6 ธ.ค. 2022 เวลา 15:25
#รีวิวหนัง The Menu เมนูสยอง (มีสปอยส์และวิเคราะห์จากอดีตคนทำหนัง)
ความเป็นมืออาชีพ ความเก่งกาจ ชื่อเสียง เงินทองต่าง ๆ นานาในบางครั้งก็เกิดขึ้นจากสิ่งที่เรา ‘ชื่นชอบ’ จนกลายเป็นความ ‘หลงไหล’ โดยที่ไม่รู้ตัวเลยว่า ในวันที่คุณไปยืนอยู่บนจุดสูงสุดในสายอาชีพ คุณยังชื่นชอบมันหรือเปล่า หรือมันกลายเป็นความกดดันขั้นสุดกันแน่
เกริ่นก่อนว่า หลังจากที่ผมออกจากวงการภาพยนตร์ผันตัวเป็นนักเขียนนิยาย ผมแทบไม่ได้ดูหนังแนวจิตวิทยาและคิดวิเคราะห์อย่างลึกซึ้งเลย
หนังเรื่องนี้ทำให้ผมกลับมาทำแบบนั้น
The Menu เป็นหนังว่าด้วยเรื่องของลูกค้าจำนวน 12 คน ได้แล่นเรือไปทานมื้อค่ำในภัตตาคารเชฟจูเลียน สโลวิก โดยที่ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นบุคคลผู้มีชื่อเสียงและมีฐานะ ที่เด่นชัดที่สุดก็จะเป็นนักวิจารณ์อาหารและบรรณาธิการสำนักพิมพ์นิตยสาร เศรษฐี รวมถึง ‘ไทเลอร์’ ผู้ยกเชฟจูเลียนเป็นดั่งไอดอลในดวงใจ
เชื่อไหมว่าอาหารมื้อนี้คิดหัวละ 1.250 USD = 44,240.59 บาทไทยเรทปัจจุบัน (35.11 บาทต่อ 1 USD)
ทุกอย่างเหมือนเป็นการไปดินเนอร์หรูปกติ ๆ เหมือนที่ใครหลาย ๆ คนทำกัน แต่ใครจะไปรู้ว่ามันมีเบื้องลึกเบื้องหลังซ่อนอยู่ในคำว่า ‘ทุกคนต้องตาย’ (จำประโยคนี้ให้ดี)
ในช่วงต้นนั้น หนังได้พาเราไปเยี่ยมชมกับบรรยากาศรอบ ๆ เกาะส่วนตัวของภัคตาคารก่อนจะไปเข้าไปยังห้องอาหาร ซึ่งทุกอย่างราบรื่นไปได้ด้วยดี จนกระทั่งเชฟจูเลียนได้ปรากฎตัวขึ้น ความตึงเครียดของหนังได้เริ่มบรรเลงเพลงบีโทเพ่น ซิมโฟรนี หมายเลขเก้า
1
ภัคตาคารแห่งนี้จะเสิร์ฟอาหารแบบ Fine Dining โดยจะเสิร์ฟทั้งอาหารและเครื่องดื่มที่ปรุงขึ้นจากวัตถุดิบคุณภาพที่ดีและถูกคัดสรรมาอย่างละเอียด อย่างที่เห็นตอนทัวร์เกาะว่าวัตถุดิบที่มาใช้ประกอบอาหารนั้นเกิดจากการสร้างสรรภายในเกาะเท่านั้น สื่อถึงความละเอียดละเมียดละมัยของเชฟเป็นอย่างมาก
ความตึงเครียดจะค่อย ๆ เพิ่มระดับขึ้นไปเรื่อย ๆ โดยจะเริ่มจากจานที่หนึ่งจนถึงจานที่เจ็ด บอกได้ตามตรงว่ามันคือการค่อย ๆ เริ่มระดับความตึงเครียดของหนังอย่างฉลาด
(หลังจากนี้คือสปอย)
เชฟจูเลี่ยนพูดขึ้นก่อนจานแรกว่า ‘อาหารทุกอย่างในคืนนี้ อย่ากิน…ให้ลิ้มรส ดื่มด่ำ รู้สึก และรับรู้’ นั่นเป็นการบอกคนดูให้ทำแบบนั้น เหมือนกับว่า หนังเรื่องนี้ ห้ามดูอย่างเดียว แต่ให้เข้าใจในสิ่งที่หนังต้องการจะสื่อด้วยนั่นเอง
จานเรียกน้ำย่อย เป็นการบอกกล่าวกับผู้ชมให้ดิ่มด่ำกำลังความผ่อนคลายไปก่อน หากสังเกตให้ดี หนังจะแสดงให้เห็นรีแอคชั่นของลูกค้าแต่ละคน ว่ามีการแสดงความเห็นอย่างไร นักวิจารณ์อาหารระดับเทพจะมีการอุปมาอุปมัยว่าร้านนี้มัน บลาๆ ๆ ๆ ๆ ส่วนพระเอกอย่าง ไทเลอร์ ผู้เป็นติ่งเชฟและหลงไหลในการทำอาหารและคิดว่าตัวเองเก่งด้วยการโชว์พาวนางเอกอย่าง ‘มาร์โก มิลล์’ ว่าเขามีความรู้เรื่องการทำอาหาร และแสดงอีโก้ออกมาเพื่อควบคุมมาร์โกด้วยประโยคที่ว่า ‘มื้อนี้ ผมเป็นคนจ่าย’
จากแรกยังไม่มีอะไร
3
จานที่หนึ่ง นั้นเล่นประเด็นเรื่องของชนชั้นว่าขนมปังนั้นมีมาตั้งแต่สมัยเมื่อนานมาแล้วและเป็นของสำหรับชนชั้นล่าง ในเมื่อลูกค้าทุกคนเป็นชนชั้นสูงจึงไม่เหมาะหากจะเสิร์ฟขนมปัง จานนั้นจึงให้กินแค่ซอสหกแบบเท่านั้น (ตลกร้ายดีใช่ไหม) แต่นักวิจารณ์ตัวดีดันไปพุดว่า “อืม…ซอสอันนี้ยังไม่เข้ากันดี” เชฟเลยหมั่นไส้ จัดมาให้หนึ่งถ้วยแบบจุก ๆ
จากที่สอง การอาหารที่การตกแต่งอย่างละเมียดละมัยราวกับว่าจะพลาดไม่ได้แม้แต่มิลลิเมตรเดียว ซึ่งอาหารจานนี้เสิร์ฟอย่างหรูหราและได้ใจลูกค้าทุกคนไปมาก แต่ไม่ใช่กับนางเอกของเรา
จานที่สาม ให้ชื่อว่า ‘ความทรงจำ’ โดยจานนี้มีสตอรี่ที่มาจากความทรงจำอันแสนเจ็บปวดของตัวเชฟที่มีพ่อขี้เมาคอยทำร้ายทุบทีแม่ เชฟในสมัยเด็กจึงเอากรรไกรแทงก้นพ่อเสียเลย ส่วนอาหารนั้นเป็นสะโพกไก่ที่มีกรรไกรจิ๋วปักอยู่ (ตลกร้ายจริง) แต่ที่แปลกกว่าก็คือ อาหารเสิร์ฟพร้อมกับแผ่นแป้งอบที่พิมพ์รูปความลับของลูกค้าแต่ละคน โดยในจานนี้จะเผยเบื้องลึกเบื้องหลังของลูกค้าแต่ละคนออกมา ตั้งแต่บริษัทปลอมแปลงเอกสารเพื่อเลี่ยงภาษี การนอกใจ และอื่น ๆ ที่ทำให้ลูกค้าแต่ละคนหน้าถอดสีได้
1
จานที่สี่นั้นทำเป็นการบอกคนดูอีกว่าจานต่อ ๆ ไปจะเป็นแนวนี้แทบทั้งหมด คือการยิงตัวตายของรองหัวหน้าเชฟผู้ต้องการฆ่าเชฟจูเลียน และอาหารที่มาเสิร์ฟนั้นอ้างอิงฉากการตายของรองหัวหน้าเชฟไปเต็มๆ โดยที่ไทเลอร์ไม่ได้สนใจกับเหตุการณ์เลย เอาแต่กินและยกย่องเชฟในดวงใจอยู่
1
จานที่ห้า เป็นฉากวิ่งไล่จับ โดยเชฟจะให้เวลาผู้ชายวิ่งหนีพ่อครัวเป็นเวลาสี่สิบห้าวินาที จขากนั้นพวกพ่อครัวจะไปไล่จับ (ฮาตรงที่คนที่ถูกจับคนสุดท้ายได้รางวัลเป็นของว่างด้วย) ฉากนี้ทำให้นึกถึงมนุษย์ยุคหินที่ ผู้ชายจะออกไปล่าสัตว์ ส่วนผู้หญิงจะอยู่ด้านใน โดยอาหารจานนี้ได้ชื่อว่า ‘ความเขลาของชายชาตรี’
ระหว่างที่หนังกำลังดำเนินเรื่อง หลังจากที่ลูกค้าเจอกับจานที่สี่ก็อยากจะหนีออกไป แต่ก็ทำไม่ได้ เพราะเรือได้ออกไปแล้ว เชฟจูเลียนผู้เป็น ‘เพอร์เฟ็ตชั่นนิส’ นั้นข้องใจกับมารืโกมาตั้งแต่ต้นว่าเธอไม่ใช่ลูกค้าที่แท้จริง แต่เป็นแฟนเก่าของไทเลอร์ที่บอกเลิกกันด้วยสาเหตุบางอย่าง (ดูทรงแล้วน่าจะเป็นเพราะว่าไทเลอร์นั้นชอบอวดรู้ในทุก ๆ เรื่องซึ่งจะสังเกตุได้จากไดอาล็อกในแต่ละประโยค)
เชฟเริ่มรำคาญไทเลอร์ในเรื่องของความอวดดีของเขา จึงเชิญให้เขาเข้าครัวไปแสดงฝีมือในการทำอาหาร ด้วยการให้สวมยูนิฟอร์มพร้อมเขียนชื่อด้วยปากกาเคมี ช็อตเขียนชื่อนั้นเป็นการเหยียดหยามของเชฟเป็นอย่างยิ่ง ไทเลอร์นั้นกลัวที่จะทำอาหารเพราะตัวเองนั้นเก่งแค่พูด เชฟจึงกดดันด้วยการถามว่า ‘ต้องการอะไร’ ด้วยความที่ไทเลอร์เก่งแต่พูดก็เอานู้นเอานี่ใส่ไป บอกตามตรงว่าฉากนี้ใครดูก็รู้ว่าไทเลอร์ไม่สามารถทำอาหารได้อย่างที่ปากว่า พอเชฟชิมเมนูเนื้อแกะย่างเนย (เนื้อยังแดงอยู่เลย) ไป
1
คำเดียวที่ออกมาจากปากของไอดอลก็คือ ‘อาหารแม่งห่วย’ เป็นการตอกย้ำความรู้สึกของติ่งผู้ที่อยากจะเป็นอย่างเชฟมาก ๆ (เหมือนที่เราเขียนนิยายแล้วคิดว่าเป็นผลงานที่ดีมาก ๆ ไปให้ไอดอลของเราอ่านแล้วเขาบอกว่า นิยายแม่งห่วย เป็นคุณ คุณจะรู้สึกอย่างไร) สุดท้ายจบลงด้วยความตายของเขา
ในทีนี้เชฟรู้ว่ามาร์โก้ไม่ได้เป้นชนชั้นเดียวกับลูกค้าทั่วไปจึงถูกสั่งให้ไปเอาถังสำหรับเตรียมของหวาน แต่เธอได้เข้าไปในบ้านของเชฟและพบกับรูปสมัยที่เชฟกำลังทำชีลเบอร์เกอร์ด้วยใบหน้าที่ยิ้มแย้ม ช้อดนี้ได้สื่อว่า ครั้งหนึ่งเชฟเคยชอบทำอาหารด้วยความรักอย่างแท้จริงมาก่อน
1
ไม่เหมือนปัจจุบันที่มีแต่ความกดดันจนตัวเองหมดแพชชั่นในการทำอาหารไป สังเกตได้ว่าอาหารหรูทุกจานในเรื่อง จะให้พ่อครัวหรือผู้ช่วยปรุงขึ้นเองหมด ยกเว้นเพียงเมนูเดียวคือ ชีสเบอร์เกอร์ ที่นางเอกสั่งพิเศษกลับบ้าน ในฉากนั้นเราได้เห็นสีหน้าของเชฟที่ผ่อนคลายมากขึ้น
จึงทำให้สะท้อนถึงคนเก่งผู้มีความสามารถแต่หมดแฟชชั่นเพราะความชอบกลายเป็นความกดดัน (อย่างเมื่อก่อนผมชอบทำหนัง แต่เมื่อมันมีแรงกดดันจากทุกทิศทางจึงทำให้ยอมแพ้และออกจากวงการไป)
สุดท้ายนางเอกสามารถหนีไปพร้อมกับชีสเบอร์เกอร์ด้วยเรือที่เธอเรียกมา ก่อนหน้านี้ผู้ที่มากับเรือด้วยเป็นตำรวจ ฉากนั้นตำรวจคือความหวังของลูกค้าทั้งร้าน แต่หนังกลับหักหลังคนดูว่าเขาก็คือหนึ่งในพ่อครัวของเชฟนั่นเอง
จานของหวาน ฉากนี้เชฟเรียกเก็บเงิน พร้อมกับเสิร์ฟของหวานที่ไม่มีทางลืมได้ ฉากนี้ถ้าใครยังจำว่า ‘ทุกคนต้องตาย’ จะเดาตอนจบได้ออก ของหวานจานสุดท้ายไม่ได้วางอยู่บนโต๊ะ แต่เป็นทั้งร้านอาหารเลยต่างหาก ด้วยการราดซอส โปรยวัตถุดิบของหวานจนทั่วร้าน ราดน้ำเชื่อม เอาพวงมาลัยทำจากมาชเมลโลมาสวมให้ลูกค้า รวมถึงหมวกช็อกโกแล็ค จากนั้นเชฟก็จุดไฟเผาตัวเองให้วอด นั่นคือจุดจบของเชฟ
1
ส่วนมาร์โก้ที่หรีไปพร้อมกับเรือ จริง ๆ แล้วเธอเป็นเพียงเด็กเอ็นที่ไทเลอร์จ้างมาเท่านั้น เธอจึงไม่สามารถเข้าถึงอาหารของชนชั้นสูงได้ เธอจึงไม่กินสักเมนู แต่กลับกินชีสเบอร์เกอร์อย่างเอร็ดอร่อย และเอาสำเนารายชื่อเมนูอาหารมาเช็ดปาก เป็นสัจยะสื่อให้เห็นว่า อาหารหรู ๆ สำหรับเธอนั้นมันไม่มีค่าอะไรเลย
สิ่งหนึ่งที่จุกใจคนดูอย่างผมผู้มีแพชชั่นในการเขียนนิยาย จากเมื่อก่อนเขียนเพราะรัก ปัจจุบันเขียนเพราะต้องการบางอย่างจากมัน เชฟบอกว่าเขาและพ่อครัวทุกคนทำอาหารด้วยความรัก แต่นางเอกบอกไม่ใช่ แต่เป็นการหลอกตัวเองมากกว่า นั่นจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เชฟตัดสินใจเข้าครัวและทำชีสเบอร์เกอร์อย่างที่นางเอกได้ Order
…………………………….
หนังแนวจิตยาที่เต็มไปด้วยสัญลักษณ์มากมายแฝงความหมายอันลึกซึ้งอย่างนี้มีไม่ค่อยบ่อย แต่เรื่องนี้ขอยกให้เป็น The Best ของปีนี้เลยทีเดียว แต่น่าเสียดายที่ในโรงนั้นมีผมดูเพียงคนเดียว เป็นหนึ่งใน Case Study ที่นักเขียนนิยายหรือคนทำหนังเอาเป็นแบบอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของชั้นเชิงในการเล่าเรื่อง การวางคาแลคเตอร์ และการประดิษฐ์บทพูดของตัวละครเชฟที่ให้ความรู้สึกถึงความละเอียดละออในการสื่อสาร
รีวิวนี้ไม่มีคะแนนให้ หนังในตอนนี้เหลือรอบวันละหนึ่งรอบแล้ว ดูได้ที่ SF Cinema (เช็คในแอฟเอาเองนะครับ) รีบดูก่อนออกจากโรงนะครับ สำหรับผู้ที่สนใจ
หากผิดผิดประการก็ขอประทานอภัยใน ณ ที่นี้ด้วยครับ
ขอบคุณครับ
โฆษณา