21 ธ.ค. 2022 เวลา 05:56 • การศึกษา
เสียงที่แอบบันทึกการสนทนาจากโทรศัพท์ ใช้เป็นพยานหลักฐานได้ไหม 🔊🎼🎙
1
บ่อยครั้งที่คู่กรณีมีการพูดคุยหรือตกลงกันเรื่องใดเรื่องหนึ่ง อีกฝ่ายก็อาจจะไม่ไว้ใจกลัวอีกฝ่ายจะผิดคำพูดหรือแม้แต่การทะเลาะเบาะแว้ง จึงใช้วิธี แอบบันทึกการสนทนาไว้ เพื่อเป็นพยานหลักฐานหากจะต้องมีการดำเนินคดีในชั้นศาล
ปัญหาก็คือว่า เสียงที่ถูกบันทึกการสนทนาโดยที่อีกฝ่ายหนึ่งไม่ทราบว่า ได้ถูกบันทึกการสนทนาไว้แล้ว จะนำมาใช้เป็นพยานหลักฐานได้เพียงใด
เรื่องนี้มีคำตอบ👇👇
คำพิพากษาฎีกาที่ 3782/2564 นายไก่ แอบนำเอาโทรศัพท์เคลื่อนที่มาทำการบันทึกการสนทนาระหว่างจำเลย กับนายไก่ และคู่สนทนาระหว่างพบปะพูดคุยกัน โดยที่จพเลยไม่ทราบว่าการสนทนา ได้ถูกนายไก่แอบบันทึกไว้เรียบร้อยแล้ว ย่อมเป็นการกระทบกระเทือนต่อสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลของจำเลยอย่างชัดแจ้ง
จึงเป็นการแสวงหาพยานหลักฐานโดยไม่ชอบ 🙀🙀
การจะรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้หรือไม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารนาความอาญามาตรา 226/1 บัญญัติเป็นข้อยกเว้น ให้สามารถใช้ดุจพินิจรับฟังพยานหลักฐานที่ได้ด้วยวิธีการอันเกิดจากการละเมิดต่อสิทธิส่วนบุคคลซึ่งมีวัตถุประสงค์คุมครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน จึงต้องฟังด้วยความระมัดระวัง และพิจารณาถึงพฤติการณ์ทั้งปวงแห่งคดีที่กฎหมายกำหนดไว้
เมื่อโจทก์เป็นผู้แสงหาพยานหลักฐานโดยมิชอบ พิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดีแล้ว การรับฟังพยานหลักฐานนั้นมิได้เป็นประโยชฯต่อการอำนวยความยุติธรรม แต่กลับจะเป็นผลเสียที่กระทบต่อมาตฐานของระบบงานยุติธรรมทางอาญาหรือสิทธิเสรีภาพพื้นฐานของประชาชนมากกว่า
จังไม่อาจรับฟังบันทึกเสียงสนทนา วัตถุพยานนี้และข้อความจากการถอดเทปการสนทนาเป็นพยานหลักฐานพิสูจน์ความผิดของจำเลยได้ 😱😱
จากคำพิพากษานี้ การแอบบันทึกการสนทนา เป็นการได้มาซึ่งพยานหลักฐานที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เรื่องนี้เป็นคดีหมิ่นประมาท ผมนำมาเขียนเฉพาะประเด็นการแอบบันทึกเสียง ที่จะนำไปใช้เป็นพยานหลักฐานเท่านั้น
โดยหลักแล้วถ้าเป็นพยานหลักฐานที่ได้มาโดยมิชอบแล้วจะห้ามมิให้รับฟังพยานหลักฐานนั้น แต่มีข้อยกเวัน ตามกฎหมายที่บัญัติไว้ เช่น เป็นประโยชน์ต่อการอำนวยความยุติธรรม และต้องคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ เช่น
คุณค่า,ความสำคัญ,ความน่าเชื่อถือของพยาน ,พฤติการณ์และความร้ายแรงของคดี ฯ
ครับ ..กฎหมายจะรู้เมื่อได้อ่าน
ขอบคุณครับ🥸🥸🥸
โฆษณา