรือเส้นสินเทาคั่น เพื่อแบ่งเรื่องแต่ละเรื่องออกจากกัน
เส้นสินเทายังทำหน้าที่เน้นฉากเหตุการณ์สำคัญให้โดดเด่นขึ้น อาทิ เส้นสินเทาที่เน้นภาพปราสาทราชวังให้เด่นเป็นสง่า จิตรกรรมแห่งนี้มีการใช้สีที่ดูอบอุ่น อันเกิดจากโครงสีออกแดงและชมพูอ่อน สีแดงที่ระบายเป็น
พื้นหลังควบคู่กับพื้นขาวที่ปล่อยว่างช่วยให้เกิดบรรยากาศสดใส
พื้นสีขาวที่เป็นสีพื้นเมื่อตัดเส้นด้วยสีดำสีแดงให้เป็นภาพ พื้นขาวจึงเป็นสีของตัวภาพไปในตัว สีแดงที่ใช้ระบายเป็นฉากหลังเป็นสีพื้นและท้องฟ้าจึงไม่ใช่สีที่สมจริง สีใบไม้เริ่มมีสีต่าง ๆ กัน เช่น สีเขียวหม่นมืด สีเขียวเหลือง (สันติ เล็กสุขุม 2550: 191-193)
มีการปิดทองเล็กน้อยเฉพาะเครื่องประดับของภาพบุคคล
ภาพเครื่องสูง และบางส่วนของภาพสถาปัตยกรรม
เอกสารอ้างอิง
สันติ เล็กสุขุม. 2550. ศิลปะอยุธยา:
งานช่างหลวงแห่งแผ่นดิน. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ.
เครดิตข้อมูล
สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
หนังสือ
อยุธยาในย่านกรุงเทพฯศิลปกรรมที่สัมพันธ์
กับแม่น้ำลำคลอง
ผู้เขียน ผศ.ดร. ประภัสสร์ ชูวิเชียร
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย