15 ธ.ค. 2022 เวลา 11:00 • การศึกษา

Episode7 : ## Arthrokinematics การเคลื่อนไหวเล็กๆที่เกิดขึ้นในข้อต่อ ##

ถ้าย้อนกลับไปในโพสต์กันก่อนผมได้พูดถึงคำคำนึงคือคำว่าosteokinematic ที่เป็นการอธิบายการเคลื่อนไหวของกระดูกซึ่งเป็นgross movement หรือการเคลื่อนไหวใหญ่ๆที่เห็นได้ชัด แต่ในเรื่องของkinematics ยังมีอีกคำหนึ่งที่พูดถึงการเคลื่อนไหวเล็กๆที่เกิดขึ้นภายในข้อต่อนั่นคือคำว่า"arthrokinematics" วันนี้เราจะมาพูดถึงคำๆนี้กันครับ
คำว่าarthrokinematicsมาจากคำว่า"arthro"ที่แปลว่าjointหรือข้อต่อ และคำว่า"kinematics"ที่เป็นการอธิบายการเคลื่อนไหวโดยที่ไม่มีแรงมาเกี่ยวข้อง โดยสรุปก็คือarthrokinematicsจะอธิบายถึงการเคลื่อนไหวเล็กๆระหว่างarticular surface ซึ่งเกิดขึ้นเพื่อช่วยให้การเคลื่อนไหวเกิดได้ราบเรียบมากขึ้น
ข้อต่อส่วนใหญ่ในร่างกายของเราจะมีarticular surface 2ฝั่ง ที่มีด้านนึงเป็นด้านนูน เราเรียกด้านนั้นว่าด้าน"convex" และอีกด้านหนึ่งเป็นด้านที่เป็นด้านเว้าเราเรียกด้านนั้นว่าด้าน"concave" เมื่อเกิดการเคลื่อนไหวที่เป็น gross movement ของข้อต่อ จะเกิดการขยับเล็กๆระหว่างarticular surface เราจะเรียกการเคลื่อนไหวเล็กๆนี้ว่า"Accessory movement" ซึ่งมีประโยชน์คือ
1.ทำให้ผิวข้อต่อสบกันได้ดี(congruency)
2.เพิ่มพื้นที่ผิวสัมผัส(surface area)
3.ช่วยเรื่องการเคลื่อนไหว(guide motion)
การเคลื่อนไหวเล็กๆที่จะเกิดขึ้นบนarticular surfaceประกอบด้วย
1.Roll and slide
Roll คือการที่ผิวด้านconcave/convex ด้านนึงกลิ้งไปบนarticular surface อีกด้านหนึ่ง ส่วนslide คือการที่ผิวด้านconcave/convex ด้านนึงไถลไปบนผิวของข้อต่อในทิศทางขนานกับarticular surface
การเคลื่อนไหวทั้งrollและslide จะเกิดไปด้วยกัน เช่น เมื่อเราทำshoulder abduction กล้ามเนื้อsupraspinatus จะดึงhead of humerusที่เป็นด้านconvex rollไปบนด้านconcave ของglenoid fossa(convex on concave) ในขณะเดียวกันเมื่อเกิดการroll ของhumerusไปด้านบน ก็จะเกิดการslideของhumerusไปในทิศทางตรงกันข้าม คือเกิดinferior glide เพื่อชดเชยการเคลื่อนไหวให้ข้อต่อสบกันได้ดี ถ้าหากไม่มีการslideในทิศทางตรงข้ามเกิดขึ้น ก็จะทำให้เกิดpathologyอื่นๆตามมา เช่นsubacromial impingement เป็นต้น
สำหรับarthrokinematic patternว่าจะเกิดการslide ไปในทิศทางไหน ขึ้นอยู่กับรูปร่างของarticular surface
.
ถ้าconvex roll on concave จะเกิดการslide opposite side
แต่ถ้าconcave roll on convex จะเกิดการslide same side
.
หลักการนี้ถูกนำมาใช้ในการรักษาด้วยวิธีการทำmobilization ซึ่งเป็นการรักษาที่จะช่วยทำให้ข้อต่อกลับเข้าสู่natural arthrokinematicsได้
2. Spin
Spin คือการที่ด้านconcave/convex หมุนรอบแกนดิ่งที่ทะลุผ่านกระดูกชิ้นนั้น(ผ่านlongitudinal axis) บนarticular surfaceอีกด้านหนึ่ง เช่นกระดูกradius spin on humerusตอน pronate forearmเป็นต้น
.
ในบางข้อต่อจะเกิดการผสมทั้งroll, slide และspin เช่น tibiofemoral jt.ของข้อเข่า เมื่อเกิดการเหยียดเข่าแบบopen chain จะเกิดการrollและslide ของtibia บน femur(Roll anteriorlyและSlide anteriorly ของ tibia on femur) และเกิดspin ของtibia on femur(Lateral rotation ของtibia) เพื่อให้เกิดการlock knee ตามกลไก “Screw-home mechanism” ซึ่งมีไว้เพื่อสร้างความมั่นคงให้ข้อเข่า ซึ่งเดี๋ยวผมจะหยิบมาอธิบายให้ละเอียดขึ้นวันหลังนะครับ
ถ้าชอบเนื้อหาแบบนี้ผมฝากกด like กดแชร์ กดติดตามเพจphysioupskillด้วยนะครับ ส่วนถ้าใครมีข้อสงสัยอะไรก็commentไว้ด้านล่างได้เลยครับ
.
.
_PhysioUpskill_
#physioupskill
#arthrokinematics
⭐สำหรับใครที่อยากเรียนรู้เพิ่มเติม สามารถอ่านบทความอื่นๆได้ที่ https://physioupskill.com/บทความ/
หรือดูรายละเอียดคอร์สเรียนของเพจได้ที่ https://physioupskill.com/คอร์สเรียน/
ได้เลยครับ
Ref.
Neumann, D. A. (2016). Kinesiology of the Musculoskeletal System: Foundations for Rehabilitation. Mosby.
Foster, M. A. (2019). Therapeutic Kinesiology: Musculoskeletal Systems, Palpation, and Body Mechanics (1st ed.). Pearson.
โฆษณา