12 ธ.ค. 2022 เวลา 03:49 • ประวัติศาสตร์
สัญลักษณ์และสิ่งแทนตัวพระองค์ ประจำรัชกาลที่ 10 ที่ประชาชนชาวไทยทุกคนควรรู้ไว้
1. ตราพระปรมาภิไธย ประจำรัชกาลที่ 10
ตราพระปรมาภิไธย สำหรับพระมหากษัตริย์ รัชกาลใหม่ มีการออกแบบเช่นเดียวกับ ตราพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์รัชกาลก่อน ๆ ประกอบด้วย
1.1.พระมหาพิชัยมงกุฎเปล่งรัศมี – พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 องค์พระปฐมบรมมหากษัตริย์ในพระบรมมหาราชจักรีวงศ์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สร้างขึ้นเป็นราชศิราภรณ์ หนึ่งในเครื่องราชกกุธภัณฑ์ สำหรับสมเด็จพระมหากษัตริยาธิราชเจ้า
แสดงถึงการเป็นพระมหากษัตริย์โดยสมบูรณ์ที่ได้รับการกราบบังคมทูลถวาย เมื่อเสด็จประทับเหนือพระที่นั่งภัทรบิฐ ภายใต้พระนพปฎลมหาเศวตฉัตร (ฉัตรขาว 9 ชั้น) ตามแบบอย่างโบราณครั้งกรุงศรีอยุธยา อันแสดงถึงพระบรมเดชานุภาพ แผ่กระจายไปไกลทั่วทุกหนแห่ง เพื่อปกป้องคุ้มครองและช่วยเหลือพสกนิกรของพระองค์ทั่วทั้งแผ่นดิน
1.2.เลข 10 ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎ – หมายถึง พระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 10
1.3.ว.ป.ร. – ย่อมาจาก “วชิราลงกรณ ปรมราชาธิราช” อักษรพระปรมาภิไธย “สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร”
สีตัวอักษร “ว.” สีขาวนวล – วันพระราชสมภพ (วันจันทร์ นับตามคติมหาทักษา)
สีตัวอักษร “ป.” สีเหลือง – วันพระบรมราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9
สีตัวอักษร “ร.” สีฟ้า – วันพระราชสมภพ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 9 ออกแบบโดย นายสุนทร วิไล จากกรมศิลปากร ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต วันที่ 5 พ.ย. 2559
2. ธงประจำรัชกาลที่ 10
ธงสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรากูร
ธงสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรากูรเป็นธงพื้นสีเหลือง อันเป็นสีประจำพระชนมวาร (เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันจันทร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2495) กลางธงมีตราสัญลักษณ์ประจำพระองค์ซึ่งปกติเป็นตราพระปรมาภิไธยย่อ ว.ป.ร. ภายใต้อุณาโลมและพระมหาพิชัยมงกุฎเปล่งรัศมี
3. พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ 10
พระราชลัญจกรประจำรัชกาล เป็นตราประจำพระมหากษัตริย์แต่ละรัชกาล ที่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้น เมื่อต้นรัชกาลเพื่อประทับกำกับพระปรมาภิไธย ในเอกสารสำคัญต่างๆของชาติ ที่เกี่ยวกับราชการแผ่นดิน เช่น รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา และเอกสารสำคัญส่วนพระองค์ ที่ไม่เกี่ยวกับราชการแผ่นดิน
พระราชลัญจกรเป็นเครื่องมงคลที่แสดงถึงพระราชอิสริยยศ แบะพระบรมเดชานุภาพของพระมหากษัตริย์
สัญลักษณ์และสิ่งแทนตัวพระองค์ ประจำรัชกาลที่ 10 ที่ประชาชนชาวไทยทุกคนควรรู้ไว้4. พรรณไม้ประจำพระองค์ รัชกาลที่ 10 ต้นรวงผึ้ง
ต้นรวงผึ้ง ถือว่าเป็น พรรณไม้ประจำรัชกาลที่ 10 ด้วยเหตุผลดังนี้
4.1 ต้นรวงผึ้ง มีดอกสีเหลือง สีเหลืองเป็นสีที่ตรงกับวันพระราชสมภพ (วันจันทร์ 28 กรกฎาคม พุทธศักราช 2495 )
4.2วันผลิดอกอยู่ในช่วงเดือนพระราชสมภพ ดอกรวงผึ้ง ผลิดอก ออกสีเหลืองบานสะพรั่ง ในช่วงเดือน กรกฎาคม – สิงหาคม
4.3 ต้นรวงผึ้งเป็นต้นไม้ทรงปลูกพระราชทาน หากคราใดที่พระองค์ท่านเสด็จฯ กอปรพระราชกรณียกิจ ตามสถานที่ต่างๆ จะทรงปลูกต้นรวงผึ้ง พระราชทานไว้เพื่อเป็นตัวแทนแห่งพระองค์ท่าน เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ราษฎร
5. วัดประจำรัชกาลที่ 10 วัดวชิรธรรมสาธิตวรวิหาร (วัดทุ่งสาธิต)
วัดนี้เดิมทีคหบดีชาวลาวเป็นผู้สร้างเมื่อประมาณ พศ.2399 เล่ามาว่าเป็นวัดร้างมาก่อนชาวลาวท่านนี้อพยพมาสมัยเวียงจันทร์แตก หลังจากคหบดีท่านนี้ถึงแก่กรรมวัดนี้เลยร้างเนื่องจากไม่มีใครอุปถัมป์ ประกอบกับเจ้าอาวาสองค์สุดท้ายมรณภาพลง เลยไม่มีใครสืบสาน และก็สมัยก่อนนั้นวัดนี้อยู่ห่างไกลความเจริญ เป็นทุ่งนาส่วนใหญ่
เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2508 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์ (พระยศในขณะนั้น) รับวัดทุ่งสาธิตไว้ในพระอุปถัมภ์ เป็นอารามหลวงได้พระราชทานนามว่า วัดวชิรธรรมสาธิตวรวิหาร
ที่มา : จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี และชมรมคนรักนายหลวง lifestyle.campus-star.com และ www.bloggang.com
โฆษณา