11 ธ.ค. 2022 เวลา 11:00 • การศึกษา

## Episode3 : Osteokinematics การอธิบายการเคลื่อนไหวของร่างกาย... พื้นฐานสำคัญของวิชาKinesiology ##

ถ้าย้อนกลับไปตอนที่แล้ว ผมได้พูดถึงคำๆนึงคือคำว่าKinematicsที่หมายถึงการอธิบายการเคลื่อนไหวโดยที่ไม่พูดเรื่องแรงมาเกี่ยวข้อง ซึ่งแบ่งกว้างๆได้2ส่วนคือ Osteokinematic ที่อธิบายการเคลื่อนไหวของกระดูกและ Arthrokinematics ที่อธิบายการเคลื่อนไหวเล็กๆที่เกิดขึ้นในข้อต่อ ซึ่งวันนี้ผมจะมาพูดถึงคำว่าOsteokinematicsกันก่อนนะครับ
คำว่าOsteokinematics มาจากคำว่า" Osteo- "มีความหมายว่ากระดูก ส่วน Kinematicsคือการอธิบายการเคลื่อนไหวโดยที่ไม่มีแรงมาเกี่ยวข้อง ดังนั้นคำว่า Osteokinematicsก็คือการอธิบายการเคลื่อนไหวของกระดูกเมื่อเทียบกับระนาบการเคลื่อนไหว(plane of movement) นั่นเอง
.
โดยระนาบการเคลื่อนไหว(Plane of movement) จะแบ่งหลักๆได้3ระนาบก็คือ
Sagittal plane คือการแบ่งตัดร่างกายตามแนวขนานกับsagittal suture พูดง่ายๆก็คือแบ่งร่างกายเป็นซ้ายกับขวานั่นเอง
Coronal plane/Frontal plane คือการแบ่งตัดร่างกายตามแนวขนานกับCoronal suture ก็คือแบ่งร่างกายเป็นด้านหน้ากับด้านหลังและอันสุดท้ายคือ
Horizontal plane/Transverse plane คือการแบ่งร่างกายตามแนวขวางหรือการแบ่งร่างกายบนกับล่างนั่นเอง
การเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นบนแต่ละplane ก็อาจจะมีTechnical term ที่ต่างกัน
การเคลื่อนไหวบนSagittal plane จะมีคำที่ใช้เรียกคือ Flexion/Extension, Dorsiflexion/Plantarflexion, Forward/Backward bending
การเคลื่อนไหวบนFrontal plane จะมีคำที่ใช้เรียกคือ Abduction/Adduction, Lateral flexion, Ulnar/Radial deviation
การเคลื่อนไหวบนHorizontal plane จะมีคำที่ใช้เรียกคือ Internal/External rotation, Axial rotation
ต่อมานอกจากระนาบการเคลื่อนไหวแล้วอีกคำนึงที่เราควรจะรู้ก็คือแกนการเคลื่อนไหวหรือAxis of rotationโดยชื่อแกนจะถูกตั้งตามชื่อระนาบที่แกนนั้นวางอยู่ เช่น
Frontal axis จะวางอยู่บนระนาบของfrontal plane เมื่อเกิดการเคลื่อนไหวรอบแกน การเคลื่่อนไหวก็จะเกิดในsagittal plane
Sagittal axis จะวางอยู่บนระนาบของsagittal plane เมื่อเกิดการเคลื่อนไหวรอบแกน การเคลื่่อนไหวก็จะเกิดในfrontal plane
Vertical axis จะเป็นแกนดิ่งตรง เมื่อเกิดการเคลื่อนไหวรอบแกน การเคลื่่อนไหวก็จะเกิดในtransverse plane
ยกตัวอย่างเช่นเมื่อเรางอศอกขึ้น การเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นคือ elbow flexion ซึ่งเกิดในsagittal plane การเคลื่อนไหวนี้ก็จะเกิดรอบแกนที่แทงจากด้านซ้ายไปทางด้านขวาซึ่งก็คือ frontal axis นั่นเอง
เมื่อเรารวมความรู้ที่ผ่านมาทั้งหมดเราจะรู้แล้วว่าเมื่อเราเห็นการเคลื่อนไหวหนึ่งที่เกิดขึ้น เราจะรู้แล้วว่าการเคลื่อนไหวนั้นเกิดขึ้นในเพลนไหน เรียกว่าอะไร และเกิดรอบแกนอะไร
.
จากนั้นถ้าเราโฟกัสไปที่ข้อต่อข้อเดียวเราจะเห็นว่าข้อต่อแต่ละส่วนนั้นมีการเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระไม่เท่ากันเช่น shoulder joint สามารถเคลื่อนที่ได้ในทุกplaneคือเกิดการเคลื่อนไหวได้ทั้งsagittal plane(flexion-extension), frontal plane(abduction-adduction), horizontal plane(rotation) ในขณะที่ข้อศอกจะเกิดได้แค่ 1 planeคือ sagittal plane(flexion-extension) โดยจำนวนทิศทางที่ข้อต่อสามารถเคลื่อนไหวได้นี้มีชื่อ technical term ที่เรียกว่าdegree of freedom นั่นเอง
วันนี้เราก็ได้รู้จักคำศัพท์เบื้องต้นของวิชาkinesiologyคือคำว่า plane of movement, axis of rotation และ degree of freedom ครั้งหน้าผมจะมาพูดถึงการเคลื่อนไหวของร่างกายที่เชื่อมต่อกันเป็นหลายๆส่วนหรือ kinematic chain ซึ่งจะใช้พื้นฐานจากคำศัพท์พวกนี้ด้วยนะครับ
ถ้าชอบเนื้อหาแบบนี้ผมฝากกดlike กดแชร์ กดติดตามเพจphysioupskillด้วยนะครับ ส่วนถ้าใครมีข้อสงสัยอะไรก็commentไว้ด้านล่างได้เลยครับ
⭐สำหรับใครที่อยากเรียนรู้เพิ่มเติม สามารถอ่านบทความอื่นๆได้ที่ https://physioupskill.com/บทความ/
หรือดูรายละเอียดคอร์สเรียนของเพจได้ที่ https://physioupskill.com/คอร์สเรียน/
ได้เลยครับ
.
.
_PhysioUpskill_
#physioupskill
#osteokinematics
Ref.
Neumann, D. A. (2016). Kinesiology of the Musculoskeletal System: Foundations for Rehabilitation. Mosby.
Muscolino, J. E. (2016). The Muscular System Manual: The Skeletal Muscles of the Human Body. Mosby.
โฆษณา