Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Heng Leasing : เฮงลิสซิ่ง
•
ติดตาม
25 ธ.ค. 2022 เวลา 05:00 • ไลฟ์สไตล์
โดนหลอกให้โอนเงินค่ามัดจำ ต้องทำยังไงถึงจะได้เงินคืน
จากข่าวคน โดนหลอกให้โอนเงินค่ามัดจำ ก่อนกู้เงินออนไลน์ที่อ้างตัวว่าเป็นสินเชื่อที่ถูกกฎหมายเป็นเรื่องที่ได้ยินกันชินหูและมักจะเห็นคนตกเป็นเหยื่อยอมโอนเงินให้คนแปลกหน้า
เพื่อจะได้เงินก้อนใหญ่หรือรางวัลต่าง ๆ อยู่บ่อยครั้ง ทั้งนี้หากคุณตกเป็นเหยื่อโดนหลอกให้โอนเงินค่ามัดจำไปแล้วจะต้องทำอย่างไร เรามีคำแนะนำมาฝาก
หลายต่อหลายครั้งที่ข่าวคนของผู้ที่ตกเป็นเหยื่อ โดนหลอกให้โอนเงินค่ามัดจำ ไม่ว่าจะเป็นการโดนหลอกให้โอนเงินค่ามัดจำในการซื้อสินค้าออนไลน์ที่ต้องพรีออเดอร์โดยต้องวางเงินมัดจำก่อน
หรือการโดนหลอกให้โอนเงินค่ามัดจำเพื่อดำเนินขอกู้เงินออนไลน์ซึ่งตอนนี้มีคนบางกลุ่มตกเป็นเหยื่อของการโดนหลอกให้โอนเงินค่ามัดจำแล้วหลายราย
โดยรูปแบบกลโกงออนไลน์ที่ทำให้หลายคนโดนหลอกโอนเงินค่ามัดจำ ไม่เพียงแต่การกู้เงินเท่านั้นยังมีรูปแบบอื่นดังนี้
1. แอบอ้างเป็นบุคคลอื่นอ้างว่าจะโอนเงินให้เหยื่อ
มิจฉาชีพจะหลอกให้เหยื่อโอนเงินผ่านการโอนเงินเพื่อจะได้ไม่มีเอกสารแสดงตัว ทำให้ติดตามได้ยาก
มักจะอ้างว่าจะโอนเงินหรือส่งของให้เหยื่อ และนำหลักฐานการโอนเงินปลอมให้เหยื่อดูจนเหยื่อหลงเชื่อว่ามีการโอนเงินและส่งของต่าง ๆ มาให้แล้วซึ่งทั้งเงินและสิ่งของที่ส่งมาจะมีมูลค่าสูง
แต่เมื่อเหยื่อได้รับหลักฐานการโอนเงินปลอมไปแล้วสักระยะ มิจฉาชีพจะอ้างกับเหยื่อว่า ไม่สามารถโอนเงินหรือส่งของให้เหยื่อได้
เพราะติดปัญหาธนาคารระงับการโอนเงินและอยู่ระหว่างการตรวจสอบ จะต้องมีการจ่ายค่าดำเนินการ ค่าธรรมเนียมการโอนเงิน เพื่อให้ได้เงินก้อนใหญ่คืน เมื่อสุดท้ายแล้วเหยื่อที่มีความโลภจะยอมโอนเงินทีละน้อยเพื่อคิดว่าจะได้เงินก้อนใหญ่กลับมา
แต่สุดท้ายแล้วกลับโดนหลอกให้โอนเงินค่ามัดจำในรูปแบบของค่าดำเนินการต่าง ๆ ซึ่งเหตุการณ์ในลักษณะนี้ผู้กระทำผิดมักจะอยู่ต่างประเทศยากต่อการติดตามนั่นเอง
2. โฆษณาปล่อยเงินกู้นอกระบบ
รูปแบบต่อมามิจฉาชีพจะสวมบทเป็นผู้ให้บริการสินเชื่อ กู้เงินออนไลน์ และแอบอ้างเป็นผู้ให้บริการสินเชื่อถูกกฎหมายต่าง ๆ โดยทำเพจปลอมขึ้นมา และมักจะโฆษณาชวนเชื่อหลงให้คนเข้ามาสมัครด้วยถ้อยคำต่าง ๆ
เช่น กู้ง่ายไม่ต้องมีหลักประกัน ไม่เช็กบูโร ไม่มีคนค้ำ ไม่ต้องมีรายได้ ได้เงินทันที ซึ่งทำให้ผู้ที่กำลังร้อนเงินตัดสินใจสมัครได้ไม่ยาก เมื่อเหยื่อตกลงที่จะสมัครแล้ว จะให้เหยื่อโอนเงินจำนวนหนึ่งอ้างว่าเป็นค่าดำเนินการบ้าง ค่ามัดจำ ค่าเอกสาร ค่าลัดคิว
หรือถ้ายิ่งโอนเยอะก็จะได้รับการอนุมัติเงินที่สูงตามไปด้วย โดยต้องมีการโอนเงินภายในระยะเวลาที่กำหนดเท่านั้น โดยการบีบในเรื่องของเวลานี้ จะทำให้เหยื่อที่ต้องการเงินอยู่แล้วเกิดความรีบร้อนที่จะหาเงินเพื่อใช้ในการดำเนินการ เพราะกลัวจะเสียเงินก้อนใหญ่ไป
1
สุดท้ายแล้วเมื่อหลงเชื่อและโอนเงินไปให้มิจฉาชีพ มารู้ตัวอีกทีก็โดนหลอกให้โอนเงินค่ามัดจำหรือค่าดำเนินการไปเสียแล้ว
3. แอบอ้างเป็นบุคคลอื่นเพื่อหลอกให้เหยื่อโอนเงิน
การหลอกโอนเงินรูปแบบต่อมา เหยื่อจะโดนหลอกให้โอนเงินค่ามัดจำเมื่อมีการซื้อสินค้าออนไลน์ โดยให้ราคาถูกกว่ท้องตลาดและต้องซื้อภายในระยะเวลาที่กำหนด เพื่อเป็นยืนยันว่าผู้ซื้อต้องการซื้อสินค้านั้นจริง
และเมื่อเหยื่อโอนเงินสำเร็จแล้ว มิจฉาชีพจะหยุดการสนทนาและหายตัวไปทันที ทำให้เหยื่อโดนหลอกให้โอนเงินค่ามัดจำโดยไม่มีสินค้านั้นขายอยู่เลย
4. ขอเลขที่บัญชีเพื่อพักเงิน
ข้ออ้างนี้อาจจะอ่านดูแล้วไม่ชอบมาพากลเท่าใดนัก แต่ก็มีคนตกเป็นเหยื่อโดนหลอกโอนเงินกันมาแล้วแต่รูปแบบการโอนเงินจะแตกต่างจากข้อที่ผ่านมา
โดยมิจฉาชีพอ้างว่าเป็นบริษัทต่างชาติที่เข้ามาขายสินค้าในไทยและต้องการคนเพื่อรวบรวมเงินให้ จะให้เหยื่อทำหน้าที่นี้แล้วแบ่งเปอร์เซ็นต์จากยอดขายสินค้าให้ เพื่อเหยื่อตกลงจะมีเงินโอนเข้ามาบัญชีของเหยื่อ เพื่อให้เหยื่อหักเปอร์เซ็นต์ของตนแล้วโอนส่วนที่เหลือให้มิจฉาชีพ
โดยไม่รู้ว่าเงินที่เข้าบัญชีตัวเองนั้นเป็นเงินที่ผิดกฎหมาย เหมือนโจรเอาบัญชีของเราเพื่อเป็นทางผ่านจากการหลอกให้คนอื่นมาให้อีกที
กว่าจะรู้ว่าบัญชีของตนเป็นทางผ่านของเงินผิดกฎหมายก็ถูกธนาคารอายัดบัญชีและอาจถูกตำรวจจับแล้วนั่นเอง
โดนหลอกโอนเงินค่ามัดจำไปแล้ว ต้องทำอย่างไร
หากคุณเสียรู้ให้กับแก็งคอลเซ็นเตอร์และมิจฉาชีพไปแล้ว ก่อนอื่นต้องตั้งสติ อย่าเพิ่งตกใจ คุณมีสิทธิ์ได้เงินคืน โดยสิ่งที่คุณควรทำต่อไปหลังจากที่โดนหลอกโอนเงินไปแล้ว คือ
1. เตรียมหลักฐานแจ้งความดำเนินคดีในท้องที่เกิดเหตุ (โอนเงินที่ไหนให้ไปแจ้งความที่เขตนั้น) ภายในระยะเวลา 3 เดือน นับแต่วันที่คุณรู้ว่าโดนหลอก โดยเตรียมเอกสารดังนี้
บัตรประชาชนของผู้แจ้ง/ผู้เสียหาย
หน้าประกาศ/ข้อความโฆษณาที่ให้กู้เงินในเพจหรือโพสต์ให้กู้ยืมเงินและทำให้หลงเชื่อ
หลักฐานการโอนเงิน เช่น สลิปโอนเงิน, สเตทเมนต์ เป็นต้น
หลักฐานในการติดต่อขอกู้เงิน รวมถึงข้อความการสนทนาในการกู้ยืมเงิน
ข้อมูลมิจฉาชีพที่หลอกให้กู้ยืมเงิน เช่น ชื่อสกุล , หมายเลขบัญชีธนาคารที่โอนเงินไปให้ , หมายเลขโทรศัพท์ติดต่อ,ที่อยู่ เป็นต้น
หลักฐาน/ข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์ในการดำเนินคดี
และที่สำคัญแจ้งความประสงค์กับพนักงานสอบสวนว่า “ ประสงค์ขอแจ้งความดำเนินคดีตามกฎหมาย” ไม่ใช่แค่ขอลงบันทึกประจำวันเป็นหลักฐาน
2. นำใบแจ้งความไปยื่นธนาคารที่เราโอนเงินไป (สาขาใดก็ได้)
3. เมื่อบัญชีถูกอายัด จะไม่สามารถทำธุรกรรมทางการเงินได้ ต้องมาติดต่อไกล่เกลี่ยคืนเงิน หากไม่มาจะดำเนินการตาม
2
กฎหมายต่อไปกรณีเหล่านี้จะมีอายุความ 3 เดือน นับตั้งแต่วันที่รู้ตัวผู้กระทำผิด หากรู้ตัวว่าโดนโกงให้รีบไปแจ้งความภายใน 3 เดือนทันทีถึงจะมีโอกาสได้เงินคืน
วิธีป้องกันตัวเองไม่ให้ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพหลอกโอนเงิน
หลายครั้งที่เรามักเห็นข่าวคนโดนหลอกให้โอนเงินค่ามัดจำ เพื่อซื้อสินค้าออนไลน์ราคาถูกบ้าง หรือเพื่อขอกู้เงินออนไลน์บ้าง
โดยนอกจากความร้อนเงินจนลืมคิดไตร่ตรองให้ดีก่อนแล้ว ความโลภก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้หลายคนยอมโอนเงินจำนวนไม่กี่ร้อยบาทหรือไม่กี่พันบาทเพื่อแลกกับเงินหลักหมื่นหลักแสนที่กำลังรออยู่
ทั้งนี้การรู้แนวทางป้องกันตัวเองเพื่อไม่ให้โดนหลอกโอนเงินค่ามัดจำ จึงเป็นสิ่งที่พึงระลึกอยู่เสมอ โดยมีแนวทางดังนี้
1.ไม่ควรเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวผ่านทางโซเชียลมีเดียเกินความจำเป็น เพื่อป้องกันไม่ให้มิจฉาชีพนำข้อมูลของคุณไปใช้ในทางที่ผิด รวมไปถึงการเปลี่ยนรหัสเข้าโซเชียลมีเดียเป็นประจำ
2.หากได้รับข้อความให้โอนเงินไม่ว่ารูปแบบไหน ควรตรวจสอบก่อนว่าเป็นเรื่องจริงหรือเท็จกับหน่วยงานที่ถูกอ้างถึง
3.ไม่โลภ เพราะในโลกนี้ไม่มีอะไรได้มาง่าย ๆ โดยเฉพาะเรื่องเงินทอง
4.ติดตามข่าวสารบ้านเมืองและกลโกงของพวกมิจฉาชีพอยู่เสมอ
5.หากจำเป็นต้องกู้เงินเลือกผู้ให้บริการที่น่าเชื่อถือ โดยสามารถตรวจสอบรายชื่อผู้ให้บริการที่ได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจสินเชื่อจากธปท.ได้ที่เว็บไซต์ของธนาคารแห่งประเทศไทย
หากปรากฏชื่อและช่องทางติดต่อของผู้ให้บริการที่คุณสนใจ แสดงว่าเป็นผู้ให้บริการที่ถูกกฎหมายและสามารถติดต่อสอบถามผ่อนช่องทางที่ปรากฎได้ แต่หากไม่พบชื่อที่คุณค้นหา ให้สงสัยไว้ก่อนว่าอาจเป็นมิจฉาชีพ
ข่าวการ โดนหลอกให้โอนเงินค่ามัดจำ มีอยู่ให้เห็นบ่อยครั้ง แม้ว่าจะมีการเตือนภัยมาแล้วหลายครั้ง แต่ก็ยังมีคนตกเป็นเหยื่อมาแล้วหลายรายเนื่องจากความร้อนเงินและความโลภที่ต้องการเงินก้อนใหญ่ จนยอมเสียเงินส่วนหนึ่งแม้ว่าจะไม่มากมาย
1
แต่ก็ไม่ได้คืนมาเนื่องจากถูกหลอกโอนเงินนั่นเอง ทั้งนี้ให้จำไว้เสมอว่าไม่ควรไว้ใจใครโดยเฉพาะในโลกออนไลน์ที่ไม่ได้เห็นหน้าเห็นตา หรือขนาดเห็นหน้าคาดตากันแล้วก็ยังโดนหลอกได้อีกด้วย หรือเมื่อไหร่ที่คุณกำลังทำธุรกรรมทางการเงินแล้วพบว่าจะต้องมีการโอนเงินก่อน
ให้พึงระลึกเสมอว่าอาจจะถูกหลอกได้ควรตรวจสอบที่มาที่ไป ความน่าเชื่อถือเสียก่อน หากเป็นการสั่งของออนไลน์ที่จำเป็นต้องมีการจ่ายเงินมัดจำเพื่อพรีออเดอร์สินค้า ก็สามารถดูจากประวัติการขาย การรีวิวสินค้าก่อนโอนเงินมัดจำ หรือเลือกสินค้าที่พร้อมส่งแทน
นอกจากนี้สำหรับคนที่กำลังกู้เงินควรเลือกสถาบันการเงินที่เรารู้จัก มีชื่อเสียง และมีสาขาให้บริการใกล้บ้าน เพราะคุณสามารถเดินเข้าไปสอบถามข้อมูลสินเชื่อตลอดจนสมัครสินเชื่อได้เลย
หรือหากเป็นการสมัครสินเชื่อผ่านช่องทางออนไลน์ควรศึกษาความน่าเชื่อถือช่องทางการติดต่อทั้งทางโทรศัพท์ เว็บไซต์ เฟสบุ๊ก หรือไลน์ ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่คอยให้บริการคุณเช่นเดียวกัน
และที่สำคัญจะไม่มีการโอนเงินก่อนขอสินเชื่อเด็ดขาด แนะนำสินเชื่อจากเฮงลิสซิ่ง มีให้เลือกหลากหลายตามความต้องการ
* เฮงลิสซิ่ง ไม่มีนโยบายให้ลูกค้าโอนเงินเข้าบัญชีส่วนบุคคลเพื่อขอสินเชื่อใด ๆ ทั้งสิ้นไม่ว่าจะผ่านช่องทางใดก็ตาม หากมีข้อสงสัยหรือพบเบาะแสการแอบอ้างสามารถแจ้งได้ที่ Call Center. 1361
ความรู้รอบตัว
ไลฟ์สไตล์
การเงิน
10 บันทึก
9
1
13
10
9
1
13
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย