7 ธ.ค. 2022 เวลา 00:09 • ศิลปะ & ออกแบบ
ภาพเทพชุมนุม ในบริบทของ อจ. ถวัลย์ ดัชนี
- วาดขึ้นในปี 2547 หลังจากได้เป็นศิลปินแห่งชาติ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ศิลปินตกผลึกด้านความคิดอย่างลึกซึ้ง และฝีมือเป็นเลิศ .. แสดงในรูปแบบร่วมสมัย ไม่ใช่ภาพแบบไทยประเพณี
**Concept เป็นตะวันออก แต่การนำเสนอเป็นไปในรูปแบบตะวันตก มีความร่วมสมัย อันเกิดจากการถ่ายทอดอารมณ์ ความรู้สึก
- เทพชุมนุม .. เป็นเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับ พุทธปรัชญาและความเชื่อในศาสนาฮินดู ที่มีความทับซ้อนกันอยู่ในสังคมไทย และเป็นภาพต่อเนื่องมาจาก มารผจญ ในช่วงที่พระพุทธเจ้ากำลังบำเพ็ญเพียร เพื่อบรรลุพระนิพพาน ซึ่งตอนนั้นจะมีหมู่มารมาพยายามขัดขวาง และสกัดกั้นไม่ให้ถึงความสำเร็จ
- เมื่อพระพุทธเจ้าบำเพ็ญเพียรสำเร็จ และพระแม่ธรณีมาบีบมวยผม เพื่อเป็นพยาน จึงเกิด เทพชุมนุม เพื่อถวายชัย
- เทพชุมนุม ไม่ใช่ของไทย .. เราไม่มีพระพรหม พระนารายณ์ และพระศิวะ .. แต่เรารับเข้ามาในขนบและวัฒนธรรมไทย
- ศิลปินเขียน ตรีมูรติ ซึ่งมีความหมายว่า 3 รูป รวมเอาไว้ในองค์เดียวกัน และทั้งหมดคือ ดิน น้ำ ลม ไฟ รวมกันเป็น ตรีมูติ
- ศิลปินวาดภาพนี้เป็นชุด ด้วยชิ้นงาน 2 ชิ้น วาดออกมาในลักษณะที่เป็นธรรมชาติที่มีอยู่จริง เช่น คนที่มีกล้ามเนื้อ สัตว์จริงๆที่เราพบเห็น .. ครุฑ แทนด้วยภาพพญาอินทรีย์ .. พญานาค แทนด้วย งูเหลือม/งูอนาคอนดา .. สะท้อนความเป็นศิลปะร่วมสมัย
- ตรงกลาง เป็นรูปพระพรหม พระนารายณ์ และพระศิวะ รวมกันอยู่ในร่างเดียว 3 พักตร์ ในท่าพนมมือ มีสัญลักษณ์ต่างๆที่บอกให้รู้ว่าเป็นสามเทพ
**ร่างกาย .. รูปลักษณ์เป็นขายหนุ่มที่มีกล้ามเนื้อ (พระศิวะ)ถ่ายทอดความรู้สึกมีพลัง ความศักดิ์สิทธิ์ของเทพที่ถ่ายทอดออกมาจากมวลกล้ามเนื้อที่แข็งแรง มีพละกำลัง
.. บนขามีรอยสักหนังเสือบนตัว แทนการห่มหนังเสือโคร่ง/เสือดาว
.. งูพันอยู่ที่มือ (พระศิวะ)
.. ศีรษะ มีหอยหน้ายักษ์ (แทนหอยสังข์ - พระพรหม) .. มงกุฏนกอินทรีย์ (แทนครุฑ พาหนะของพระนารายณ์)
- ด้านข้าง ปรากฏรูปครุฑ และนาค ในท่วงท่าเทพพนม
- รูปพญาอินทรีย์ แทนครุฑ เป็นรูปแบบของศิลปะร่วมสมัย ถ่ายทอดความรู้สึกมีพลัง ความศักดิ์สิทธิ์ของเทพ .. กรงเล็บที่โค้ง ดูแล้วเห็นถึงกำลังของ 3 มหาเทพ
- ทั้งหมด .. รวมกันเป็นเวิ้งจักรวาล แสดงถึงความเร็ว รุนแรง ทรงพลัง ความมีอำนาจ ของตรีมูรติ .. เป็นการย่อโลกมาไว้รวมกันในเฟรมเดียว
- งูเหลือม/อนาคอนดา .. แทนพญาอนันตนาคราช รวมถึงแสดงนัยยะของการเป็นลูกหลานของพญานาค อันเป็นการนำเอาธรรมชาติมาสะท้อน แทนการสื่อแบบไทยประเพณี
** งูเหลือม แสดงความเป็นเอเซีย
สัญลักษณ์อื่นที่ปรากฏในภาพ ให้พลัง ความรุนแรง สร้าง contrast ทางอารมณ์สูง สื่อถึงพลังแห่งแผ่นดิน (ดิน น้ำ ลม ไฟ)
- แมงดาทะเล .. หมายถึง น้ำ .. ฟอร์มไม่มีการเปลี่ยนแปลงมานับพันๆปี
- หอยเต้าปูน .. มีพิษมากที่สุด หมายถึง ทะเล
- ตัวนิ่ม .. หมายถึง ดิน
- ปลากระเบนปีกนก .. เจ้าแห่งท้องทะเล
- สิงห์ .. ราชรถของพระอาทิตย์ แทน ไฟ
- ม้า .. ราชรถของพระจันทร์
- กว่าง .. แทน การเกิด พลัง การต่อสู้ —> เหมือน Scarab beetle ของอียิปต์
- งูอนาคอนดา .. แทนพญาอนันตะนาคราช ความใหญ่โต มีพลัง
- พญาอินทรีย์ .. แทนพญาครุฑ มีกรงเล็บที่ทรงพลัง และปีกที่แข็งแรง สื่อถึงพลังศักดิ์สิทธิ์ของเทพเจ้า
ลายกนกรอบๆภาพ .. ศิลปินได้ศึกษามาจากแหล่งที่ดีที่สุด (พระที่นั่งพุทไธสวรรค์ และวัดใหญ่สุวรรณาราม) แล้วนำมาปรับใช้ให้เป็น version ของตัวเอง
***โดยรวม ภาพชุมนุมเทวดา เป็นภาพที่มีเรื่องราวหลายอย่างทับซ้อนกันอยู่ และเป็นการแสดงออกในหลายแง่มุม รวมถึงในด้านงานจิตรกรรม / ธรรมชาติวิทยา / พุทธปรัชญา / —> แล้วถ่ายทอดออกมาด้านอารมณ์ความรู้สึกแบบร่วมสมัย
ภาพเทพชุมนุม (ทำที่มีหัวเป็นสัตว์ นั่งพนมมือ)
ภาพแรก
เทพหัวจรเข้ ..พระวิรุณ เป็นเทพเจ้าประจำทิศตะวันตก
เทพหัวแรด .. พระอัคนี เป็นเทพเจ้าประจำทิศตะวันออกเฉียงใต้
เทพหัวคชสีห์ .. พระกุเวร เป็นเทพเจ้าประจำทิศเหนือ
ภาพที่สอง
เทพหัวม้า .. พระพาย เป็นเทพเจ้าประจำทิศตะวันตกเฉียงเหนือ
เทพหัวช้าง .. พระอินทร์ เป็นเทพเจ้าประจำทิศตะวันออก
เทพหัวกระบือ .. พระยม เป็นเทพเจ้าประจำทิศเบื้องล่าง
ขบวนแห่เทพพาหนะทั้ง 10 ทิศ ประกอบด้วย
ขบวนที่ 1 หงส์ พาหนะของพระพรหม เป็นเทพเจ้าประจำทิศเบื้องบน
ขบวนที่ 2 ช้าง พาหนะของพระอินทร์ เป็นเทพเจ้าประจำทิศตะวันออก
ขบวนที่ 3 วัว พาหนะของพระอิสาน เป็นเทพเจ้าประจำทิศตะวันอกเฉียงเหนือ
ขบวนที่ 4 แรด พาหนะของพระอัคนี เป็นเทพเจ้าประจำทิศตะวันออกเฉียงใต้
ขบวนที่ 5 คชสีห์ พาหนะของพระกุเวร เป็นเทพเจ้าประจำทิศเหนือ
ขบวนที่ 6 นกยูง พาหนะของพระขันธกุมาร เป็นเทพเจ้าประจำทิศใต้
ขบวนที่ 7 นาค พาหนะของพระวิรุณ เป็นเทพเจ้าประจำทิศตะวันตก
ขบวนที่ 8 ม้า พาหนะของพระพาย เป็นเทพเจ้าประจำทิศตะวันตกเฉียงเหนือ
ขบวนที่ 9 รากษส พาหนะของพระนิรฤติ เป็นเทพเจ้าประจำทิศตะวันตกเฉียงใต้
ขบวนที่ 10 กระบือ พาหนะของพระยม เป็นเทพเจ้าประจำทิศเบื้องล่าง
โฆษณา