17 ธ.ค. 2022 เวลา 02:00 • ครอบครัว & เด็ก
เด็กก็จับโกหกได้นะ!
การโกหกเป็นเรื่องที่ไม่ดีและอาจโดนลงโทษได้ แต่หากคำโกหกนั้นไม่ได้มีเจตนาที่ไม่ดีล่ะ เด็กๆ จะเข้าใจจุดประสงค์มั้ย?
(Source: Marc Dufresne)
งานวิจัยที่นำมาเผยแพร่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Cognitive Development ฉบับที่ 60 ในปี 2021 ค่ะ
เราสามารถแบ่งเจตนาการโกหกเป็น 2 ประเภทคือ 1. แบบเอื้อสังคม (prosocial) และ 2. แบบต่อต้านสังคม (antisocial) ซึ่งสามารถอธิบายเพิ่มเติมได้ดังนี้ค่ะ
การโกหกแบบต่อต้านสังคมมีเพื่อปกปิดความผิดและหลีกเลี่ยงการถูกลงโทษ ในขณะที่การโกหกแบบเอื้อสังคมมีเพื่อปกป้องความรู้สึกผู้ฟังหรือเพื่อหลีกเลี่ยงการบาดเจ็บ
การตัดสินคำโกหกของเด็กไม่เพียงแค่สะท้อนถึงศีลธรรมของพวกเขา แต่ยังแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการด้านความคิดอันนำไปสู่การเสริมสร้างความรู้ทางสังคมในด้านอื่นๆ ด้วย
งานวิจัยชิ้นมีเพื่อสำรวจการรับรู้และการประเมินคำโกหกในกลุ่มเด็กอายุ 7-11 ปี โดยคำโกหกท้ัง 2 ประเภทถูกสร้างโดยคุณครูของพวกเขาจากเรื่องราวทั่วไปในชีวิตประจำวัน จากนั้นทั้งคุณครูและเพื่อนจะเป็นคนบอกคำโกหกให้กลุ่มผู้ทดลองฟังเอง
ผลการวิเคราะห์ชี้ให้เห็นว่า เด็กอายุ 7-11 ปี สามารถแยกแยะการโกหกแบบเอื้อสังคมออกจากการโกหกแบบต่อต้านสังคมได้
พวกเขายังทราบด้วยว่าการโกหกทั้งสองประเภทไม่ได้มีเจตนาลบไปเสียทั้งหมด และพวกเขามีมุมมองด้านบวกต่อการโกหกแบบเอื้อสังคมค่ะ
(Source: Deagreez)
งานวิจัยยังพบอีกว่า อายุ แรงจูงใจ และประเภทการโกหกส่งผลต่อการรับรู้การโกหก โดยกลุ่มผู้ทดลองสามารถประเมินประเภทการโกหกแบบต่อต้านสังคมได้ถูกต้องกว่า และรับรู้คำโกหกประเภทนี้ได้อย่างแม่นยำ
นี่แสดงให้เห็นว่าเมื่อเด็กๆ ได้รับคำโกหกแบบต่อต้านสังคม พวกเขาสามารถรับรู้ถึงเจตนาของผู้พูดได้ว่าขัดต่อหลักความเป็นจริงอย่างง่ายดาย
นอกจากนี้ กลุ่มทดลองยังมีแนวโน้มความเชื่อว่าการโกหกแบบเอื้อสังคมไม่นับเป็นการโกหก เนื่องจากคำโกหกนั้นเป็นการป้องกันผู้ฟังไม่ให้รับรู้ความจริงที่เจ็บปวด นั่นแปลว่าผู้โกหกมีเจตนาที่ดีและไม่ถือเป็นคำลวงหลอกแม้ว่าจะขัดกับความจริงก็ตาม
ในงานวิจัยมีการพูดถึงงานเก่าๆ ไว้ดังนี้ด้วยค่ะ
🔹 ในประเทศจีน เด็กที่โกหกแบบเอื้อสังคมจะไม่ถูกทำโทษเหมือนกับคนที่โกหกแบบต่อต้านสังคม และยังได้รับการสนับสนุนและส่งเสริมจากผู้ปกครองและคุณครูด้วย
🔹 การโกหกของพ่อแม่สร้างผลลัพธ์ด้านศีลธรรมและสังคมในแง่ลบให้แก่ลูก
🔹หากเด็กในวัยเรียนได้รับคำโกหก มันจะกระตุ้นในพวกเขามีพฤติกรรมขี้โกงได้
🔹เด็กเชื่อคำโกหกของเพื่อนมากกว่าคุณครู
อ้างอิงงานวิจัย
It's hard for children to accept a teacher's lies: Implications of authority on children's evaluation of lies (Peng et al., 2021)
โฆษณา