Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Zero to Profit
•
ติดตาม
15 ธ.ค. 2022 เวลา 13:00 • ธุรกิจ
รู้จักเงินกู้ยืมกรรมการคืออะไร? มาจากไหน และแก้ไขยังไงบ้าง?
ถ้าใครเป็นเจ้าของธุรกิจ SMEs เวลาดูงบการเงินแต่ละปีแล้วเจอคำว่า “เงินกู้กรรมการ” หรือมักได้ยินคำนี้จากนักบัญชีบ่อยๆ ขอให้รู้ไว้เลยว่าเราอาจจะมีปัญหาตามมาในอนาคต ถ้าไม่ได้มีการกู้ยืมกันจริงๆ
เงินกู้ยืมกรรมการคืออะไร มีแล้วจะเกิดปัญหาตามมาแบบไหน และสุดท้ายจะแก้ไขอย่างไรได้บ้าง ลองมาเรียนรู้ในโพสนี้พร้อมๆ กันจ้า
เงินกู้ยืมกรรมการคืออะไร?
ปกติแล้วคำว่า “เงินกู้กรรมการ” แบ่งออกเป็น 2 หมวดที่ต่างกัน คือ อันนึงเป็นหนี้สิน อีกอันนึงเป็นสินทรัพย์ของบริษัท
เงินกู้ยืมกรรมการ หมายถึง บริษัทได้กู้ยืมเงินจากกรรมการ (บุคคล) จำนวนเท่าใด เงินจำนวนนี้จะถือว่าเป็นหนี้สินของบริษัท และกรรมการ (ที่เป็นบุคคล) นั้นเป็นเจ้าหนี้บริษัทนั่นเอง
เงินให้กู้ยืมกรรมการ ความหมายกลับกันคือ บริษัทได้ให้เงินกู้ยืมเงินแก่กรรมการ (บุคคล) เงินจำนวนนี้จะถือว่าเป็นสินทรัพย์ของบริษัท และกรรมการ (ที่เป็นบุคคล) นั้นเป็นลูกหนี้บริษัทนั่นเอง
โดยหลักการแล้ว ทั้งเงินกู้และเงินให้กู้นั้นไม่มีทางหายไปจากงบการเงิน โดยที่ไม่คืนเงินกัน
ตัวอย่างง่ายๆ ถ้าเราให้เพื่อนยืมเงินแล้ว ก็ต้องจ่ายคืนกันเสมอใช่ไหมคะ (แม้ว่าพวกเค้าจะจ่ายช้าก็ตาม) บริษัทก็เช่นกัน เมื่อมีการกู้หรือให้กู้ระหว่างกัน รายการพวกนี้ไม่มีทางหายไปจนกว่าจะคืนเงินกันค่ะ
ไม่เคยกู้ยืมกันจริงแต่มีรายการนี้ได้อย่างไร?
ถ้าตัดเรื่องของการกู้ยืมกันแบบจริงจังที่มีการทำสัญญาระหว่างบริษัทและกรรมการออกไป ก็ยังมีสาเหตุอื่นๆ อีกที่ทำให้นักบัญชีต้องบันทึกรายการเงินกู้ยืมกรรมการในงบการเงินทั้งที่ไม่ได้ตกลงกู้กันจริงๆ ตามนี้
เงินกู้ยืมกรรมการ
• เงินสดเข้าบัญชีบริษัท แต่ไม่มีที่มาที่ไป
• เจตนาหลบรายได้ มีเงินเข้าบริษัทแต่ไม่ออกบิลขาย
เงินให้กู้ยืมแก่กรรมการ
• เงินสดออกจากบัญชีบริษัท แต่ไม่มีที่มาที่ไป
• บริษัทควรได้รับชำระค่าหุ้นตามที่จดแจ้ง แต่ไม่ได้รับเงินสดจริง
เงินกู้ยืมกรรมการที่ไม่มีอยู่จริง มีข้อเสียยังไง?
เงินกู้ยืมกรรมการ
1. มีปัญหาเวลาขอสินเชื่อธนาคาร ฐานะการเงินบริษัทไม่ดี หนี้สินเยอะ
2. กรณีเป็นการกู้ยืมจริง – บริษัทต้องทำเอกสารและจ่ายชำระเงินคืนในอนาคต
3. กรณีเจตนาหลบรายได้ – เมื่อโดนตรวจสอบ เงินก้อนนี้สรรพากรตีเป็นรายได้ และต้องจ่ายภาษีย้อนหลัง
เงินให้กู้ยืมแก่กรรมการ
1. มีปัญหาเวลาขอสินเชื่อธนาคาร ธนาคารสงสัยว่าทำไมอยากได้สินเชื่อ ทั้งที่มีเงินเหลือให้คนอื่นยืม
2. กรรมการเป็นหนี้ต้องคืนเงินบริษัทในอนาคต
3. ทางภาษีต้องคิดดอกเบี้ยระหว่างกัน และเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล กับภาษีธุรกิจเฉพาะ
4. เข้าข่ายจดแจ้งบริษัทแก่เจ้าหน้าที่เท็จ จดและชำระเงินทุนไม่ตรงตามจริง
วิธีแก้ไขทำยังไง?
ถ้าอยู่ดีๆ เจ้าของธุรกิจเช็คงบการเงินแล้วเจอเงินกู้ยืมระหว่างกันแบบที่เราไม่รู้ตัว จุดเริ่มต้นอาจเกิดจากตัวเราเองที่พลาดไม่ได้แยกเงินส่วนตัวและธุรกิจอย่างชัดเจนค่ะ ทีนี้วิธีแก้ไขเราต้องเริ่มต้นจากอะไรบ้าง ให้ลองทำตามลำดับนี้
1. แยกกระเป๋าบัญชีธุรกิจ กับ บัญชีส่วนตัวกรรมการ
2. เบิกเงินกู้ยืมระหว่างกัน >> ทำสัญญาเสมอ และต้องคืนเงินกันจริง
3. เงินออก ไม่มีเอกสาร >> ต้องเก็บเอกสารมาบันทึกค่าใช้จ่ายให้ครบถ้วน
4. เงินเข้า ไม่มีเอกสาร >> รีบตรวจเช็คแหล่งที่มา และถ้าเป็นรายได้ต้องออกใบเสร็จรับเงินบันทึกบัญชีรายได้ให้เรียบร้อย
ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องที่ต้องรู้เกี่ยวกับเงินกู้ยืมกรรมการ ไม่ว่าจะเกิดจากความตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ เมื่อมีเงินกู้ยืมกรรมการในงบการเงินแล้ว รู้ไว้เลยว่าต้องมีเอกสาร และคืนกันเสมอ ฉะนั้น เอกสารที่ชัดเจน และการบันทึกบัญชีที่ถูกต้องตามความจริงจะช่วยป้องกันปัญหาที่จะเกิดกับธุรกิจในอนาคตได้ค่ะ
#zerotoprofit #เงินกู้ยืมเงินกรรมการ #เงินให้กู้ยืมกรรมการ
ทำบัญชีอย่างถูกต้อง ลดปัญหาเรื่องเงินกู้ยืมเงินกรรมการ ปรึกษาเราที่นี่
Line: @zerotoprofit หรือ
https://lin.ee/36U1ks0Y
ติดตาม Zero to Profit ได้ที่
Website:
https://zerotoprofit.co
13 บันทึก
8
23
13
8
23
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย