Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ก
แกะรอยยุทธจักร Astro Trading
•
ติดตาม
15 ธ.ค. 2022 เวลา 08:52 • หุ้น & เศรษฐกิจ
บทที่ 4 the Universal Clock ตอน 2/3
มาเริ่มกันที่ตัวอย่าง ใน chart1b เป็น Soybean November 1987
Chart1B
ขั้นแรกก็หาช่วงราคาในอดิตก่อน ราคาตั้งแต่แต่เดือน april ถึง August อยู่ในช่วง 500 ถึง 625 ซึ่งตัวเลขในช่วงราคานี้คือสิ่งที่เราต้องใส่ในวงกลมส่วนนอก ซึ่ง 481 เป็นตัวเลขที่ใกล้กับ 500 ที่สุด ดังนั้นก็เริ่มที่ 481 เลย ก็จะได้ตามรูป Figure 7 บังเอิญว่า 625 ตกตัวแรกพอดี ก็เลยต้องไปเพิ่มให้อีก 1 วง พอคุณเริ่มฝึกทำไปเรื่อยๆ ก็จะพบว่า วงกลมเวลา หรือวงกลมด้านใน มันไม่เคยเปลี่ยน ดังนั้นเวลาทำจริงๆ เราทำแค่วงกลมราคาด้านนอกก็พอ
Figure 7
คุณ long แนะนำว่า ถ้าเราใส่สีด้วยก็จะช่วยได้เยอะ ในรูปที่ Figure 7 เป็นแบบว่างๆไม่ได้ลงรายละเอียด เอาไว้ใช้กับตัวอื่นได้อีก ส่วนรูปที่ Figure 8 ก็จะเริ่มลงรายละเอียดในวงกลมแล้ว
Figure 8
Chart1B จากบทที่ 1 , Soybean 1987 ลองเอาช่วงราคาของ Date1 กับ Date2 มาระบายสีลงในช่วงกันเลย
Date1 price range = 539-554
Date1 price range = 544-549
เราจะเห็นช่วงราคาที่เกิดการ overlp กันขึ้นซึ่งเป็นจุดที่สำคัญมาก ซึ่งคุณอาจจะงงว่าจริงๆดูในกราฟก็เห็นการ overlap กันแล้ว เอามาลงในวงกลมให้เมื่อยตุ้มทำไม
ก็ให้ลองดูอีกตัวอย่างคือ Chart10A และ Figure 9 ก็จะพบคำตอบ
จากรูปถ้าดูจากกราฟคุณจะไม่เห็นการ overlap กันของราคาหรอก แต่คำตอบของการ overlap กันอยู่ใน วงกลม Figure 9
Date 1 price range = 599-609
Date 2 price range = 557-565
คุณจะเห็นการ overlap กันเกิดขึ้น เพียงแต่ว่าอยู่ในวงกลมคนละชั้นเท่านั่นเอง ดังนั้นเนี่ยแหละ แบบนี้ก็เรียกว่า overlap กันของราคานะ เพียงแต่ว่า date2 แค่กระโดดไปเทรดที่ราคาอีก octave หนึ่งเท่านั่นเอง
[นึกถึง doremi... มี โดต่ำกับโดสูง นั่นแหละๆ]
อย่างราคา 24,48,72 cent ถือว่าเป็นราคาเดียวกัน พูดสรุปก็คือ Date1 กับ Date2 ไพ่อาจจะมีการกระโดดขึ้น กระโดดลงได้ตาม Harmonic แล้วอะไรคือตัว Trigger
ให้เกิดการกระโดดขึ้นลง คำตอบก็คือ Planetary Timers!
Chart10A
Figure9
KEY number for commodities and stocks
ตอนนี้เราก็รู้แล้วตัวตัวเลขสำคัญของ Soybean ก็คือ 24 และคุณก็จะพบว่าเลข 24 เป็น key number ของทุกๆตลาด เมื่อตลาดไหนก็ตามเคลื่อนไหว 24 point ไม่ว่าจะขึ้นหรือลง ราคาก็จะเท่ากับวนกลับมาที่เดิม
แต่ที่นี้ต้องอย่าลืมว่า 24 นี่เป็นตัวเลขที่ weighted แล้วนะ เพราะไม่งั้นบางตลาด ราคาขึ้นไป 24 point อาจจะน้อยมากก็เป็นไปได้ อย่าง bitcoin เป็นต้น
แล้วที่นีจะเราจะ weight อย่างไง เค้าก็มีกฏทั่วไปบอกว่า เลข 24 เนี่ยจะใช้ได้ดีกับตลาดที่วิ่งอยู่ในช่วงราคา 450-700. ถ้ากรณีที่ตลาดวิ่งอยู่ที่ 250-450 ก็จะใช้เลข 12 แทน(24/2) และถ้าเป็นช่วง 50-250 ก็จะใช้เลข 6 (24/4)
กรณี Dow Jone ตอนนี้เทรดอยู่ในช่วงราคา 3500 ก็ะจะใช้เลข 240(24x10)
สมมติ bitcoin 20000 ก็น่าจะใช้ เลข 600 (อันนี้ตามไกด์ไลน์ที่หนังสือให้ไว้ แต่ผมคิดว่าใความเป็นจริง 600 น้อยไป btc เหวี่ยงวันหนึ่งก็แรงมาอาจจะต้องไปใช้ตัวเลขที่ 6000 เลย เดี๋ยวมาว่ากันภาคปฏิบัติจริงอีกที)
The price wheel and the S&P
Chart10B
โดยปกติ ในวันที่เรามารค์วันเพื่อทำนายราคา ก็ควรจะอยู่ในช่วง บวกลบ 12 Points แต่ก็มีเหมือนกันที่ราคากระโดด harmonic ไป 24 หรือ 36. ใน Chart10B เป็นตัวอย่างที่ดี การเคลื่อนไหวของราคาในวันที่ 12/6 กับ 1/5 เท่ากับส่วนต่าง 36 point จากภาพลองเช็คดู 12/6 = 388+36 = 424 แล้วลองดูราคาในวันที่ 1/5 high เท่ากับ 424 พอดี
เนื่องจากราคา S&P ทำงานในช่วงหน่วยของ 12 สังเกตว่า เมื่อไหร่ก็ตามที่เราทำนายราคาไว้ที่ 12 point หรือ 36 point ราคาจะตกอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามกันเสมอ และถ้าเป็น 24 ก็จะเกิดการ overlap กันของตำแหน่งในวงกลม
ลองดูตัวอย่างใน Figure 10 ให้เราวงกลมราคา high และ low ของวันที่ 12/6 ซึ่งก็คือ 381 and 388 ลากเส้นเชื่อมกน
แล้วก็ วันที่ 1/5 422 and 425 ลากเชื่อมกัน
จะเห็นว่าราคาของทั้งสองวัน อยู่ตรงกันข้ามกันพอดี
ซึ่งเป็นอะไรที่สมบูรณ์แบบในทางคณิตศาสตร์มากๆ
Figure10
Families of planetary aspect as related to the price wheel
Sun/Jupiter เป็นดาวสองดวงที่เอามาใช้ในการเกิดการซ้ำกันของราคา
ในช่วง 1 ปี จะเกิดการทำมุมกัน 12 ครั้ง
เพือความง่าย จะขอเรียกกลุ่ม aspect ที่ trine กันว่า เผ่า Trines
และมุมฉากว่า เผ่า Square ที่ผ่านมาเราได้เปรียบเทียบราคากันแต่เฉพาะ สองวัน
ยังไม่เคยมาวิเคราะห์กันว่าแต่ละเผ่าต่างกันอย่างไร
Chart10C
มาเริ่มกันที่เผ่า Trine (มุม 120)
จารรูป Chart10C จะเกิดการ Trine ที่
12/5 Price= [332.5, 338] และ
3/24 Price = [370,374.5]
วงกลมราคาตามรูปที่ Figure 11 จะเห็นว่า ช่วงราคาอยู่ตรงข้ามกันพอดีเลย
จาก Chart10D 1/5 Price = [418,422] ราคาชนกันพอดี
Chart10D
การที่เผ่า Trine จะมีการกระโดรของราคา 36 point ถึงสองครั้งนี่เป็นเรื่องปกติ และไม่ใช่เรื่องบังเอิญ ลองเอาอันนี้เป็น guide line ในการ predict
1. หา ช่วงราคาของ date1 จะได้ ช่วงราคาของ date2 ซึ่งบอกได้เลยว่าความน่าจะเป็นสูงมากๆ
2. ให้ note ไว้ว่า date2 ที่เราจะกำลัง predict เป็นเผ่าไหน แล้วให้ย้อนไปดู ย้อนหลังอีก 3 วันที่เป็นเผ่าเดียวกัน แล้วดูว่ามีแนวโน้มความสัมพันธ์อย่างไรบ้าง
Figure11
ถึงตอนนี้ คุณอาจจะรู้สึกว่าการ predict เริ่มจะซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆแหละ ซึ่งแค่ทำตามในบทนี้ก็เชื่อว่า ความแม่นยำจะอยู่ที่ประมาณ 70 % แล้ว ซึ่งในบทต่อไป ขอให้คุณอดทนลงแรงขึ้นอีกหน่อย ความแม่นยำก็จะเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน
[บทนี้ยังไม่จบนะ เดี่ยวมาต่อกันอีก 1 ตอน]
Figure12
cryptocurrency
การลงทุน
หุ้น
2 บันทึก
2
1
2
2
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย