17 ธ.ค. 2022 เวลา 12:00 • ประวัติศาสตร์
#ผ้าอนามัย Kotex Pads ในอดีตกับตำนานการใช้สุดทึ่ง
Kotex เป็นบริษัทแรกที่โฆษณาผลิตภัณฑ์อนามัยในนิตยสารและหนังสือพิมพ์สำหรับสตรีในปี 1920 ทว่าความนิยมของแนวคิดนี้ กลับเกี่ยวข้องกับการผลิตเยื่อไม้ (Cellucotton) จำนวนมากหลังสงคราม ซึ่งพัฒนาขึ้นในช่วงสงครามเพื่อจัดการกับปัญหาการขาดแคลนฝ้าย
เกินคาด
เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลง ผู้ผลิตกระดาษ Kimberly-Clarke ซึ่งเคยผลิตตัวกรองหน้ากากป้องกันแก๊สพิษในรายการสินค้าที่ชื่อว่า Cellucotton
ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่ช่วยดูดซับและป้องกันแก๊สพิษได้ออกสู่ตลาด
และในช่วงสงครามนอกจากการสร้างกระดาษทิชชู่แล้ว บริษัทยังเริ่มทำการตลาดให้ Cellucotton ใช้เป็นแผ่นอนามัยสำหรับผู้หญิง ซึ่งผลิตภัณฑ์นี้ถูกใช้ในรูปแบบที่ต่างออกไป
รายงาน
หลังจากที่ American Fund for French Wounded แจ้งว่าพวกเขาได้รับจดหมายจากพยาบาลกองทัพบก อ้างถึงผลิตภัณฑ์ Cellucotton ว่าพวกเขาใช้ Cellucotton เป็นผ้าปิดแผลป้องกันเชื้อโรคชั่วคราว ซึ่งได้ผลดีมาก” นักประวัติศาสตร์ Thomas Heinrich และ Bob Batchelor เขียนในรายงานการศึกษาประวัติศาสตร์ของพวกเขา
ก่อนที่ผ้าอนามัย Kotex จะออกสู่ตลาดในปี 1921 ผู้หญิงจำนวนมากต้องพึ่งพาผ้าอนามัยแบบโฮมเมดหรือซื้อตามร้านค้า แต่เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว แผ่นรอง Kotex มีน้ำหนักเบา บาง และดูดซับได้ดีกว่าผ้าพันแผลผ้าฝ้ายถึงห้าเท่า ทั้งยังมีราคาไม่แพงมาก
ผลิตภัณฑ์ใหม่นี้เปลี่ยนวิธีจัดการการมีประจำเดือนของผู้หญิงไปได้อย่างรวดเร็ว ด้วยเหตุนี้บริษัทจึงกลายเป็นผู้รับผิดชอบหลักในการทำให้ ผู้หญิงที่มีประจำเดือนยอมรับ ซึ่งบริษัทก็ทำได้ทั้งยังกลายเป็นกระแสนิยมอีกด้วย
ความลับ
ในการวิจัยของ Roseann Mandziuk นักวิชาการด้านการสื่อสารพบว่าโฆษณาแผ่นอนามัย Kotex ในช่วงแรก ๆ ใช้ประโยชน์จากความอับอายของผู้หญิงในช่วงมีประจำเดือน
Mandziuk กล่าวว่า "พวกเขาเอาความวิตกกังวลของผู้หญิงที่ต้องการเข้ากับวัฒนธรรมสมัยใหม่ และความสับสนมากมายเป็นเครื่องมือ นอกจากนี้พวกเธอยังต้องซ่อนผ้าอนามัยให้มิดชิดขึ้น เพื่อไม่ให้ความลับนี้รบกวนจิตใจผู้ชาย”
โชคดีที่ปัจจุบันผู้หญิงมีตัวเลือกมากมายในการจัดการกับประจำเดือน ตั้งแต่ถ้วยประจำเดือนไปจนถึงชุดชั้นในที่ออกแบบมาเป็นพิเศษ นอกจากนี้มลทินเกี่ยวกับประจำเดือนของผู้หญิงก็ค่อย ๆ สลายหายไป
“หลายครั้งการไม่รู้ ก็ช่วยให้เราค้นพบสิ่งใหม่ได้ง่ายขึ้น”
A Kotex newspaper advertisement from 1920
ติดตามเรื่องเล่าจากดาวนี้เพิ่มเติมได้ที่
 
หากชื่นชอบก็อย่าลืมกด Like กด Share เพื่อเป็นกำลังใจให้กันด้วยนะคะ สามารถแชร์แนวคิด มุมมองดีๆได้ใน Comments นี้เลย
 
#เรื่องเล่าจากดาวนี้
โฆษณา