Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
คลังปัญญาชวนคิด
•
ติดตาม
7 ธ.ค. 2022 เวลา 17:46 • ประวัติศาสตร์
ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญิน รวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้
ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัด แต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:
1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เรา แน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนา ด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้
2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เรา ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว ก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อน และการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
3. โองการที่ว่า
"یا مَعْشَرَ الْجِنِّ وَ الْإِنْسِ أَ لَمْ یَأْتِکُمْ رُسُلٌ مِنْکُمْ یَقُصُّونَ عَلَیْکُمْ آیاتی وَ یُنْذِرُونَکُمْ لِقاءَ یَوْمِکُم هذا...."
“โอ้เหล่ามนุษย์และญินเอ๋ย ศาสนทูตในหมู่สูเจ้ามิได้มาเพื่อเล่าขานสัญลักษณ์ของข้าและเตือนภัยให้ทราบว่าสูเจ้าจะพบกับวันนี้ดอกหรือ?” เนื้อหาโองการนี้ย่อมครอบคลุมยุคก่อนการสร้างนบีอาดัมด้วย.
4. รายงานว่า ชายคนหนึ่งถามอิมามอลีว่า“อัลลอฮ์เคยแต่งตั้งศาสนทูตในหมู่ญินหรือไม่?” ท่านตอบว่า “แน่นอน ศาสนทูตญินที่ชื่อยูสุฟเคยเรียกร้องเชิญชวนเหล่าญินสู่อัลลอฮ์ แต่แล้วพวกเขาได้รวมหัวกันสังหารเสีย”
อัลกุรอานได้ยืนยันการมีอยู่ของญิน โดยอธิบายคุณลักษณะบางประการดังนี้:
1. เป็นสิ่งมีชีวิตที่สร้างจากไฟ ต่างจากมนุษย์ที่สร้างจากดิน.[1]
2. มีวิจารณญาณและมีความรู้ความเข้าใจ สามารถแยกแยะผิดถูกได้.[2]
3. มีหน้าที่ต้องรับผิดชอบ.[3]
4. จะต้องเข้าสู่กระบวนตัดสินพิพากษาในปรโลก.[4]
5. ในหมู่ญินมีทั้งผู้ศรัทธาและผู้ตั้งภาคี,ผู้ปฏิเสธ.[5]
6. ญินสามารถเจาะทะลวงชั้นฟ้าเพื่อดักฟังข่าวสาร แต่ถูกสกัดกั้นหลังจากท่านนบีมุฮัมมัดดำรงตำแหน่งศาสนทูต.[6]
7. ญินบางกลุ่มติดต่อกับมนุษย์เพื่อล่อลวง โดยแลกกับข่าวสารเร้นลับที่ตนมี[7]
8. ญินบางตนมีพลังมหาศาล.[8]
9. ญินสามารถทำงานอันเป็นที่ต้องการของมนุษย์ได้[9]
10. พระองค์สร้างญินบนพื้นพิภพก่อนจะสร้างมนุษย์[10]
11. ฐานันดรของมนุษย์เหนือกว่าญิน ด้วยเหตุนี้เองที่อัลลอฮ์บัญชาแก่อิบลีสให้ศิโรราบต่อมนุษย์ (อิบลีสคือหนึ่งในผู้ทรงอิทธิพลในหมู่ญิน)[11]
ส่วนข้อซักถามที่ว่าเหล่าญินมีศาสนทูตหรือไม่นั้น ดังที่เกริ่นข้างต้น เราคงต้องจำแนกยุคสมัยของญินออกเป็นสองยุค หนึ่ง ยุคก่อนการสร้างมนุษย์ และสอง ยุคหลังการสร้างมนุษย์.
ในยุคหลังการสร้างมนุษย์นั้น
หากพิจารณาโองการกุรอานจะพบว่าญินมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามศาสนทูตที่เป็นมนุษย์ จากจุดนี้ทำให้ญินบางกลุ่มศรัทธาต่อบรรดาศาสนทูตของอัลลอฮ์ แต่บางส่วนก็ปฏิเสธและกลายเป็นกาฟิร[12]
ประเด็นของเราอยู่ที่ยุคก่อนการสร้างมนุษย์ กล่าวคือ ในยุคที่อัลลอฮ์ยังไม่สร้างมนุษย์แต่ทว่าสร้างญินแล้วนั้น พระองค์ทรงแต่งตั้งให้มีผู้สั่งสอนชี้นำเหล่าญินหรือไม่? หากคำตอบคือไช่ คำถามต่อมาก็คือ แล้วศาสนทูตของญินเป็นญินด้วยหรือไม่?
คำตอบคือ สามารถยืนยันได้ว่าก่อนการสร้างนบีอาดัมนั้น ศาสนทูตของญินล้วนเป็นญินด้วยกันทั้งสิ้น ทั้งนี้ก็เพราะ:
1. กุรอานเผยถึงเหตุผลของการสร้างมนุษย์และญินว่าเป็นไปเพื่อการภักดี “แน่แท้ข้าได้สร้างญินและมนุษย์เพื่อภักดีต่อข้า[13]” มาตรฐานที่แท้จริงของการภักดีต่ออัลลอฮ์ล้วนใช้“หน้าที่ทางศาสนา”เป็นเครื่องชี้วัด ด้วยเหตุนี้เองที่เราเชื่อว่าเหล่าญินก็มีหน้าที่ทางศาสนาเช่นกัน[14] โดยมีโองการกุรอานยืนยันถึงข้อเท็จจริงดังกล่าว[15] เมื่อพิจารณาเพิ่มเติมจะพบว่า เป็นไปไม่ได้ที่อัลลอฮ์ผู้เปี่ยมด้วยวิทยปัญญาจะ
กำหนดหน้าที่ทางศาสนาให้เหล่าญินปฏิบัติโดย
ไม่ทรงแต่งตั้งผู้ที่จะประกาศหน้าที่ศาสนาในหมู่ญิน สรุปคือญินจะมีหน้าที่ก็ต่อเมื่อมีศาสนทูต และหากไม่มีศาสนทูต เหล่าญินก็ย่อมไม่มีภาระหน้าที่ใดๆต้องรับผิดชอบ.
2. อัลลอฮ์เป็นผู้ทรงธรรมและเปี่ยมด้วยวิทยปัญญา และผู้มีปัญญาย่อมไม่แสดงพฤติกรรมที่น่ารังเกียจอย่างแน่นอน ดังที่ทราบกัน อัลลอฮ์เคยตรัสว่าจะทรงลงโทษญินและมนุษย์ที่ละเลยหน้าที่“และข้าจะเติมนรกให้เต็มไปด้วยมนุษย์และญิน(ผู้ประพฤติชั่ว)[16]” จะเป็นไปได้อย่างไรที่พระองค์จะทรงลงโทษทั้งๆที่มิได้แต่งตั้งศาสนทูตเพื่อชี้แจงศาสนาให้หมดข้อสงสัยเสียก่อน
แน่นอนว่ากรณีดังกล่าวไม่อาจเกิดขึ้นได้ เนื่องจากการลงโทษฐานทำผิดวินัยทั้งที่มิได้แจ้งระเบียบวินัยให้ทราบเสียก่อนนั้น ถือเป็นการกระทำที่น่ารังเกียจ และการกระทำที่น่ารังเกียจจะไม่เกิดขึ้นในวัตรปฏิบัติของผู้มีปัญญาอย่างแน่นอน กลุ่มญินเองก็อยู่ในหลักเกณฑ์เดียวกันนี้ อัลกุรอานกล่าวว่า “เราจะไม่ลงโทษ(กลุ่มชนใด)เว้นแต่จะส่งศาสนทูตมาก่อน[17]” จึงสรุปได้ว่าญินก็มีศาสนทูตเช่นกัน.
3. โองการที่ว่า:
"یا مَعْشَرَ الْجِنِّ وَ الْإِنْسِ أَ لَمْ یَأْتِکُمْ رُسُلٌ مِنْکُمْ یَقُصُّونَ عَلَیْکُمْ آیاتی وَ یُنْذِرُونَکُمْ لِقاءَ یَوْمِکُم هذا...."
“โอ้เหล่ามนุษย์และญินเอ๋ย ศาสนทูตในหมู่สูเจ้ามิได้มาเพื่อเล่าขานสัญลักษณ์ของข้าและเตือนภัยให้ทราบว่าสูเจ้าจะพบกับวันนี้ดอกหรือ?[18]”
ตรรกะที่ปรากฏในโองการนี้ชี้ให้เห็นอย่าง
ชัดเจนว่าทั้งก่อนและหลังการสร้างมนุษย์ หรือแม้กระทั่งก่อนและหลังศาสนาอิสลาม เหล่าญินล้วนมีศาสนทูตมาโดยตลอด ทว่าเป็นธรรมดาที่ก่อนการสร้างมนุษย์ ศาสนทูตของญินคือญินด้วยกัน[19] อีกโองการที่ยืนยันถึงประเด็นดังกล่าวก็คือโองการที่ว่า:
"إِنَّا أَرْسَلْناکَ بِالْحَقِّ بَشیراً وَ نَذیراً وَ إِنْ مِنْ أُمَّةٍ إِلاَّ خَلا فیها نَذیرٌ"
“แท้จริงเราได้ส่งเจ้ามาโดยธรรม เพื่อให้เป็นผู้แจ้งข่าวดีและเตือนภัย และไม่มีกลุ่มชนใดนอกจากจะเคยมีผู้แจ้งเตือน”[20]
4. รายงานว่า มีชายชาวแคว้นชามคนหนึ่งได้ซักถามท่านอิมามอลี(อ)ว่า: “อัลลอฮ์ทรงส่งศาสนทูตสู่กลุ่มญินหรือไม่?” ท่านตอบว่า “แน่นอน อัลลอฮ์ทรงแต่งตั้งศาสนทูตที่มีนามว่ายูสุฟเพื่อชี้นำกลุ่มญิน ทว่าพวกเขารวมหัวกันสังหารท่าน[21]”
รายงานนี้บ่งชี้อย่างชัดเจนว่ากลุ่มญินเคยมีศาสนทูตสำหรับพวกตนโดยเฉพาะ
ข้อสรุปจากเนื้อหาทั้งหมดที่นำเสนอมาทั้งหมดก็คือ เหล่าญินมีหน้าที่ทางศาสนาไม่ต่างจากมนุษย์ และเคยมีศาสนทูตในหมู่ของตนเพื่อชี้นำทางศาสนาก่อนการสร้างมนุษย์ ทว่ารายละเอียดปลีกย่อยเกี่ยวกับเรื่องนี้ยังเป็นที่คลุมเครือสำหรับเรา
[1] อัรเราะฮ์มาน, 15.
[2] โองการต่างๆในซูเราะฮ์ อัลญิน.
[3] โองการต่างๆในซูเราะฮ์ อัลญิน และ อัรเราะฮ์มาน.
[4] อัลญิน, 15.
[5] อัลญิน, 11.
[6] อัลญิน, 9.
[7] อัลญิน, 6.
[8] อันนัมลิ, 39.
[9] สะบะอ์, 12,13.
[10] อัลฮิจร์, 27.
[11] อัลกะฮ์ฟิ,50.
[12] อย่างไรก็ดี ประเด็นนี้ค่อนข้างจะชัดเจนในกรณีของท่านนบีมูซา(อ)และท่านนบีมุฮัมมัด(ซ.ล.) ส่วนกรณีศาสนทูตท่านอื่นๆนั้น นักอรรถาธิบายกุรอานมีความเห็นที่แตกต่างกันออกไป.
โองการที่ชัดเจนที่สุดเกี่ยวกับเรื่องนี้คือโองการที่ 29-30 ซูเราะฮ์ อัลอะห์กอฟ:
"وَ إِذْ صَرَفْنا إِلَیْکَ نَفَراً مِنَ الْجِنِّ یَسْتَمِعُونَ الْقُرْآنَ فَلَمَّا حَضَرُوهُ قالُوا أَنْصِتُوا فَلَمَّا قُضِیَ وَلَّوْا إِلى قَوْمِهِمْ مُنْذِرینَ قالُوا یا قَوْمَنا إِنَّا سَمِعْنا کِتاباً أُنْزِلَ مِنْ بَعْدِ مُوسى مُصَدِّقاً لِما بَیْنَ یَدَیْهِ یَهْدی إِلَى الْحَقِّ وَ إِلى طَریقٍ مُسْتَقیمٍ"
“จงระลึกถึงเมื่อครั้งที่เราได้นำพาญินกลุ่มหนึ่งเพื่อสดับฟังอัลกุรอาน เมื่อพวกเขามาถึงต่างกล่าวแก่กันและกันว่าจงเงียบ(และตั้งใจฟัง)เถิด
หลังจากฟังจนจบ พวกเขากลับสู่กลุ่มชนเพื่อเตือนสำทับโดยกล่าวว่า โอ้กลุ่มชนของเรา เราได้สดับฟังคัมภีร์หนึ่งที่ประทานลงมาหลังจากมูซาซึ่งยืนยันเนื้อหาคัมภีร์เล่มก่อนๆ...” แม้ว่าในโองการนี้จะไม่เอ่ยถึงคัมภีร์อินญีล แต่นั่นก็เป็นเพราะว่าคัมภีร์เตารอตถือเป็นคัมภีร์หลักซึ่งชาวคริสต์เองก็ถือปฏิบัติตั้งแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน, ดู: ตัฟซีร เนมูเนะฮ์, เล่ม 21, หน้า 370.
ในส่วนของยุคหลังอิสลาม มีเหตุการณ์ยืนยันต่อไปนี้: ท่านร่อซูลได้เดินทางจากมักกะฮ์สู่ตลาดนัดอุกกาซในแคว้นตออิฟเพื่อจะเชิญชวนผู้คนที่จับจ่ายใช้สอยให้สนใจอิสลาม ทว่าไม่มีใครใส่ใจท่าน ครั้นเมื่อท่านประสงค์จะกลับมักกะฮ์ ท่านได้หยุดพักแรมและอัญเชิญกุรอาน ณ สถานที่ๆเรียกว่า วาดี ญิน กระทั่งมีญินกลุ่มหนึ่งสดับฟังกุรอานและเกิดศรัทธา
จึงกลับไปเชิญชวนพรรคพวกให้สนใจอิสลาม ดู: ตัฟซีรเนมูเนะฮ์, เล่ม 25, หน้า100, อธิบายโองการที่ 1,2 ซูเราะฮ์ อัลญิน.
อย่างไรก็ดี นักอรรถาธิบายกุรอานบางท่านเชื่อว่าศาสนทูตของญินคือญินด้วยกันทั้งก่อนและหลังยุคแห่งการสร้างมนุษย์ ทั้งนี้โดยอ้างถึงคำว่า “ศาสนทูตในหมู่สูเจ้า”ในโองการที่ว่า
"یا مَعْشَرَ الْجِنِّ وَ الْإِنْسِ أَ لَمْ یَأْتِکُمْ رُسُلٌ مِنْکُمْ یَقُصُّونَ عَلَیْکُمْ آیاتی وَ یُنْذِرُونَکُمْ لِقاءَ یَوْمِکُم هذا...."
“โอ้เหล่ามนุษย์และญินเอ๋ย ศาสนทูตในหมู่สูเจ้ามิได้มาเพื่อเล่าขานสัญลักษณ์ของข้าและเตือนภัยให้ทราบว่าสูเจ้าจะพบกับวันนี้ดอกหรือ?” แต่ยอมรับว่าท่านนบีมุฮัมมัดเป็นศาสนทูตสำหรับ
ทั้งมนุษย์และญิน ดู: ตัฟซีร รูฮุลบะยาน, เล่ม 3 หน้า 105 และ ตัฟซีร ระฮ์นะมอ, เล่ม 5, หน้า 354. แต่นักอรรถาธิบายกุรอานบางท่านปฏิเสธทัศนะข้างต้นโดยเชื่อว่า โองการในซูเราะฮ์ญินเพียงต้องการจะสื่อให้ทราบว่ากุรอานและ
อิสลามประทานมาเพื่อชี้นำทุกกลุ่มรวมถึงพวกญินด้วย และว่าท่านรอซู้ลได้รับการแต่งตั้งให้ชี้นำทุกหมู่เหล่า แต่ก็เป็นไปได้ที่ท่านรอซู้ลจะแต่งตั้งตัวแทนจากกลุ่มญินให้ทำหน้าที่เผยแผ่
อิสลาม ฉะนั้น วลีที่ว่า มิงกุม(ในหมู่สูเจ้า) ไม่จำเป็นต้องสื่อว่ามนุษย์และญินต่างมีศาสนทูตที่แยกเป็นเอกเทศเสมอไป เนื่องจากเมื่อพิจารณาวลีดังกล่าวเทียบกับวลีที่ว่า “กลุ่มหนึ่งจากพวกท่าน” กลุ่มหนึ่งในที่นี้เป็นไปได้ว่าอาจคัดเลือกจากเผ่าพันธ์ใดเผ่าพันธุ์หนึ่ง หรืออาจจะคัดเลือกจากทุกเผ่าพันธุ์ที่มีก็เป็นได้
ดู: ตัฟซีร เนมูเนะฮ์, เล่ม 5, หน้า 443, กล่าวคือ คำว่ามิงกุมในที่นี้ไม่อาจจะสื่อความหมายกว้างไปกว่าการที่ศาสนทูตได้รับการแต่งตั้งจากภาพรวมของทั้งญินและมนุษย์ โดยต้องการตัดประเด็นที่พระองค์อาจแต่งตั้งศาสนทูตจากทวยเทพมะลาอิกะฮ์ ทั้งนี้ก็เพราะความสะดวกโยธินในการติดต่อสื่อสารกับประชาชาติ แต่การที่จะชี้ชัดลงไปถึงการแต่งตั้งญินเป็นศาสนทูต
สำหรับเหล่าญิน และแต่งตั้งมนุษย์เป็นศาสนทูตสำหรับมนุษย์นั้น โองการข้างต้นมิได้ชี้ชัดถึงนัยยะดังกล่าว ดู: ตัฟซีรอัลมีซาน, เล่ม 7, หน้า 540 และ ตัฟซีร มันฮะญุศศอดิกีน, เล่ม 3, หน้า 452.
13] อัลอิสรออ์, 15.
[14] ดู: บิฮารุลอันวาร, เล่ม 60, หน้า 311.
[15] "أُولئِکَ الَّذِینَ حَقَّ عَلَیْهِمُ الْقَوْلُ فِی أُمَمٍ قَدْ خَلَتْ مِنْ قَبْلِهِمْ مِنَ الْجِنِّ وَ الْإِنْسِ إِنَّهُمْ کانُوا خاسِرِینَ" อัลอะห์กอฟ, 18
[16] สะญะดะฮ์, 13 และ ฮูด, 119.
[17] อัลอิสรออ์, 15.
[18] อัลอันอาม, 130.
[19] ข้อคิดดังกล่าวได้จากนัยยะของคำว่า “เหล่าศาสนทูตในหมู่สูเจ้า” ซึ่งครอบคลุมทุกยุคสมัย ยกเว้นยุคสมัยนบีมูซา(อ) และท่านนบีมุฮัมมัด(ซ.ล.) โดยยุคนี้ญินไม่มีศาสนทูตที่เป็นญินด้วยกัน.
[20] อัลฟาฏิร, 29.
[21] บิฮารุลอันวาร, เล่ม 10, หน้า 76: "ل بعث الله نبیا الی الجنّ فقال نعم بعث الیهم نبیا یقال له یوسف فدعاهم الی الله فقتلوه".
ข่าวรอบโลก
เรื่องเล่า
ประวัติศาสตร์
บันทึก
1
1
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย