21 ธ.ค. 2022 เวลา 08:48 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
BeiDou
ระบบนำทางด้วยดาวเทียมของจีน ที่ถูกพัฒนาอย่างรวดเร็วด้วยการกระตุ้นของ Original GPS
ในยุค 90s จีนยังใช้บริการของ gps ไม่ว่าในเชิงพานิชย์ หรือการทหาร
ปี 1993
เรือขนสินค้า หยินเหอ(Yinhe) สัญชาติจีน ถูกกองทัพเรืออเมริกันบีบไม่ให้เข้าจอดในประเทศตะวันออกกลาง ข้อหาบรรทุกอาวุธเคมี หยินเหอต้องลอยลำอยู่กลางน่านน้ำสากล ในมหาสมุทรอินเดียนานถึง 24 วัน โดยถูกตัดสัญญาณ GPS
ปี 1995
ขีปนาวุธ DF-15 ที่ชื่อมีความหมายว่า"สายลมตะวันออก" ถูกยิงเข้าไปในพื้นที่ทะเลไต้หวัน ในช่วงเหตุการณ์วิกฤตช่องแคบไต้หวันครั้งที่ 3
สองเหตุการณ์สำคัญนี้ เร้าให้จีนเร่งโครงการดาวเทียมนำร่องของตัวเอง จนกระทั่งปี 2000 Baidou1 สองลำแรก ทะยานขึ้นโคจรเหนือประเทศจีน และพัฒนาต่อมาจนสามารถส่งขึ้นไปให้สามารถใช้งานอุปกรณ์ตำแหน่งได้ทั่วโลก เมื่อปี 2020 ก็สามารถขึ้นมาเทียบเท่ากับ GPS, Galileo, และ GLONASS ในที่สุด
ปกติดาวเทียม GPS จะมีหน้าที่ส่งสัญญาณออกมาที่เครื่องรับ ซึ่งเป็นการสื่อสารทางเดียว
จะมีการสื่อสารไป-กลับอยู่บ้าง ก็มีเพียงคอยติดต่อกับสถานีภาคพื้นดิน เพื่อปรับแต่งค่าพิกัดให้ถูกต้องอยู่เสมอ
แต่ Baidou รุ่นล่าสุด ถูกออกแบบมาให้สื่อสารกับโทรศัพท์ผ่านดาวเทียมได้ แม้จะยังเป็นแค่ข้อความสั้น ๆ แต่ก็ทำให้ระบบอื่นหวั่นไหวไม่น้อยในแง่ดุลยภาพทางทหาร
Baidou อ่านว่า เป่ยโตว แปลว่า กลุ่มดาวจระเข้ ซึ่งถูกนำมาเป็นโลโก้ของหน่วยงาน
ความพิเศษของกลุ่มดาวจระเข้คือ สองดวงทางขวาที่เห็นในภาพ ถ้าลากเส้นผ่านดาวสองดวงนี้ เส้นนั้นจะตรงไปหาดาวเหนือเสมอ
โฆษณา