Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
คุยเฟื่องเรื่องศัลย์กับหมอโภคิน
•
ติดตาม
5 ธ.ค. 2022 เวลา 23:46 • สุขภาพ
#4อาการอันตรายของโรคกระเพาะอาหาร
สวัสดีครับ วันนี้คุยเฟื่องเรื่องศัลย์กับหมอโภคิน หมอมีเรื่องราวเกี่ยวกับโรคแผลกระเพาะอาหาร อาการเล็กๆที่อาจเกิดปัญหาแทรกซ้อนใหญ่ตามมา มาเล่าให้ทุกคนได้ฟังกันครับ เรื่องราวเป็นอย่างไร เรามาฟังกันเลย
โรคแผลในกระเพาะอาหาร เป็นโรคที่เกิดขึ้นมากมายในคนทั่วไปโดยการศึกษาพบว่า มีผู้ป่วยที่เป็นโรคกระเพาะอาหารสูงถึง 5-10 % ของคนทั่วโลกเลยทีเดียว
สาเหตุของแผลในกระเพาะอาหารเกิดจากการที่มีกรดเกินในกระเพาะอาหาร และเกิดการสูญเสียเกราะป้องกันของกระเพาะอาหาร ทำให้กรดที่หลั่งออกมาย่อยอาหารเกิดไปย่อยผนังของกระเพาะอาหารจนเกิดแผลขึ้นมานั่นเอง
โดยปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารจะมีหลักๆ 2ประการด้วยกันคือ
1.การติดเชื้อ H.PYLORI ในกระเพาะอาหาร
2.การกินยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs
โรคแผลในกระเพาะอาหารนี้ถ้าปล่อยทิ้งไว้ไม่รักษา ก็จะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายตามมา คือ
1.กระเพาะอาหารทะลุ
2.มีเลือดออกในกระเพาะอาหาร
3.เกิดการอุดตันของกระเพาะอาหาร
4.การแตกของกระเพาะอาหารแล้วไปเกิดช่องเชื่อมต่อกับลำไส้ส่วนอื่นๆซึ่งจะเกิดภาวะขาดสารอาหารหรือท้องเสียตามมา
และนอกจากนี้ แผลในกระเพาะอาหารเรื้อรังก็อาจจะกลายเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารได้เช่นกัน
ถ้าคุณมีอาการปวดท้องเรื้อรังอย่ารอช้า
รีบมาพบแพทย์เพื่อตรวจรักษานะครับ
ด้วยรัก
#คุยเฟื่องเรื่องศัลย์
#หมอโภคิน
ศัลยแพทย์โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ กรมแพทย์ทหารเรือ
ผู้บังคับการกองพันพยาบาล กรมสนับสนุน หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง กองทัพเรือ
Reference
Kamada, T., Satoh, K., Itoh, T., Ito, M., Iwamoto, J., Okimoto, T., Kanno, T., Sugimoto, M., Chiba, T., Nomura, S., Mieda, M., Hiraishi, H., Yoshino, J., Takagi, A., Watanabe, S., & Koike, K. (2021). Evidence-based clinical practice guidelines for peptic ulcer disease 2020. Journal of gastroenterology, 56(4), 303–322.
https://doi.org/10.1007/s00535-021-01769-0
Narayanan, M., Reddy, K. M., & Marsicano, E. (2018). Peptic Ulcer Disease and Helicobacter pylori infection. Missouri medicine, 115(3), 219–224.
Ramakrishnan, K., & Salinas, R. C. (2007). Peptic ulcer disease. American family physician, 76(7), 1005–1012.
พัฒนาตัวเอง
สุขภาพ
ไลฟ์สไตล์
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย