Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
วิรติ กีรติกานต์ชัย
•
ติดตาม
13 ธ.ค. 2022 เวลา 08:48
ฝนดาวตกเจมินิดส์ Geminids Meteor Shower
ฝนดาวตกคนคู่หรือ Geminids meteor shower 14 ธันวาคม 2021 ณ หอสังเกตการณ์ดาราศาสตร์วิทยุ อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่
ต้นกำเนิดจากดาวเคราะห์น้อย 3200 Phaethon มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ย 5.8 กม. ที่มีคาบโคจรรอบดวงอาทิตย์ประมาณ 523.6 วัน(1.434 ปี) ดาวเคราะห์น้อย 3200 Phaeton โคจรเป็นวงรีผ่านเส้นทางโคจรของโลกโดยทิ้งสะเก็ดดาวคือฝุ่นและหินไว้ ทุกๆปีในช่วงเดือนธันวาคม โลกจะโคจรมาถึงบริเวณแถบสายธารของสะเก็ดดาวเหล่านี้ แรงดึงดูดของโลกมีผลให้สะเก็ดดาวตกลง เผาไหม้เป็นแสงวาบที่เรียกกันว่า ฝนดาวตกนั่นเอง
เวลาพีคในประเทศไทยจะเป็น 19:00-23:00 น. วันพุธที่ 14 ธันวาคม 2565
ราววันที่ 13-14 ธันวาคมของทุกปีจะเป็นช่วงเวลาที่โลกอยู่กลางสายธารสะเก็ดดาว เป็นช่วงฝนดาวตกที่มีอัตราการตกสูงสุด 100-150 ดวงต่อชั่วโมง
ฝนดาวตกเจมินิดส์เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นปกติ ความน่าตื่นเต้นคือภาคสังเกตการณ์ที่เราเฝ้ารอคอย นับดาว อธิษฐานและบันทึกภาพเส้นสว่างตั้งแต่ขีดเล็กๆไปจนถึงเส้นแสงสว่างดวงโตพุ่งผ่านท้องฟ้า ที่อาจได้ยินเสียงและควันจากการเผาไหม้
Babak Tafreshi is a professional astroimager who got lucky on December 13, 2020. He was posing on a rock and gazing northward over the ocean when this Geminid fireball burst into view. Babak Tafreshi
ชื่อฝนดาวตกทุกชุด ได้มาจากชื่อกลุ่มดาวอ้างอิงพื้นหลัง(ที่มีตำแหน่งคงที่เมื่อสังเกตการณ์จากพื้นโลก) ในดาวตกชุดนี้มีศูนย์กลางการกระจาย(Radient) ที่กลุ่มดาวคนคู่ Gemini เป็นพื้นหลัง จึงได้ชื่อเรียกตามกลุ่มดาวอ้างอิงนี้ เจมินิดส์ Geminids นั่นเอง ฝนดาวตกทุกชุดจะมีชื่อลงท้ายเป็น -อิดส์ ids
ปีนี้ ช่วงเวลาที่ดีอยู่ระหว่าง 19:00-23:00 น.ซึ่งเป็นช่วงก่อนดวงจันทร์ขึ้น หลังจากเวลาดังกล่าวมีแสงจันทร์รบกวน จะเห็นเฉพาะลูกโตสว่างเท่านั้น (ดวงจันทร์สว่าง 70 %) นักถ่ายภาพอาจใช้ช่วงเวลาหลังเที่ยงคืนในการบันทึกภาพฉากหน้า
การดูฝนดาวตกให้สนุกควรมองไปที่ศูนย์การกระจายคือกลุ่มดาวคนคู่ ที่ดาวเอก(อัลฟา) คือ พอลลักซ์ Pollux และคาสเตอร์ Castor ไม่เปลี่ยนทิศบ่อย เพราะจะไม่ทันกับความเร็วของเส้นแสงที่พุ่งมาด้วยความเร็วกว่า 50 กม.ต่อวินาที
เทคนิคการถ่ายภาพฝนดาวตก
ทิศ
เล็งศูนย์กลางกระจาย Radient (ใช้แอพ Sky Portal หรือแผนที่ดาวตัวอื่นๆช่วย)
ช่วงเวลา
19:00-24:00 น.(เผื่อฉากหน้า)
สถานที่
มืดสนิท เปิดโล่งทางทิศตะวันออก-เหนือ-ตะวันตก
อุปกรณ์
กล้อง DLSR / Mirrorless / Smartphone
เลนส์มุมกว้าง / มุมแคบ *สว่างสูง
ขาตั้งกล้องที่มั่นคง
สายลี่นชัตเตอร์/Remote Timer
เมมโมรี่การ์ดความจุสูง
Dew heater
แบตเตอรี่สำรอง
ฐานตามดาวแบบ Equatorial *option
แบบจำลองการกระจายตัวของอนุภาคฝุ่นและหินที่ปรากฏในชั้นบรรยากาศโลก
เทคนิคการตั้งค่ากล้อง
-Exposure 15-30 วินาที เน้นดาวนิ่งไม่ยืด ใช้มอเตอร์ตามดาวก็ตามนี้
-ISO สูง 3200-6400 พิจารณาฉากหน้าและความมืดประกอบ ยิ่งมืดยิ่งมีโอกาสเห็น/ถ่ายติดได้มาก
-เล็งและล๊อกเฟรมภาพที่ Radient จะได้เส้นแสงวาบออกจากกลุ่มดาวคนคู่ หากมีกล้องหลายตัวสามารถลองเลนส์ช่วงต่างๆกันรวมทั้งทิศอื่นๆ
-บันทึกภาพต่อเนื่องไม่เว้นเวลา no interval
-เก็บภาพฉากหน้าหลังจากดวงจันทร์ขึ้นเพื่อเปิดฉากหน้า
-WB 4000-5000 ให้ดูสีดาวอ้างอิงตรงตามจริง เช่นดาวอังคารควรติดแดง ตาวัว อัลดิบาแรนควรมีแดงส้ม กระจุกดาวลูกไก่ควรมีสีน้ำเงินออกฟ้าเป็นต้น
เทคนิคการโพรเซสภาพ
-Foreground Stacking รวมสัญญาณฉากหน้าจากการบันทึกภาพ 10-15 ภาพ
-Background / Star Stacking รวมสัญญาณฉากหลังจากการบันทึกภาพ 10-15 ภาพหรือมากกว่านั้น เพื่อจะได้ไฟล์และรายอะเอียดภาพที่ประกอบด้วยวัตถุท้องฟ้าพื้นหลังที่น่าสนใจมากมาย
-เลือกวางเส้นฝนดาวตก ณ ตำแหน่งตามจริง โดยใช้ เครื่องมือ Mask Layer และ Blending mode ใน Adobe PS
ปีนี้ผมไม่ได้จัดกิจกรรมเอง เนื่องจากมีภารกิจที่อช.ดอยอินทนนท์ แต่เพื่อนๆสามารถเข้าร่วมกิจกรรมโดยสถาบันวิจัยดาราศาสตร์และเครือข่ายทั่วประเทศ สำหรับจ.เชียงใหม่เชิญที่อ่างเก็บน้ำห้วยลาน อ.สันกำแพงครัับ
รอชมภาพและเรื่องราวจากเพื่อนๆครับ
ดาราศาสตร์
ถ่ายภาพ
ถ่ายภาพดาราศาสตร์
บันทึก
1
1
1
1
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย