Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
สัทธานุสารี
•
ติดตาม
10 ธ.ค. 2022 เวลา 08:18 • ประวัติศาสตร์
มรรคมีองค์ ๘..ปัญญา.ศีล.สมาธิ" สมถะ วิปัสสนา" อานาปานสติ :: พุทธวจน
*********
#เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า
เมื่อเธอเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า
มรรคย่อมเกิด
เธอย่อมเสพ
ย่อมเจริญ
ย่อมกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
เมื่อเธอเสพเจริญ
กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้
อนุสัยย่อมสิ้นสุด ฯ
อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า
เมื่อเธอเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า
มรรคย่อมเกิด
เธอย่อมเสพ
ย่อมเจริญ
ย่อมกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
เมื่อเธอเสพ เจริญ
กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้
อนุสัยย่อมสิ้นสุด ฯ
อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป
เมื่อเธอเจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป
มรรคย่อมเกิด
เธอย่อมเสพ เจริญ
กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
เมื่อเธอเสพ เจริญ
กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
ย่อมละ
สังโยชน์ทั้งหลายได้
อนุสัยย่อมสิ้นสุด ฯ
----
อีกประการหนึ่ง ใจของภิกษุปราศจากอุทธัจจะในธรรม
สมัยนั้น จิตนั้นย่อมตั้งมั่น
สงบ ณ ภายใน
เป็นจิตเกิดดวงเดียว
ตั้งมั่นอยู่
มรรคย่อมเกิดขึ้นแก่เธอ
เธอย่อมเสพ เจริญ
กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
เมื่อเธอเสพ เจริญ
กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้
อนุสัยย่อมสิ้นสุด
----
ดูกรอาวุโสทั้งหลาย บุคคลผู้ใดผู้หนึ่ง เป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม
ย่อมพยากรณ์การบรรลุอรหัต
ในสำนักของเรา ด้วยมรรค ๔ ประการนี้
โดยประการทั้งปวง หรืออย่างใด
อย่างหนึ่ง บรรดามรรค ๔ ประการนี้ ฯ
จบปฏิปทาวรรคที่ ๒
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓
อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
#ปฏิบัติมรรคมีองค์แปด
#มรรคมีองค์แปด(องค์ประกอบของมรรคมีแปดข้อ)
1. สัมมาทิฏฐิ-ความเห็นถูกตรง
2. สัมมาสังกัปปะ-ความดำริถูกตรง
3. สัมมาวาจา-มีวาจาถูกตรง
4. สัมมากัมมันตะ-ทำการงานชอบ
5. สัมมาอาชีวะ-เลี้ยงชีพชอบ
6. สัมมาวายามะ-พยายามชอบ
7. สัมมาสติ-มีสติระลึกชอบ และ
8. สัมมาสมาธิ-มีสมาธิชอบ
มรรคมีองค์แปด
#ย่อลงเหลือสาม คือ ศีล สมาธิ ปัญญา
#ย่อลงอีกเหลือสอง คือ สมถ วิปัสนา
#ย่อลงอีกเหลือหนึ่ง คือ อาณาปานสติ
#มรรคมีองค์แปดนี้สรุปลงในไตรสิกขา ได้ดังนี้
1. อธิสีลสิกขา ได้แก่ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ
2. อธิจิตสิกขา ได้แก่ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ และ
3. อธิปัญญาสิกขา ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ และสัมมาสังกัปปะ
******************************************
อ่านพุทธวจน เพิ่มเติมได้จากโปรแกรม E-Tipitaka
http://etipitaka.com/read?keywords=สัมมาวายามะ&language=thai&number=145&volume=14
********
#หนทางเป็นเครื่องให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์.
#อริยมรรคมีองค์ ๘
ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ อริยสัจ คือหนทางเป็นเครื่องให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์
เป็นอย่างไรเล่า ? คือ
หนทางอันประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐนี้เอง องค์แปด คือ
ความเห็นชอบ (สัมมาทิฏฐิ)
ความดำริชอบ (สัมมาสังกัปปะ)
วาจาชอบ (สัมมาวาจา)
การงานชอบ (สัมมากัมมันตะ)
อาชีวะชอบ (สัมมาอาชีวะ)
ความเพียรชอบ (สัมมาวายามะ)
ความระลึกชอบ (สัมมาสติ)
ความตั้งใจมั่นชอบ (สัมมาสมาธิ)
-
ภิกษุทั้งหลาย ! ความเห็นชอบ เป็นอย่างไร ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ความ รู้ในทุกข์
ความรู้ในเหตุให้เกิดทุกข์
ความรู้ในความดับไม่เหลือแห่งทุกข์
ความรู้ในหนทางเป็นเครื่องให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ อันใด,
นี้เราเรียกว่า ความเห็นชอบ.
-
ภิกษุทั้งหลาย ! ความดำริชอบ เป็นอย่างไร ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ความดำริในการออกจากกาม
ความดำริในการไม่พยาบาท
ความดำริในการไม่เบียดเบียน,
นี้เราเรียกว่า ความดำริชอบ.
-
ภิกษุทั้งหลาย ! วาจาชอบ เป็นอย่างไร ?
ภิกษุทั้งหลาย ! การเว้นจากการพูดเท็จ
การเว้นจากการพูดยุให้แตกกัน
การเว้นจากการพูดหยาบ
การเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ,
นี้เราเรียกว่า วาจาชอบ.
-
ภิกษุทั้งหลาย ! การงานชอบ เป็นอย่างไร ?
ภิกษุทั้งหลาย ! การเว้นจากการฆ่าสัตว์
การเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้
การเว้นจากการประพฤติผิดในกามทั้งหลาย,
นี้เราเรียกว่า การงานชอบ.
-
ภิกษุทั้งหลาย ! อาชีวะชอบ เป็นอย่างไร ?
ภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวกในกรณีนี้ ละการหาเลี้ยงชีพที่ผิดเสีย
สำเร็จความเป็นอยู่ด้วยการหาเลี้ยงชีพที่ชอบ,
นี้เราเรียกว่า อาชีวะชอบ.
-
ภิกษุทั้งหลาย ! ความเพียรชอบ เป็นอย่างไร ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุ ในกรณีนี้ ย่อมปลูกความพอใจ
ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร
ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้
เพื่อความไม่บังเกิดขึ้นแห่งอกุศลธรรมอันบาปทั้งหลาย
ที่ยังไม่ได้บังเกิด; ย่อมปลูกความพอใจ
ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต
ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อการละเสียซึ่งอกุศลธรรมอันเป็นบาปที่บังเกิดขึ้นแล้ว;
ย่อม ปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร
ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้
เพื่อการบังเกิดขึ้นแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย ที่ยังไม่ได้บังเกิด;
ย่อม ปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร
ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อความยั่งยืน
ความไม่เลอะเลือนความงอกงามยิ่งขึ้น
ความไพบูลย์ ความเจริญ ความเต็มรอบ
แห่งกุศลธรรมทั้งหลาย ที่บังเกิดขึ้นแล้ว,
นี้เราเรียกว่า ความเพียรชอบ.
-
ภิกษุทั้งหลาย ! ความระลึกชอบ เป็นอย่างไร ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้
เป็นผู้มีปกติ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ,
มีความเพียรเผากิเลส
มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม (สัมปชัญญะ) มีสติ
นำความพอใจ และความไม่พอใจในโลกออกเสียได้;
เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำ,
มีความเพียรเผากิเลส มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม
มีสตินำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้;
เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ,
มีความเพียรเผากิเลส มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ
นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้;
เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ,
มีความเพียรเผากิเลส มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ
นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้,
นี้เราเรียกว่า ความระลึกชอบ.
-
ภิกษุทั้งหลาย ! ความตั้งใจมั่นชอบ เป็นอย่างไร ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุ ในกรณีนี้ สงัดแล้วจากกามทั้งหลาย
สงัดแล้วจากอกุศลธรรมทั้งหลาย เข้าถึงฌานที่หนึ่ง
อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวก แล้วแลอยู่
เพราะวิตกวิจารรำงับลง, เธอเข้าถึงฌานที่สอง
อันเป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน
ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดขึ้น
ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุข
อันเกิดแต่สมาธิแล้วแลอยู่
เพราะปีติจางหายไป, เธอเป็นผู้เพ่งเฉยอยู่ได้ มีสติ
มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม และได้เสวยสุขด้วยนามกาย
ย่อมเข้าถึงฌานที่สาม อันเป็นฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย
กล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุ ว่า
“เป็นผู้เฉยอยู่ได้ มีสติ มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม” แล้ว แลอยู่
เพราะละสุขและทุกข์เสียได้
และเพราะความดับหายไปแห่งโสมนัสและโทมนัส ในกาลก่อน
เธอย่อมเข้าถึงฌานที่สี่
อันไม่ทุกข์และไม่สุข มีแต่สติอันบริสุทธิ์เพราะ อุเบกขาแล้วแลอยู่,
นี้เราเรียกว่า สัมมาสมาธิ.
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เราเรียกว่า อริยสัจ คือ
หนทางเป็นเครื่องให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์.
ปฐมธรรม หน้า ๒๙๕
(ภาษาไทย) มหา. ที. ๑๐/๒๓๑/๒๙๙.
http://etipitaka.com/read?language=thai&number=231&volume=10
ธรรมะ
พุทธวจน
พุทธศาสนา
1 บันทึก
1
1
1
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย