Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Smile Migraine
•
ติดตาม
12 ธ.ค. 2022 เวลา 12:00 • สุขภาพ
💊ยาแก้ปวด vs วิตามินป้องกันไมเกรน
ยาแก้ปวด และ กลุ่มป้องกันไมเกรน มันไม่เหมือนกันนะ
.
มาทำความรู้จักยา 2 ประเภทนี้กันอีกครั้ง ❗️
🟠 ยาแก้ปวด
ตรงตัวกับชื่อเลย มีหน้าที่ ลดปวดและลดกระบวนการอักเสบแบบทันที ต้องทานเมื่อปวดเท่านั้น
.
ลองมาดูกันว่า ตัวยาที่ชาวไมเกรนจะเจอ และเคยใช้กันหลักๆ มีอะไรกันบ้าง
1. ยาพาราเซตามอล
2. ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs : นาพรอกเซน (naproxen), ไอบูโพรเฟน (ibuprofen), แอสไพริน (aspirin)
3. ยาแก้ปวดกลุ่ม Triptan : ซูมาทริปแทน (sumatriptan), อีลิทริปแทน (eletriptan)
4. ยาแก้ปวดกลุ่ม ergotamine
.
🟠 กลุ่มป้องกันไมเกรน
มีหน้าที่ทำให้สมองลดความไวต่อสิ่งกระตุ้น และปรับสมดุล เป็นกลุ่มยาที่ต้องทานต่อเนื่องทุกวัน ในเวลาเดิม ประมาณ 4-6 เดือน
.
📌โดยจะแบ่งหลักๆ ได้ 3 กลุ่ม
1️⃣ ยาป้องกันไมเกรนในกลุ่มมาตรฐาน ไม่ว่าจะเป็น
◾️ ยาต้านเศร้า
◾️ ยากันชัก
◾️ ยาลดความดัน
◾️ ยาขยายหลอดเลือด
.
2️⃣ กลุ่มวิตามินป้องกันไมเกรน
ประกอบไปด้วย Magnesium, Ribloflavin (B2) และ CoQ10 โดย 3 ตัวมีงานวิจัยตีพิมพ์ทางการแพทย์ แล้วว่าช่วยลดจำนวนวันปวดและความรุนแรงของไมเกรนได้ ลักษณะการออกฤทธิ์และการทานต่อเนื่องจะเหมือนกับกลุ่มยาป้องกันมาตราฐานเลย หรือลูกเพจเราจะรู้จักกันดี ในแบรนด์ Migra นั่นเอง
.
3️⃣ กลุ่มยาฉีดต้าน CGRP เป็นลักษณะของยาฉีดบริเวณหน้าท้อง ฉีดเดือนละ 1 ครั้ง การออกฤทธิ์จะเริ่มออกฤทธิ์ตั้งแต่ วันแรกหลังฉีดจนถึงหนึ่งสัปดาห์ โดยจำนวนวันปวดไมเกรนจะค่อยๆ ลดลง ตามงานวิจัยในคลินิกแล้ว ผู้ป่วยที่ฉีดเข็ม 1 -3 ที่มีการตอบสนองต่อยา จำนวนวันปวดจะลดลงไปกว่า 50%
.
#smilemigraine #migraine
#ไมเกรน #ปวดหัว #ยาแก้ปวด #วิตามินป้องกันไมเกรน
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย