Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ลงทุนในบัญชีและภาษี
•
ติดตาม
15 ธ.ค. 2022 เวลา 13:21 • การศึกษา
ตรวจสุขภาพการเงินส่วนตัวผ่านการวิเคราะห์หนี้สิน
การที่คนเราจะรู้ว่าตนเองมีสุขภาพแข็งแรงหรือไม่ อย่างไร ก็ต้องทำการสุขภาพดูปีละครั้ง หากพบสิ่งผิดปกติหรือมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคต่างๆ ก็ต้องรีบทำการรักษา
การเงินก็เช่นเดียวกัน หากต้องการทราบว่าสุขภาพทางการเงินของเราแข็งแรงแค่ไหน ก็ต้องทำการตรวจวิเคราะห์งบการเงินส่วนบุคคลดู
งบการเงินส่วนบุคคลนั้น ก็คือ ตัวเลขทางการเงินที่บอกว่า ณ ปัจจุบันเรามีสินทรัพย์และหนี้สินเท่าไหร่ โดยในด้านสินทรัพย์ หมายถึง เงินหรืออะไรก็ตามที่ตีมูลค่าเป็นเงิน และหนี้สิน หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่ค้างจ่ายหรือเงินที่ไปกู้ยืมมาที่ต้องชำระคืน
วิธีการทำงบ ก็ด้วยการบันทึกรายรับ – รายจ่ายในแต่ละงวด เมื่อหักรายจ่ายออกแล้ว ก็จะรู้สถานะทางการเงิน ที่เรียกว่า ความมั่งคั่งสุทธิ (Net Wealth) นั่นเอง
ถ้าเปรียบเทียบระหว่าง สินทรัพย์ และหนี้สิน ส่วนใหญ่คงคิดว่าฝั่งสินทรัพย์อาจจะดูเข้าใจได้ง่ายกว่า ส่วนในฝั่งหนี้สินอาจจะคลุมเครือ หรือเข้าใจคลาดเคลื่อน เช่น
- เมื่อมีหนี้ก็ต้องจ่ายคืนทั้งเงินต้น และดอกเบี้ย แต่มักจะลืมคำนวณดอกเบี้ยเข้ามาเป็นค่าใช้จ่ายเพิ่มในงบ
2
- เมื่อไปค้ำประกันให้คนอื่น อาจจะไม่รู้ตัวว่านี่ก็เป็นหนี้สินประเภทหนึ่ง
1
2
- ไม่แยกประเภทของหนี้ออกเป็นหนี้สินระยะสั้นและระยะยาว ทำให้เกิดความผิดพลาดในการบริหารหนี้
หนี้สิน สามารถก่อขึ้นมาได้ แต่ควรควบคุมการก่อหนี้ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ซึ่งดูได้จากอัตราส่วนทางการเงิน ดังนี้
1.อัตราส่วนแสดงการชำระคืนหนี้สินจากรายได้ (Debt Service Ratio)
เป็นการวัดความสามารถในการชำระหนี้สินทั้งหมด เกณฑ์มาตรฐานทั่วไปควรมีค่าต่ำกว่า 35% และไม่ควรสูงเกิน 45% ของรายได้รวมในแต่ละเดือน
2.อัตราส่วนแสดงการชำระคืนหนี้สินที่ไม่ใช่การจดจำนองจากรายได้ (Non-mortgage Service Ratio)
เป็นการวัดความสามารถในการชำระหนี้เพื่อการบริโภค (ไม่รวมหนี้เพื่อซื้อที่อยู่อาศัย) เช่น หนี้บัตรเครดิต หนี้ซื้อรถ เป็นต้น ซึ่งไม่ควรมีค่าต่ำกว่า 15% และไม่ควรสูงเกิน 20% ของรายได้รวมในแต่ละเดือน
ตัวอย่าง หากเรามีเงินเดือน 50,000 บาท แสดงว่ามีความสามารถในการชำระหนี้สินไม่ควรเกิน 22,500 บาท/เดือน (50,000 x 45%) และมีความสามารถในการชำระหนี้สินเพื่อการบริโภคได้ไม่ควรเกิน 10,000 บาท/เดือน (50,000 x 20%)
2
และหลังจากก่อหนี้เพื่อการบริโภค 10,000 บาทไปแล้ว ก็จะก่อหนี้อื่นๆ ได้ไม่ควรเกิน 12,500 บาท (22,500 – 10,000)
และต่อไปนี้จะเป็นคำถามฉุกคิด หากเราอยากจะก่อหนี้ใดๆ ขึ้นมาสักก้อนหนึ่ง
2
ผลจากการตอบคำถาม
>> ถ้าคำตอบเป็นข้อ A ทั้งหมด แสดงว่าการก่อหนี้ครั้งนี้มีเหตุผลเพียงพอ ไม่น่าจะมีปัญหาทางการเงินในอนาคต
>> แต่ถ้ามีทั้งคำตอบ A และ B หากตัดสินใจก่อหนี้ ก็อาจเกิดปัญหาทางการเงินในอนาคตได้ ควรชะลอการก่อหนี้ออกไปก่อน
ดังนั้น ก่อนตัดสินใจเป็นหนี้เพราะอะไรก็แล้วแต่ ลองหยุดคิดแล้วหาคำตอบให้ตัวเองใหได้เสียก่อนนะคะ
การวิเคราะห์หนี้สินของตัวเองผ่านงบการเงินส่วนบุคคล จะช่วยให้รู้ว่าตัวเองมีความสามารถในการก่อหนี้ได้ระดับไหน ช่วยให้เข้าใจและรู้ลักษณะของหนี้แต่ละประเภท ทำให้การบริหารจัดการหนี้ง่ายขึ้นและมีประสิทธิภาพ ไม่เดือดร้อนต่อการดำรงชีวิต
อย่างไรก็ดี การจะก่อหนี้ใดไม่ใช่สิ่งที่ผิด หากการก่อหนี้นั้นอยู่ในระดับที่เหมาะสม และนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต ก็จะทำให้สามารถบริหารจัดการในการชำระหนี้คืนได้ แต่ถ้าก่อหนี้เกินความจำเป็นและจำนวนมากเกินไป จนไม่สามารถหาเงินไปชำระคืนได้ก็จะเกิดความเสียหายตามมา
Cr. SCB
เรียบเรียงโดย : ลงทุนในบัญชีและภาษี
ขอบคุณทุกท่านที่แวะมาเยือนค่ะ 😊
ติดตามอ่านบทความอื่นๆ ได้ที่
https://www.blockdit.com/pages/5ef4aee94e90fa1adecae03e
การเงิน
พัฒนาตัวเอง
ความรู้รอบตัว
4 บันทึก
13
25
10
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
สู่อิสรภาพทางการเงิน
4
13
25
10
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย