20 ธ.ค. 2022 เวลา 05:01 • การตลาด
11 วิธีทดสอบไอเดีย ที่ เร็ว ถูก และแม่นยำ
สิ่งที่ต้องทำ ก่อนเริ่มสร้าง New Business / New Product
ในโลกยุคดิจิตอล คุณสามารถทดสอบไอเดียคุณได้ง่ายและเร็วมาก
เพื่อให้เรียนรู้ให้ไวที่สุด ประหยัดเงินและเวลาให้มากที่สุด
ให้คุณมั่นใจมากกว่าแค่ถามความเห็นลูกค้า
การสร้างอะไรที่สุดท้ายแล้วลูกค้าไม่ใช้ นั้นเสียทั้งเงิน เวลา และความรู้สึกคนทำ
เพราะสิ่งที่คุณคิด ไม่ใช่สิ่งที่ลูกค้าคิด
ต่อให้เป็นสิ่งที่ลูกค้าบอก ก็อาจไม่ใช่สิ่งที่ลูกค้าทำ
การทดสอบไอเดีย ก่อนจะลงมือสร้างจริง จึงสำคัญมาก
ต่อให้คุณมีทีม Engineer อยู่แล้วก็ตาม
นี่คือ 11 วิธีที่ผมใช้จริงในการทดสอบไอเดีย เพื่อให้เรียนรู้ให้ไวที่สุด ประหยัดเงินและเวลาให้มากที่สุด
1. สัมภาษณ์ลูกค้า
วิธีทำ
- ถามเพื่อหาว่าปัญหาที่คิดว่าลูกค้ามี ลูกค้ามองเป็นปัญหาที่ต้องการแก้ด่วนหรือไม่ เพราะอะไร
- ถามความคิดเห็นที่มีต่อไอเดีย และทำไม
- ถามเทียบกับตัวเลือกที่ใช้อยู่ และทำไม
- ถามว่าถ้าต้องจ่าย จะจ่ายหรือไม่ เพราะอะไร
(อ่านเทคนิคสัมภาษณ์ลูกค้าให้ได้ Insight ได้ในโพสก่อนๆ)
ข้อดี
- ได้มีโอกาสถามเพื่อเข้าใจเหตุผลว่าทำไมเขาจะใช้ หรือจะไม่ใช้ ซึ่งช่วยให้คุณเข้าใจกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น และเอาไปพัฒนาต่อได้
ข้อควรระวัง
- คนที่คุณสัมภาษณ์คือกลุ่มเป้าหมายจริงๆ ใช่หรือเปล่า
- ลูกค้าสนใจหรือบอกว่าซื้อ โดยที่ยังไม่ได้เห็นของ นั้นจะซื้อจริงหรือเปล่า
- ใช้เวลานาน
.
2. ทำ Survey
วิธีทำ
- ถามเพื่อวัดว่า ลูกค้ามองว่าเป็นปัญหาหรือไม่ ด่วนขนาดไหน เพราะอะไร
- ถามเพื่อวัดความสนใจ
- ถามเทียบกับตัวเลือกที่ใช้อยู่
- ถามว่าถ้าต้องจ่าย จะจ่ายหรือไม่ เพราะอะไร
(อ่านเทคนิคออกแบบ Survey ให้ได้ Insight ได้ในโพสก่อนๆ)
ข้อดี
- ได้เรื่องจำนวน ในเวลาอันสั้น ถ้าได้คนที่ตรงกลุ่มมาตอบเยอะ
ข้อควรระวัง
- คนทำแบบสอบถาม ใช่กลุ่มเป้าหมายจริงๆ ใช่หรือเปล่า
- คนทำตั้งใจทำจริงหรือเปล่า
- คนที่ตอบสนใจหรือบอกว่าซื้อ โดยที่ยังไม่ได้เห็นของ จะซื้อจริงหรือเปล่า
.
3. ถามใน Facebook Group/ Line Openchat
วิธีทำ
- นึกคีย์เวิร์ด โดยนึก ชื่อคู่แข่ง และพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย ที่ไอเดียคุณเกี่ยวข้อง
- ค้นหาใน Facebook โดยเลือก Facebook Group และค้นหาใน Line Openchat
- เมื่อจอย Group แล้ว ให้โพสถามว่าใครมีปัญหานี้บ้าง
- ถ้ามีคนตอบ ก็ถามความคิดเห็นที่มีต่อไอเดีย
ข้อดี
- ตรงกลุ่มเป้าหมาย
- ถ้าเป็นปัญหาที่ใช่ และเจอกลุ่มที่ดี จะได้ทั้งพูดคุยและ validate เชิงจำนวน
ข้อควรระวัง
- Facebook Group หลาย Group ต้องให้แอดมินอนุมัติโพส
- ถ้าโพสแล้ว ไม่มีใครสนใจ ก็ไม่ได้หมายความว่า ปัญหาหรือไอเดียไม่เวิร์ก เพราะมันขึ้นกับ Algorithm ของ Facebook เลย
.
4. ทำโฆษณาออนไลน์
วิธีทำ
- หา Graphic Designer ฟรีแลนซ์ จาก Fastwork (เลือกเจ้าที่ถูกที่สุดและพร้อมทำให้คุณเลย คุณทำเพื่อเทส งานกราฟฟิกไม่จำเป็นต้องเลิศที่สุด)
- เขียนจุดขายหลักของไอเดีย เขียนออกมาเป็นบรีฟ ส่งให้ฟรีแลนซ์
- สร้าง Facebook Page ใหม่
- หาเว็บทำโลโก้ ฟรี
- Invite friends ให้มากด Like Page ให้ได้ 10 Likes (มีผลช่วยเวลายิงแอด)
- เขียนแคปชั่นขายของ แนะนำให้ขึ้นต้นด้วย ปัญหาสำคัญสุดที่กลุ่มเป้าหมายมี
- สร้าง Facebook Ads แนะนำให้ลองศึกษาดู ทำเองไม่ยาก แนะนำให้พยายามใส่ Interest ของกลุ่มเป้าหมาย และให้ทดลองด้วยงบแอดละ 100-300 บาท
- แนะนำให้บอก Action ถ้าลูกค้าสนใจ เช่น ทำแอดเป็น Lead Generation เพื่อใครสนใจจะได้กรอกข้อมูล หรือเขียนในโพสว่า สนใจ ให้อินบ็อกมา
ข้อดี
- วัดผลได้ว่า คนเห็นกี่คน สนใจกี่คน และวัดผลได้เร็วมาก
- เชื่อถือได้มากกว่าการทำ survey เพราะคนต้องสนใจแอดคุณจริงๆ ถึงจะหยุดดู กดอ่าน และทำต่อ
ข้อควรระวัง
- ถ้าไม่เวิร์ก สรุปไม่ได้ เพราะอาจเกิดจาก กลุ่มเป้าหมายไม่ตรง ทำรูปมาไม่น่าสนใจ เขียนแคปชั่นมาไม่ดีพอ หรือคนดูเห็นครั้งแรกอาจจะปล่อยผ่านไปก่อน
- ถ้าคุณรู้สึกว่าคุณเขียนแคปชั่นไม่เก่ง อาจจะดูจากคู่แข่งหรือจ้างคนเขียนให้
.
5. ทำ Landing page
วิธีทำ
- ใช้ Wix.com สร้าง Landing page ไอเดียของคุณ (คุณสามารถทำเองได้ ไม่ได้ยาก เลือก Template ที่มีให้ แล้วเปลี่ยน text/pic)
- สร้าง Form ให้คนที่สนใจสามารถลงทะเบียนล่วงหน้าได้
- เอาไปยิง Facebook Ads ให้คนที่สนใจ กดเข้ามาอ่านต่อในเว็บ
ข้อดี
- ให้ข้อมูลได้มากกว่า Facebook Ads น่าเชื่อถือกว่า
ข้อควรระวัง
- ถ้าไอเดียคุณไม่ได้ต้องขายความน่าเชื่อถือ ทำแค่ Facebook Ads ก็พอ
.
6. ทำวีดีโอ
วิธีทำ
- หาฟรีแลนซ์ จาก Fastwork
- เขียนปัญหาที่ลูกค้าเจอ ไอเดียแก้ปัญหาได้อย่างไร และจุดขาย เป็นบรีฟส่งให้ฟรีแลนซ์
- เอาไปยิง Facebook Ads
ข้อดี
- เหมาะกับไอเดียที่ต้องเป็นวีดีโอถึงจะเห็นภาพ
- วีดีโอ ถ้าทำดี ได้ผลกว่ารูป
ข้อควรระวัง
- ถ้าทำวีดีโอ ต้องทำให้ดี ไม่งั้นคนไม่สนใจหรือจะดูไม่น่าเชื่อถือ
- ถ้าไอเดียคุณไม่ได้ต้องให้ลูกค้าเห็นภาพ เห็น demo จริงๆ ทำรูปแล้วยิง Facebook Ads ก็พอ
.
7. หาผู้สนใจร่วมในการพัฒนา
วิธีทำ
- หาคนที่สนใจให้เวลาร่วมพัฒนา Product เพื่อใช้เป็นคนแรก อาจจะจากการสัมภาษณ์ ทำ survey หรืออื่นๆ
- คนที่สนใจต้องตกลงที่จะให้เวลากับโปรเจคนี้ ให้ข้อมูล ทดลองใช้ และให้ฟีดแบค
- แนะนำให้ตั้งเป้าหาให้ได้ 3-5 ราย
ข้อดี
- ถ้าทำได้ คือคุณเจอลูกค้าจริงๆ ที่ต้องการแก้ปัญหานี้มากๆ
ข้อควรระวัง
- หายากหน่อย เพราะคนส่วนใหญ่ ถึงสนใจจริงๆ จะบอกว่า เสร็จแล้ว ให้บอกมาอีกที
.
8. สร้าง Facebook Group
วิธีทำ
- สร้าง Facebook Page และ Facebook Group
- ใช้ Facebook Page ทำคอนเทนท์ดึงคนสนใจ ให้มาจอย Facebook Group โดยอาจยิงแอด หรือไปโพสคอนเทนท์ตาม Facebook Group อื่นๆ
- ทำ Facebook Group ให้เป็น community ที่คนมาคุยถึงปัญหาที่คุณสนใจ
- ทดลองออก Service หรือเอาไอเดียไปถามคนใน Facebook Group
ข้อดี
- จะได้กลุ่มเป้าหมายที่ engage กับคุณจริงๆ ทำให้ถ้าไอเดียแรกยังไม่ใช่ ก็สามารถโฟกัสกับกลุ่มนี้ เพื่อหาปัญหา/ไอเดียใหม่
ข้อควรระวัง
- ใช้เวลาและสกิลในการสร้าง community
- และจะยากหน่อย ถ้าคุณไม่ใช่ Expert
.
9. ทำ Line OA
วิธีทำ
- พยายามทำให้ไอเดียคุณ เวอร์ชั่นแรก มันทำได้บน Line OA โดยตัวคุณหรือทีมงานเป็นแอดมินคอยตอบและดำเนินการให้ มันจะไม่ได้สวยหรูเหมือนในเว็บหรือแอป
- หาเว็บทำโลโก้ฟรี
- พอทำ Line OA เสร็จ เอาลิงก์ไปให้คนที่สนใจลองใช้ หรือเอาไปยิง Facebook Ads ให้ใครที่สนใจ กดแอดไลน์มาก
- ถ้าไม่ได้จริงๆ อย่างน้อยก็ใช้ Line OA เป็นตัววัดว่าลูกค้าสนใจจริงหรือเปล่า คนที่สนใจจริง ถึงจะแอดไลน์
ข้อดี
- ได้ทดสอบของจริงว่าลูกค้าที่สนใจจะใช้จริงหรือเปล่า
ข้อควรระวัง
- บางไอเดีย ทำบน Line OA ไม่ได้จริงๆ (แต่ส่วนใหญ่ ทำได้ แค่ไม่สวยเท่าแอปหรือเว็บ แต่ก็เพียงพอสำหรับทดสอบ)
.
10. ทำ Prototype กระดาษ
วิธีทำ
- วาดไอเดียหน้าจอ ลงบนกระดาษ ให้เห็นว่า โหลดแอปแล้ว หน้าแรกเห็นอะไร กดแล้ว หน้าถัดไปคืออะไร
- ให้ลูกค้าลองเล่นดู
ข้อดี
- ลูกค้าเห็นภาพมากขึ้นว่า ไอเดียหน้าตาตอนใช้จริง เป็นยังไง
- ได้ฟีดแบคมาพัฒนาว่าตรงไหนเวิร์ก ไม่เวิร์ก
ข้อควรระวัง
- ลูกค้าจะคอมเมนท์หน้าจอ แต่จริงๆแล้วไม่สนใจก็ได้ ดังนั้นควรใช้คู่กับวิธีอื่นในการทดสอบ
.
11. ทำ Figma Prototype
วิธีทำ
- ออกแบบหน้าจอบน Figma (ถ้าไม่มี designer คุณก็สามารถศึกษา ทำเองได้ ไม่ได้ยาก)
- สร้างลิงก์ว่ากดปุ่มนี้แล้วไปหน้าจอไหนต่อ
- ให้ลูกค้าลองกดเล่นเอง
ข้อดี
- ลูกค้าเห็นภาพมากขึ้นว่า ไอเดียหน้าตาตอนใช้จริง เป็นยังไง
- ได้ฟีดแบคมาพัฒนาว่าตรงไหนเวิร์ก ไม่เวิร์ก
ข้อควรระวัง
- ลูกค้าจะคอมเมนท์หน้าจอ แต่จริงๆแล้วไม่สนใจก็ได้ ดังนั้นควรใช้คู่กับวิธีอื่นในการทดสอบ
.
ถ้าชอบ content ที่แชร์จากประสบการณ์จริงเรื่อง การคิดของใหม่ การทดสอบไอเดีย การทำ new tech product
ฝากกด Like กด Share ด้วยนะครับ
ใครมี feedback อะไร, message มาได้เลยครับ
ขอบคุณครับ
โฆษณา