ประกันลดหย่อนภาษีอะไร ยังไง ได้บ้าง ?
1. ประกันชีวิต แบบทั่วไป
ลดหย่อนได้ตามจ่ายจริง และสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท ต่อปี เช่น
- ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ
- ประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา
- ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์
- ประกันชีวิตควบการลงทุน
** รวมกับสุขภาพเพิ่มเติม เช่น ประกันอุบัติเหตุ / โรคร้ายแรง / ค่ารักษาพยาบาล
ไม่เกิน 25,000 บาทต่อปี
2. ประกันชีวิตแบบบำนาญ
คือ เหมือนเราจ่ายค่าประกันคุ้มครอง และได้เงินคืนรายปีตอนที่เราอายุประมาณ 55 ปี
ประกันแบบนี้ ลดหย่อนภาษีได้ 15% ของรายได้ และไม่เกิน 200,000 บาท
* แต่ถ้าเราไม่ได้ลดหย่อนภาษีประกันแบบทั่วไป เราสามารถแบ่งเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ 2 แสนก้อนนี้ ไปบวกกับประกันชีวิตทั่วไปได้
ประกันบำนาญ + ทั้วไป ก็เลยจะลดหย่อนภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 300,000 บาท
*** แต่ แต่ ประกันบำนาญ / กบข. (กองทุนบำเหน็จ บำนาญข้าราชการ) / กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ / หองทุน ssf /rmf
ต้องรวมส่วนที่ลดหย่อนภาษี รวมกันแล้วไม่เกิน 500,000 บาท ด้วยนะ
3. ประกันสุขภาพที่ซื้อให้พ่อแม่
ลดหย่อนได้สูงสุด 15,000 บาทต่อปี
หรือ ถ้าคู่สมรสไม่มีรายได้ เบี้ยประกันสุขภาพของพ่อแม่คู่สมรสก็นำไปใช้ลดหย่อนได้สูงสุด 15,000 บาทต่อปีเช่นกัน
หรือ ถ้ามีพี่น้องช่วยจ่ายประกันให้พ่อแม่ ก็หารเท่าๆ กันในวงเงินรวมไม่เกิน 15,000 บาทต่อปี
(ลูกบุญธรรมไม่ได้นะ)
** แต่ พ่อแม่ ต้องมีรายได้ต่อปีไม่เกิน 30,000 บาท
ตั้งแต่ปี 2561 เป็นต้นมา คนทำ หรือ ผู้จ่ายเบี้ยประกัน ต้องแจ้งความประสงค์ขอลดหย่อนภาษี
กับบริษัทที่เราทำประกันไว้ด้วย เพื่อเป็นการยินยอมให้บริษัทเปิดเผยข้อมูลของเราต่อสรรพากร
(อย่าลืมสอบถามรายละเอียดก่อนซื้อกันนะครับ)
ข้อมูลเพิ่มเติม
_________________________________
#TEstateService #insurance #AIA
Line: @254atcyg
Instagram: t.estateservice
Youtube: T-ESTATE SERVICE
Blockdit: อสังหาริมทรัพย์ T-Estate Service
twitter: @ThanaponService
Tiktok: meehai_service