9 ธ.ค. 2022 เวลา 13:47
Polar Routes
เส้นทางบินสุดพิเศษข้ามขั้วโลก
1
การบินเส้นทางบินข้ามขั้วโลกที่เรียกว่า Polar Routes.ถูกนำมาใช้ด้วยจุดประสงค์ที่ต่างกัน บางสายการบินใช้ในการร่นระยะทางแทนที่จะบินข้ามมหาสมุทร(นึกภาพโลกเป็นผลส้มการบินเลาะกึ่งกลางผลส้มย่อมมีระยะทางที่ไกลกว่าการบินอ้อมขึ้นไปด้านบนของผลส้มแล้ววกกลับลงมา)
ในทางกลับกันบางสายการบินก็บินด้วยความจำเป็น!
ในวันที่สงครามระหว่างยูเครนและรัสเซียระเบิดขึ้น น่านฟ้าของรัสเซียเป็นพื้นที่หวงห้ามทันที ประเทศที่ดูจะมีผลกระทบก็คือประเทศในยุโรปที่จะบินมายังเอเชีย และประเทศที่กระทบเต็มๆคือฟินแลนด์ที่มีอาณาเขตติดต่อกับรัสเซีย
2
แต่เดิมเที่ยวบินจากฟินแลนด์มาญี่ปุ่นจะบินเข้ารัสเซียและตัดไปทางประเทศจีน เมื่อเส้นทางเดิมบินไม่ได้ฟินแอร์จึงต้องศึกษาเส้นทางบินใหม่คือการบินข้ามขั้วโลก กับระยะทางที่เพิ่มขึ้นกว่า 3,000 กม น้ำมันเพิ่มขึ้นกว่า 40% !!
1
3
การบินข้ามขั้วโลกนอกจากเรื่องสภาพอากาศที่มีความเย็นสุดขั้วมีผลตรงกับการบิน,น้ำมันที่อาจเป็นน้ำแข็ง และพื้นที่ที่สุดอ้างว้างของขั้วโลก มีสนามบินสำรองระหว่างทางน้อยหรือแทบจะไม่มี แต่โชคดีครับที่เครื่องบินในปัจจุบันมีความน่าเชื่อถือมากขึ้นทำให้ได้รับอนุญาตที่บินได้ออกห่างจากสนามบินที่ใกล้สุดจากเดิมกำหนดไว้แค่ไม่เกิน 1 ชั่วโมง ขยายไปได้หลายร้อยกิโลเมตรหรือพูดง่ายๆว่าบินออกห่างจากสนามบินที่ใกล้ที่สุดได้เป็นเวลานับ 2-3 ชั่วโมงเลย
เราเรียกวิธีการบินลักษณะนี้ว่า ETOPS หรือ "Extended-range Twin-engine Operational Performance Standards"
4
แต่เส้นทางขั้วโลกมีความพิเศษครับอ้างว้างไร้ซึ่งสนามบินและผู้คน สนามบินที่ใกล้สุดอาจห่างออกไปกว่า 5 ชั่วโมงเครื่องบินที่สายการบินฟินแอร์เลือกมาใช้จึงต้องมีความพิเศษครับนั่นคือ Airbus A350-900s (ETOPS 300 นาที) แถมยังทนกับสภาพอากาศหนาวเย็นสุดขั้วได้ด้วย
5
ในมุมของนักบินเมื่อบินไกลขึ้นจากเดิมใช้นักบิน 3 คนก็ต้องเพิ่มเป็น 4 คน และต้องศึกษาเส้นทางสุดพิเศษนี้ให้ดี การติดต่อสื่อสารก็เป็นไปด้วยความยากลำบาก HF หรือ High Frequency Communication เทคโนโลยีการสื่อสารที่มีอายุนานนับ 100 ปี จึงต้องนำมาใช้ในพื้นที่ห่างไกลแบบนี้ การนำทางในบริเวณที่มีสนามแม่เหล็กเข้มข้นก็จำเป็นจะต้องระวัง ไม่ใช่ฟินแอร์สายการบินเดียวครับที่(จำเป็นต้อง)บิน Japan airline ที่จะบินไปยุโรปก็ต้องบินข้ามขั้วโลกเช่นกัน จากผลกระทบจากการเลี่ยงน่านฟ้ารัสเซีย
ด้วยระยะทางที่ไกล น้ำมันต้องเอาไปเพิ่มน้ำหนักเครื่องบินต้องเบา สายการบินต้องเลือกระหว่างคาร์โก้หรือบรรทุกสินค้ากับการขายตั๋วที่นั่ง ฟินแลนด์มองแล้วว่าการขนส่งสินค้าเป็นรายได้หลัก พวกเขาจึงจำกัดขายตั๋วเพียง 50 ที่นั่งจากความจุทั้งหมด 330 ที่นั่งของ Airbus A350 ด้วยชั่วโมงบินกว่า 13 ชั่วโมง
ในมุมผู้โดยสารพวกเขาก็ happy มีความสุขสิครับ
นึกภาพเหมือนเครื่องบินเป็นของเราครับ นั่งกันอยู่แค่ 50 คนกว้างขวาง สบายๆ แถมอาจมีโอกาสได้มองเห็นแสงเหนือในยามค่ำคืนเมื่อบินผ่านขั้วโลกอีกด้วย..ฟินสุดๆ
ท่านละครับอยากมีประสบการณ์บินข้ามขั้วโลกสักครั้งไหม ขอบอกว่าสายการบินฟินแอร์ มอบประกาศนียบัตรให้ผู้โดยสารทุกคนด้วยนะครับที่บินผ่าน Noth Pole 😉
กัปตันหมี
** ปัจจุบันเส้นทางบินรัสเซียอนุญาตให้สายการบินทำการบินแล้ว เส้นทางบินก็มีการปรับใหม่ตามสถานการณ์**
** สายการบินฟินแอร์ยังมีทางเลือกคือบินลงใต้ไปทางยุโรปใต้แล้วเลาะผ่านเข้าคาซัคสถานเข้าเมืองจีน,เกาหลี แล้วบินเข้าญี่ปุ่นแม้ระยะทางจะไกลกว่าแต่หากวันไหนลมส่งท้ายจะประหยัดน้ำมันได้ก็จะเลือกเส้นทางนี้ครับ**
Cr : CNN
โฆษณา