15 ธ.ค. 2022 เวลา 03:00
การได้งานที่ Google ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่คำแนะนำจาก Recruiter ในการเขียนเรซูเม่ของ Google โดยตรงอาจสามารถช่วยเป็นแนวทางในการสมัครงานที่ Google และที่อื่นได้
เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา Recruiter ทีมโปรแกรมมหาวิทยาลัยจาก Google อย่าง Katarzyna Kamińska และ Emily Salkey ได้แบ่งปันเทคนิคการเขียนเรซูเม่ให้กับผู้ที่เพิ่งสำเร็จการศึกษา
เด็กจบใหม่คนไหนที่ไม่รู้ว่าจะเขียนเรซูเม่อย่างไรดีเพราะไม่มีประสบการณ์การทำงานมาก่อน ควรอ่านเทคนิคจากผู้เชี่ยวชาญต่อไปนี้และนำไปใช้ เพื่อช่วยสร้างใบสมัครงานที่จะสามารถแข่งขันกับผู้อื่นได้
🟥 1. ประสบการณ์เป็นสิ่งที่ ‘ต้องมี’
Kamińska กล่าวว่า นายจ้างกำลังมองหาข้อมูลที่มีความเฉพาะเจาะจง โดยเฉพาะประสบการณ์ที่ผ่านมาของคุณ แต่ไม่ได้หมายความว่าจะต้องมีประสบการณ์ฝึกงานหรือการทำงานมากมาย
ประสบการณ์มีหลายรูปแบบ ตัวอย่างเช่น ถ้าสมัครงานในตำแหน่งสายเทคฯ Recruiter จะดูความรู้เกี่ยวกับภาษาโปรแกรม ซึ่งอาจจะเป็นโปรเจกต์ กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง Hackathons หรืองานวิจัยที่เข้าร่วมก็สามารถใส่ในเรซูเม่ได้หมด
นอกจากนี้ยังควรใส่วันจบการศึกษาด้วย แต่ถ้ายังเรียนอยู่และไม่รู้ว่าวันสำเร็จการศึกษาคือวันไหน ให้ใส่วันที่คาดว่าจะสำเร็จการศึกษา
🟥 2. ไม่มีรูปแบบเรซูเม่ไหนที่สมบูรณ์แบบ
Recruiter ใช้เวลาในการดูเรซูเม่แค่ 30-40 วินาที ดังนั้น ควรทำเรซูเม่ให้ชัดเจนและกระชับ Kamińska แนะนำว่าควรเป็น PDF ที่ไม่เกิน 2 หน้า
สำหรับ Google แล้วไม่มีเทมเพลตเรซูเม่ตายตัวที่ทางบริษัทคิดว่าผู้สมัครงานควรใช้ ทุกคนสามารถใช้เทมเพลตใดก็ได้ที่สะดวกและสามารถถ่ายทอดข้อมูลสำคัญได้อย่างรวดเร็ว
🟥 3. โชว์ทักษะที่ถ่ายทอดได้ (Transferable skills)
การโชว์ให้รู้ว่าคุณเป็นคนแบบไหนเป็นสิ่งที่ดี เช่น ประสบการณ์อาสาสมัคร รางวัล หรือทักษะที่สามารถถ่ายทอดได้ที่คุณภูมิใจ
ทักษะที่ถ่ายทอดได้อาจมาจากงานที่เคยทำ กิจกรรมอาสา หรืออื่นๆ ตัวอย่างเช่น ถ้ากำลังทำงานในธุรกิจค้าปลีก (Retail) อะไรคือสิ่งที่คุณได้รับจากการทำงานนี้และคุณจะนำไปใช้กับงานใหม่ได้อย่างไร
🟥 4. ใช้ ‘สูตร X-Y-Z’ เพื่อเน้นทักษะ
Laszlo Bock อดีตรองประธานฝ่ายปฏิบัติการของ Google เป็นผู้บุกเบิกการใช้สูตร X-Y-Z เพื่อเน้นทักษะในเรซูเม่ ซึ่งย่อมาจาก Accomplished [X] as measured by [Y] by doing [Z].
วิธีนี้เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากในการแสดงว่า ประสบการณ์นั้นคุณทำอะไร ทำไมถึงทำ และมันมีอิมแพ็คอย่างไร
การใช้ตัวเลขก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่จะทำให้แสดงถึงอิมแพ็คได้เป็นอย่างดี ตัวอย่างเช่น
คุณอาจเขียนในเรซูเม่ว่า “เข้าร่วม Hackathon ทำงานในโปรเจกต์จดจำใบหน้า”
แต่สิ่งที่คุณเขียนข้างต้นไม่ได้โชว์ทักษะทางเทคนิค (Technical skills) และไม่แสดงให้เห็นถึงอิมแพ็คในสิ่งที่คุณทำ ตัวอย่างที่ดีกว่าคือ
“ได้รับรางวัลรองชนะเลิศจากทั้งหมด 40 ทีมใน Hackathon จากการสร้างซอฟต์แวร์จดจำใบหน้าที่ช่วยตรวจจับอารมณ์ของมนุษย์ โดยใช้ Python และ Java”
นี่เป็นตัวอย่างที่ดีที่จะทำให้ Recruiter เห็นอย่างชัดเจนว่าทำไมสิ่งที่คุณทำถึงมีความสำคัญ และเน้นทักษะทางเทคนิค ซึ่งก็คือการเขียนโค้ด
นอกจากนี้ยังมีข้อผิดพลาดทั่วไปที่ควรหลีกเลี่ยงในการเขียนเรซูเม่ที่ผู้เชี่ยวชาญแนะนำ เช่น การโกหกเกี่ยวกับประสบการณ์ การใช้ Present tense กับงานในอดีต และการใช้คำว่า “Phone” นำหน้าหมายเลขโทรศัพท์
อ่านบทความได้ที่ : https://bit.ly/3j2gmdN
มาร่วม CONNEXT THE DOT ก้าวสู่โลกการทำงานอย่างมั่นใจไปด้วยกัน

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา