7 ธ.ค. 2022 เวลา 00:19 • หุ้น & เศรษฐกิจ
หุ้นเล็กดี พอร์ตโต
คำนิยาม นักลงทุนคุณค่า
คุณหลิน : คิดว่าการลงทุนเป็น 2 part สำหรับในต่างประเทศ คือ เป็นนักลงทุนที่มองพื้นฐานธุรกิจเป็นหลัก ดี เหมาะสม ค่อยซื้อ อีกส่วนคือ นักลงทุนแนว Technical ดูจากราคาเป็นหลัก ดูกราฟ แล้วค่อยซื้อ แต่ไทยมีคำว่า VI เข้ามา
เซียนมี : พี่มีบางที ก็ถือ2 ปี ก็ขาย พี่มี่บอกว่า VI ไม่จำเป็นต้องถือยาวก็ได้ ให้ดูที่มูลค่า ความถือนานไม่ได้เกี่ยวกับ VI ให้รู้ว่าถืออะไรอยู่ ว่าเรารออะไร รอการเติบโต รอความเพิ่มขึ้น Subsricber แบบนี้ก็ถือว่าเป็น VI ให้เรารู้มูลค่าของมัน
2
VI ต้องดูภาพ Macro เศรษฐกิจ GDP ดอกเบี้ย Fund Flow หรือไม่
คุณหลิน : 10-20 ปีก่อน ไม่เคยดู เพราะ Timing ไทยอยู่ในขาขึ้น ภาพมหาภาคในตอนนั้นจึงไม่จำเป็น แต่ภาพตอนนี้เศรษฐกิจทั่วโลกเชื่อมโยงกัน ซึ่งมันส่งผลต่อกัน ต้องภาพใหญ่ให้ครบถึงจะชนะได้
เซียนมี่ : สมัยก่อนก็ไม่ค่อยได้ดูเหมือนกัน พี่มี่ซื้อตอนที่มันถูก P/E ต่ำ 5เท่า undervalue ปัจจัยอื่นๆเลยไม่กระทบเพราะมันถูก พอหลังปี 2008 มี QE มีผู้ลงทุนเยอะขึ้น สภาพคล่องเเยอะขึ้น มันเลยมีผลกระทบมากขึ้น
มีธีมใหญ่ Macro ไหนที่กำลังไปต่อ มีผลต่อการลงทุน
คุณหลิน : Mega Trend มี 3 ข้อ
1. Aging economy การ spending มีการเปลี่ยนแปลง และการมอง mega trend นั้นต้องมองแล้วไปต่อยอด เช่นอันนี้ก็ไม่ใช่จะมีเฉพาะ healthcare เพราะมันยังมีหลายธุรกิจที่เกี่ยวข้องกันไปหมด
2. Middle Income การเติบโตของชนชั้นกลาง เพราะชนชั้นนี้จะมีไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไปจากยุคก่อน
3. Globalization เริ่มเปลี่ยนทิศทาง มหาอำนาจปะชันหน้ากัน เป็นการได้ประโยชน์จากdecoupling การเปลี่ยนมหาอำนาจไปมา ทำให้เกิดโอกาสใหม่ๆ ซึ่งไทยก็ได้ประโยชน์์กับเทรนด์นี้ด้วย
3
เซียนมี่ : เห็นด้วยกับทั้ง 3 เทรนด์
เพิ่มเติมคือ Generation millennial Gen Z เริ่มมีบทบาทในเศรษฐกิจมากขึ้น ทั้งสังคม การลงทุน และพฤติกรรมแต่ละgenก็แตกต่างกันสุดขั้ว Gen Z สามารถเปลี่ยนการซื้อได้ง่ายกว่า
ตอนเปิดเมือง Gen Y เป็นกลุ่มที่ใช้เงินเยอะสุด เป็นเมเจอร์หลักในตลาด มีวิธีคิดที่แตกต่างและคิดเร็วกว่า Gen X
2
คุณหลิน : 2 sector ที่ยังขึ้นอยู่ ถึงแม้จะ recession คือ ท่องเที่ยว และการจับจ่ายใช้สอย
เทรนด์ท่องเที่ยวต่างประเทศค่อนข้างใหญ่ อนาคตโครงสร้างต่างๆจะอำนวยให้คนไปอยู่ต่างประเทศถาวรได้
เซียนมี่ : พี่มี่เห็นด้วย เพราะตอนนี้ก็เริ่มมี Longterm residence VISA เห็น Gen Y Gen Z คนจีน เริ่มย้ายเข้ามาเยอะ
VI รุ่นใหม่ มีโอกาสหยิบหุ้นที่ธุรกิจจะโตไป 10-20 ปีในยุคอนาคตได้ไหม
คุณหลิน : เมื่อ 20 ปีที่แล้วเป็น modern trade มาแทน traditional trade ซึ่งมันก็จะมีการ evolve ของธุรกิจ
หุ้น MAI ที่จะ success และเปลี่ยนชีวิตได้ คือ 1. ต้องเล็ก เมื่อเทียบกับขนาด 2. Quality ต้องหาสิ่งใหม่ที่ดีกว่าเดิม
โลกการลงทุนตอนนี้ต้องหาผู้บริหารที่สุดยอด ไม่จำเป็นต้องหาอุตสาหกรรมที่สุดยอดก็ได้
เซียนมี : หุ้นที่เปลี่ยนชีวิตของคนรุ่นนี้
1. ต้องเล็ก แต่มี character มีจุดขาย เป็นผู้นำตลาด หรือสินค้าต้องโดดเด่น แตกต่างอย่างชัดเจน และถ้าเกิดวิกฤติก็สามารถเอาตัวรอดได้อย่างไร
คุณหลิน : ต้องเลือกทางใดทางหนึ่ง เช่นถ้าเลือกสเกลใหญ่ พอใหญ่ก็จะได้เปรียบ แต่ถ้าเลือกตัวเล็ก ต้องมีจุดแตกต่าง ทำให้หุ้นตัวนี้สามารถ capture ในตลาดได้
1
ถ้าเจอผู้บริหารจะถามอะไร
เซียนมี : อยากรู้ว่าผู้บริหารมองภาพบริษัทใน 3 -5 ปีว่าเป็นอย่างไร มองยาวๆอย่างไร
คุณหลิน : อะไรที่ทำให้บริษัทเติบโตได้ มั่นใจแค่ไหนกับการเติบโต ถ้าเค้ามองเห็นชัดเจนเก็คือป็นสิ่งที่เราต้องการ
อายุผู้บริหารมีผลแต่ไม่มาก แต่อายุน้อยจะมี runway ยาวกว่า ผู้บริหารอายุน้อย มี passion ธุรกินจดี ก็เหมือนกับ มี small quality long runway สามารถทำไปได้เรื่อยๆยาวๆ ถ้า runway ต่อให้วิกฤติสุดท้ายราคาก็จะกลับมา
ระหว่างการเติบโตของ Top line กับ เติบโตของกำไร
เซียนมี่ : ให้น้ำหนัก topline ก่อน ถ้าbottom line สะดุดนิดหน่อย ต้นทุนแพง แต่ top line ยังดีอยู่ พี่มี่ชอบ
คุณหลิน : เปรียบเหมือนคน ถ้า bottom line โต คือ อ้วน ก็จะอ้วนได้ครั้งเดียว อ้วนไปเรื่อยๆไม่ได้ เพราะฉะนั้น บริษัทที่รีดกำไรออกมาก็จะทำได้แค่ครั้งเดียว ทำต่ออีกไม่ได้ แต่ top line คือการเติบโตที่มีคุณภาพมากกว่า
การไปทำเรื่องใหม่ๆ หรือแห่ทำตามกัน
คุณหลิน : มองว่าการทำเรื่องใหม่ๆเป็นสิ่งที่ดี แต่ต้องมีคุณภาพ ไม่ชอบบริษัทที่แห่ทำตามกัน แต่ชอบบริษัทที่รู้จักตัวเอง และรู้จังหวะที่ต้องทำ
เซียนมี่ : ประเมิณว่าโปรเจคต์ใหม่ที่ทำนั้น เกี่ยวข้องกัยธุรกิจเดิมที่ทำอยู่หรือเปล่า ดูว่ามีโอกาสจะสำเร็จมากหรือน้อย และสามารถดึงจุดแข็งธุรกิจเดิมมาใช้ได้
เล่นหุ้นเล็กแล้วมีประเด็นอะไรบ้างไหม
เซียนมี่ : จำนวนหุ้นที่เราซื้อมีความสัมพันธ์กับความพยายามของเราว่ามากน้อยแค่ไหน อย่ามีมากกว่าความพยายามของเรา พี่มี่กำหนดว่าชอบแค่ไหน ก็วื้อไม่เกิน 10% ของ port
คุณหลิน : 1.ให้มองว่าเป็นกี่ % ของเงินใน port แต่จริงๆก็แล้วแต่ความเสี่ยงของแต่ละคน บางคน 20-30% มากสุดๆก็ 30% สมัยนี้มีความไม่แน่นอนในตลาดเยอะมาก
2. เราถือสัดส่วนกี่ % ของบริษัท เวลาเราถือหุ้นเยอะๆให้ดูว่าเราจะขายใคร เหมือนกับถ้าเราซื้อปลาคราฟตัวใหม่ แล้วมันตัวใหญ่ขึ้น สวยไม่มีตำหนิ ยังไงก็ขายได้ วิธีคิดคือ ถ้าเราซื้อบริษัทที่ Market Cap ที่เยอะมากๆ เราก็ต้องคาดหวังให้โตเป็น 5 พันล้าน หมื่นล้าน แล้วกองทุนมาซื้อ ตอนซื้อมันง่าย แต่ขายมันยาก
1
VI ขาเข้าคิดเยอะและคาดหวังว่ามันจะดี อะไรที่ทำให้เปลี่ยนใจหรือเข้าผิด
เซียนมี่ : ให้ซื้อยาก ตอนขายมันจะง่าย เราควรพยายามลดข้อผิดพลาด ควรเตรียมตัว หาจุดผิดให้เร็วกว่าตลาด ถ้าเราไม่มั่นใจ ไม่จำเป็นต้องขายทีเดียวหมด ลองขายบางส่วน ถ้าทำแบบนี้ได้ โอกาสที่หุ้นตัวนั้นจะเปลี่ยนชีวิตเราให้แย่มีน้อยมาก เพราะเรามี action plan กลยุทธ์ปรับเปลี่ยนไปมา
คุณหลิน : หุ้นคือศิลปะเพราะเราไม่รู้อนาคต มีวิธีคิด คือ ตอนขาเข้า position ตอนแรก เผิ่อไว้ถ้าลง 10-20%ก็จะเพิ่ม position ถ้าหุ้นลงแล้วทุกอย่างยังไม่เปลี่ยน ก็จะได้เก็บของเยอะขึ้นและไม่แพง เพื่อจะ win คำใหญ่ แต่ก็ต้องดูว่าเค้าพลาดแล้วทำซ้ำไหม แต่สุดท้ายก็ต้องวัดที่ผลกำไร
ระยะสั้นต้องดี มีสะดุดได้ ระยะยาวก็ต้องดี
การหาหุ้นใน MAI จะทำอย่างไร
เซียนมี่ : จัดกลุ่มที่คาดการณ์ยากๆเอาออก และใช้คอนเนคชั่น กลุ่มเว็บบอร์ด ในการศึกษาทำการบ้าน เราก็ดึงตัวที่ธุรกิจดีน่าสนใจ มาเจาะทำการบ้านต่อ
คุณหลิน : เริ่มจากเทรนด์ใหญ่ก่อน ต้องจับประเด็นได้ แบ่งหุ้นเป็นเกรด สรุปว่าหุ้นตัวนี้แปลว่าอะไร อยู่ช่วงไหน ถึงเวลาเข้าซื้อหรือยัง
กลุ่มอุตสาหกรรมที่น่าสนใจ
เซียนมี่ : ชอบการส่งออก MAI เป็นตลาดของการทำ bottom up เหมาะมากกับภาวะเศรษฐกิจโตน้อย เพราะแย่ง share มานิดหน่อยก็โตได้เยอะ
คุณหลิน : MAI เป็น roll model of growth เป็นสิ่งที่ไทยต้องการ
Sector tech และ service โดดเด่น ซึ่งต้องศึกษาเพราะมีโปรเจคต์ใหม่ๆเยอะมาก
ธุรกิจใหม่ๆ กับหุ้นที่ไม่เคยศึกษา
เซียนมี่ : ถ้าเราให้เวลาและทุ่มเทก็จะเข้าใจได้ เพราะ MAI เข้าใจง่าย ธุรกิจไม่ได้ซับซ้อนมาก
1
คุณหลิน : ต้องให้เวลา อย่าใจร้อน
สิ่งที่อันตรายที่สุดคือรู้ไม่จริง อุตสาหกรรมยากแต่ศึกษาได้
ขอบพระคุณพี่มี่พี่หลินสำหรับความรู้ดีๆครับ
โฆษณา