9 ธ.ค. 2022 เวลา 15:17 • การตลาด
“เพชรสังเคราะห์” New Normal ของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับในอนาคต
ภาพจาก Pinterest
เพชร คือหนึ่งในสุดยอดปรารถนาของผู้หญิง
แต่รู้หรือไม่ว่า !!! มีเพชรอยู่ชนิดหนึ่ง ที่ไม่ใช่ของแท้
แต่ก็ไม่ถือว่าเป็น “เพชรปลอม” สิ่งนี้เรียกว่า “เพชรสังเคราะห์”
หรือ Lab-Grown Diamond (LGD)
เพชรสังเคราะห์ ที่กำลังพูดถึง คือ เพชรที่มีคุณสมบัติทางเคมี
และหน้าตาเหมือนเพชรแท้ที่เกิดจากธรรมชาติทุกประการ
จนแทบแยกไม่ออกด้วยตาเปล่า แม้จะเป็นผู้เชี่ยวชาญ
ก็ต้องอาศัยเครื่องมือเฉพาะพิเศษในการสังเกตดูเท่านั้น
และมันถูกสร้างขึ้นภายใน “ห้องแล็บ”
ในปี 2007 GIA หรือสถาบันอัญมณีศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา
ได้ออกเอกสารรับรองให้เพชรสังเคราะห์ เฉกเช่นเดียวกับ
เพชรธรรมชาติ โดยจะมีระบุไว้ในใบว่าเพชรเม็ดนี้เป็น
เพชรสังเคราะห์ (Laboratory-Grown Diamonds)
หรือเพชรธรรมชาติ (Natural Diamonds) ด้วย
เพชรสังเคราะห์สร้างขึ้นมาได้อย่างไร?
เพชรสังเคราะห์เม็ดแรกเกิดขึ้นจาก การทดลองในห้องแล็บ
ของบริษัท General Electric ในนิวยอร์ก ช่วงปี 1954
หรือเมื่อ 68 ปีที่แล้ว
ปัจจุบันการผลิตเพชรสังเคราะห์
สามารถผลิตขึ้นได้ทั้งหมด 2 วิธี คือ
High Pressure High Temperature (HPHT) ซึ่งเป็นวิธีจำลอง
แรงกดดัน และอุณหภูมิความร้อน เหมือนการสร้างเพชร
ตามธรรมชาติเพื่อสังเคราะห์เพชรขึ้นมา
Chemical Vapor Deposition (CVD) ซึ่งเป็นวิธีการสังเคราะห์เพชร
โดยการใช้แก๊สคาร์บอน และทำให้อะตอมของคาร์บอนแตกตัว
ออกมาเป็นเพชร
ด้วยกรรมวิธีนี้ทำให้เกิดเป็นผลึกหน้าตาเหมือนเพชรขึ้นมา
ในห้องแล็บได้ภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์ แทนที่จะต้องใช้เวลา
นับล้านปีเหมือนเพชรแท้
ในปัจจุบัน ผู้ผลิตเพชรสังเคราะห์รายใหญ่ของโลก คือ “จีน”
ซึ่งมีสัดส่วนสูงถึง 90% รองลงมาเป็นอินเดีย รัสเซีย และสหรัฐอเมริกา
เพชรธรรมชาติเกิดขึ้นได้อย่างไร?
หากย้อนไปเมื่อหลายล้านปีก่อน อัญมณีอย่างเพชรเองก็เคยเป็นเพียงหินหนืดหรือแมกมาธรรมดาที่รวมตัวกันอยู่ที่ใต้ผิวโลก
ซึ่งเมื่อแมกมาที่อยู่ใต้พื้นผิวโลกลึก 150 - 250 กิโลเมตร
ได้ถูกกดทับด้วยแรงดันสูงถึง 70,000 กิโลกรัม / ตารางเซนติเมตร
ภายใต้อุณหภูมิสูงกว่า 1,700 - 2,500 องศาเซลเซียสเป็นเวลานานนับพันปี แมกมาเหล่านี้ก็ค่อย ๆ แปรสภาพตัวเองเป็นผนึกคาร์บอนสีใส
หรือกลายมาเป็นผนึกเพชร
สามารถเจอเพชรธรรมชาติได้จากที่ไหนบ้าง?
ด้วยทรัพยากรที่มีอย่างจำกัดขึ้นทุกวัน ดังนั้น ยิ่งนานวันเข้า
‘เพชรธรรมชาติ’ ก็ยิ่งขุดพบเจอได้ยากขึ้น แต่อย่างไรก็ดี
เหมืองเพชรในประเทศอย่างแคนาดา บราซิล จีน รัสเซีย
ออสเตรเลีย ตลอดจนบางประเทศในแถบแอฟริกา
อย่างนามิเบีย บอตสวานา แอฟริกาใต้ แองโกลา คองโก
รวมถึงซิมบับเวก็ยังสามารถ ขุดพบเจอเพชรธรรมชาติ
คุณภาพสูงที่มีขนาดเม็ดที่ใหญ่จำนวนมากอยู่
ซึ่งเพียงแค่เหมือง Premier Mine ในประเทศแอฟริกาใต้
เพียงเหมืองเดียวก็สามารถขุดพบเพชรในตำนานอย่าง
‘เพชรคัลลินัน (Cullinan Diamond)’ ที่มีขนาดใหญ่
ถึง 3,106 กะรัต ซึ่งถือว่าเป็นเพชรที่มีขนาดใหญ่ที่สุด
ในโลกเลยทีเดียว
ปัจจุบัน กระแสรักษ์โลก รักษ์สิ่งแวดล้อม ส่งผลให้ผู้บริโภค
มีการกังวลในเรื่องของ การทำเหมืองเพชรธรรมชาติ
ที่อาจส่งผลกระทำต่อสิ่งแวดล้อม การใช้แรงงานที่ผิดกฎหมาย
รวมทั้งสถานการณ์แพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผล
ให้ยอดขายเพชรแท้จากธรรมชาติ ชะลอตัว
ด้วยเหตุนี้เพชรสังเคราะห์ LGDs จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง
ให้กับผู้บริโภค เนื่องจากมีคุณสมบัติเทียบเท่ากับเพชรธรรมชาติ
ทางเคมีและทางกายภาพทุกประการ ด้วยราคาที่จับต้องได้
ต่างกันแค่เพียงแหล่งกำเนิดเท่านั้น และยังไม่ทำร้าย ทำลาย
สิ่งแวดล้อม และไม่มีประเด็นในเรื่องจริยธรรมอีกด้วย
ภาพจาก Pinterest
เพชรสังเคราะห์ อนาคตจะเป็น New Normal ?
🌸ปัจจุบัน เพชรสังเคราะห์เป็นที่รู้จักในหมู่ผู้บริโภคเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
จากการสำรวจของ MVI ในปี 2010 พบว่ามีผู้รู้จัก LGDs เพียง 9%
แต่ในปี 2018 มีผู้รู้จัก LGDs เพิ่มขึ้นเป็น 51% เลยทีเดียว
🌸ส่วนฐานข้อมูล Statista ก็ได้พยากรณ์ไว้ว่าในปี 2030
จะมีปริมาณ LGDs ในตลาดสูงถึง 19.2 ล้านกะรัต
ซึ่งนับว่าความต้องการเพชรสังเคราะห์ได้เติบโตอย่างก้าวกระโดด
จากปี 2010 ที่มีเพียง 0.95 ล้านกะรัตเท่านั้น และที่น่าสนใจมาก
ไปกว่านั้นก็คือ ความสนใจซื้อ LGDs ก็ยังคงเพิ่มขึ้นด้วย
ซึ่งแน่นอนว่าราคาเป็นปัจจัยสำคัญที่ดึงดูดให้ผู้บริโภค
หันมาสนใจ LGDs
🌸ความนิยมที่เพิ่มขึ้นนี้ส่วนหนึ่งก็ได้รับอานิสงส์จากบุคคลที่มีชื่อเสียงในวงการแฟชั่นที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อของหลายคนเป็นอย่างมาก เช่น นางแบบของ Victoria’s Secret ที่สวมใส่ชุดชั้นในที่ทำจาก LGDs ที่มีมูลค่าสูงถึง 1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในงานแฟชั่นโชว์ Lady Gaga ก็ใส่ต่างหูที่ทำจาก LGDs มาร่วมงานเปิดตัวภาพยนต์ในกรุงลอนดอน
🌸จากงานวิจัยของ นางสาวพิชญา โล่ห์ปีติ นิสิต MBA
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พบคำตอบที่น่าสนใจอยู่หลายประเด็น ดังนี้
- กลุ่มเป้าหมายหลักของเพชรสังเคราะห์คือ Gen Y เนื่องจาก
คน Gen Y จะให้ความสำคัญกับความคุ้มค่าของเงินที่ต้องจ่ายไป
โดยทั่วไปแล้วคน Gen Y มักให้ความสำคัญกับสินค้ากลุ่ม IT มากกว่า
เครื่องประดับ พฤติกรรมการบริโภคที่เด่นชัดของคน Gen นี้
คือการซื้อสินค้าที่ดีที่สุด คุ้มค่าที่สุด นิยมการช้อปออนไลน์
ชอบสั่งสินค้าที่มีคุณลักษณะเฉพาะที่แสดงความเป็นตัวตนของเขา
และจัดเป็นผู้บริโภคที่ใจร้อน นิยมสินค้าที่ดึงดูดใจ ดูดี แปลกใหม่
และอินเทรนด์
ส่วน Gen X ถือเป็นกลุ่มเป้าหมายรอง คน Gen X ยังมีความลังเลใจในการซื้อเพชรสังเคราะห์ เพราะถูกปลูกฝังจากคนรุ่นพ่อแม่ที่เป็น Baby Boomer ในเรื่องการซื้อเครื่องประดับเพื่อลงทุนในระยะยาว เพื่อเป็นมรดกตกทอด
- เพศชายมีแนวโน้มซื้อเพชรสังเคราะห์เพิ่มขึ้น ตามรายได้เฉลี่ยที่สูงขึ้น ในขณะที่เพศหญิง เมื่อมีรายได้สูงขึ้นถึงระดับหนึ่ง จะนิยมเพชรธรรมชาติมากกว่า
🌸การเข้ามาในธุรกิจเพชรสังเคราะห์ของ De Beers ภายใต้แบรนด์ Light Box Jewelleryพบว่า มีความคิดเห็นทั้งในเชิงบวกและเชิงลบเช่นกัน โดยผู้ประกอบการที่ให้ความเห็นในเชิงบวก มองว่าการที่ De Beers เข้ามาเล่นในตลาดเพชรสังเคราะห์นับเป็นสิ่งดีต่ออุตสาหกรรมโดยรวม เพราะถือว่า De Beers ได้ทำการประชาสัมพันธ์ให้กับเพชรสังเคราะห์ไปแล้ว ซึ่งไม่ต้องมาปกปิดข้อมูลกับผู้บริโภค เป็นการสร้างความน่าเชื่อถือและส่งผลดีต่อภาพรวมของอุตสาหกรรม
🌸การได้รับความนิยมในกลุ่มคนรุ่นใหม่มากขึ้น
ไม่ว่าจะนำไปทำเป็นแหวนหมั้น แหวนแต่งงาน หรือซื้อใช้เอง
และแม้แต่แบรนด์เครื่องประดับอย่าง Pandora ก็ยังประกาศจะเลิกใช้เพชรแท้ และหันมาใช้เพชรสังเคราะห์แทนมาแล้ว
แน่นอนว่าในอนาคตกลุ่มเด็กรุ่นใหม่ที่กำลังเติบโต ทั้ง Gen X ,Gen Y
ในแง่ของอุสาหกรรมเครื่องประดับและอัญมณีย่อมมีการตื่นตัวอย่างแน่นอน New Normal อาจจะไม่ใช่ต้อง Real หรือ Natures ต่อไปอีกก็ได้
การตอบโจทย์ให้แก่ลูกค้าคือเป้าหมายหลักของธุรกิจ
ซึ่งกลุ่มลูกค้าคนรุ่นใหม่นี้สนใจเครื่องประดับแฟชั่น ซึ่งตกแต่งด้วยเพชรสังเคราะห์
หลากสีสัน มีดีไซน์เก๋ในแนวสนุกสนานด้วยสนนราคาที่ไม่สูงนัก
ลูกค้าสามารถเลือกซื้อให้ตนเองหรือให้แก่กลุ่มเพื่อนได้
และยังคงให้ความรู้สึกถึงความเป็นแบรนด์ระดับสูง มีความเป็นตัวของตัวเอง
มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
1
และด้วยภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอย คนรุ่นใหม่จึงต้องปรับ
ลดงบประมาณที่ใช้ในการแต่งงานลง
ซึ่งLGDs มีราคาถูกกว่าเพชรธรรมชาติ ถึง 30 -40 %
แล้วคุณล่ะ !! คิดเห็นว่าอย่างไร ?
กับการใส่เครื่องประดับด้วยเพชร เป็น. New Normal สำหรับคุณหรือไม่ ?
คอมเมนท์มาบอกกันบ้าง แล้วพบกันบทความหน้า
ผู้เขียน : #แอ๋วสาระดี
#แรงบันดาลใจวัยห้าสิบ
แหล่งที่มา : tpa .or.th
: ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
โฆษณา