17 ธ.ค. 2022 เวลา 07:57 • การศึกษา
1) หน้าที่ของ “เงิน”
ผมติดตามรายการ “เศรษฐกิจติดบ้าน” จากทาง Thai PBS และตอนหนึ่งท่าน
รศ. ดร. สมภพ มานะรังสรรค์ ได้ให้ความกระจ่างเรื่อง “หน้าที่ของเงิน” กล่าวคือ
1
i) medium of exchange: คือ สื่อกลางในการแลกเปลี่ยน
ii) unit of measurement: คือ เป็นเครื่องวัดค่า
iii) storage of value: เครื่องสะสมค่า
iv) commodities: คือ มีไว้ซื้อขายเพื่อเก็งกำไร
2) “เงินทองเป็นของมายา ข้าวปลาเป็นของจริง”
คำกล่าวของ หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร บิดาแห่งการเกษตรไทย (2426-2514)
โดยส่วนตัวผมมองว่า
เงิน: คือ ตัวแทนแห่งอำนาจในการเข้าถึงทรัพยากร
ข้าวปลา: คือ ทรัพยากรที่คนต้องเข้าถึง
ชัดเจนว่าไม่ใช่ทรัพยากรทุกชนิดที่คนจะเข้าถึงได้โดยอาศัยเงิน และไม่ใช่ทรัพยากรทุกชนิดที่คนจำเป็นต้องใช้เพื่อการอยู่รอด
เมื่อเราพิจารณาทรัพยากรที่เราเล็งเห็นถึงความจำเป็นมากน้อยแล้ว นั่นเป็นจุดเริ่มต้นของการบริหารทรัพยากรในชีวิตที่ดี และเมื่อเป็นเข่นนั้น ความจำเป็นของเงินจะถูกตั้งคำถามมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อเราสามารถเปลี่ยนบทบาทจากผู้บริโภคเพียงอย่างเดียวโดยอาศัยอำนาจการซื้อของเงิน ไปรับบทบาทของผู้ผลิตทรัพยากรที่จำเป็นเช่น ข้าวปลา!
3) “เงินสะอาดไม่ต้องฟอก!”
เพราะถึงแม้จะพยายาม “ฟอกเงิน” ให้ดูสะอาดขึ้น
แต่เจ้าของเงินสกปรก อาจมีชีวิตรอดอยู่ได้ไม่นานพอที่จะได้ใช้เงินเหล่านั้น!
โฆษณา