22 ธ.ค. 2022 เวลา 07:56 • ไลฟ์สไตล์
ย่ำต๊อกทั่วกรุงเทพ เขียนโดย น. ณ ปากน้ำ
อ่านไปครึ่งเล่ม นึกถึงเพื่อน ที่บอกไทยไม่คล้ายยุโรป
ที่เขามีตึกอาคารสวยงามเพราะสงคราม...
ในเล่มเขียนสไตล์คนแก่เล่าความหลัง
มีกล่าวถึง กรุงเทพฯ โดนระเบิดพัง เพราะตอนนั้นเราเข้ากับญี่ปุ่นที่เป็นอักษะ แต่ความเสียหายต้องประเมินว่าวงกว้างหรือแคบ โดยในเล่มนี้บอกมีทิ้งระเบิดทุกคืนแบบปูพรม รำวง จึงถือกำเนิด ซึ่งแปลงจากรำโทนอีกที เพื่อให้คนยุคสงครามหย่อนใจ ใช้อุปกรณ์และพิธีการน้อย
ตลาดร้านค้าชีวิตความเป็นอยู่ในความทรงจำผู้เขียน
ซ้อนทับกับภาพถ่าย ขนานเปรียบเทียบ ต่างจากปัจจุบัน
หรือบางอย่างแทบไม่เคยได้ยินหรือรู้จัก การยอมรับเรื่องบางอย่างของสังคมยุคนั้น เช่น โสเภณี อาหาร บ้านเรือน ยานพาหนะ ระบบขนส่งทางเรือ
ทั้งสนุกและน่าเบื่อ คล้ายฟังคนแก่รำพึงถึงความหลัง แต่ก็ชวนติดตามเพราะสำนวนการเล่า ที่ลีลาภาษาสละสลวยเข้าใจง่าย และเป็นธรรมชาติ อ่านแล้วนึกถึงทุกที่ที่ไปมาในยุคนี้เป็นภาพคู่ขนาน ในแต่ละยุคน่าจะมีการบันทึกคล้าย จดหมายเหตุ
ยุคก่อนสิ่งบันเทิงจากภาพยนตร์ มาเป็นการแสดงสดทั้งคณะดนตรี รำวง ตลก เพราะสงคราม แต่ยุคนี้น่าจะเป็น การจัดงานแสดงสินค้าหรือศิลปะ ถัดจากยุคห่างสรรพสินค้า โดยคำ community mall หรือ creative space น่าจะเป็นสิ่งเทียบได้
มีการสร้างแผนที่เส้นทางต่างๆร้อยเรียงให้เห็นภาพรวมก่อนเจาะเน้นในแต่ละย่านตามประสบการณ์ ความทรงจำ เล่าย้อนถึงเหตุการณ์ร่วมสมัยใหญ่ กับใช้วิธีเล่าผ่านมุมมองคล้ายรักมนุษยวิทยา ผสมข้อมูลโบราณคดี(เทียบไทม์ไลน์ หรือแทรกเกร็ดความสำคัญ แม้ข้อมูลบางส่วนอ่านแล้วขัดต่อการอ้างอิงยุคใหม่หรือข้อค้นพบใหม่)
ไม่มีสารบัญ เพราะมาจากร่างลายมือ นำมาจัดพิมพ์ เล่าไปตามเส้นทางอิสระที่จะเดิน แต่ใช้ศูยน์กลางที่ สนามหลวงและวัดพระแก้วเป็นหมุดหมายเริ่มต้น ด้วยวิธีแบบเป็นไปตามข้อเท็จจริงและความรู้สึกส่วนตัวร่วมแต่มีส่วนน้อย เนื้อหาจึงน่าสนใจ
มีการเล่าถึงสมัยสร้างกรุง สมัยร.3ที่ศิลปะและวัดน่าสนใจ จนเราอยากตามรอย หรือรอยต่อ ร.3-4 ที่มีงานแนวจีน แนวตะวันตกเข้ามาผสม ครัวอินโข่ง เราชอบมาก จนสมัยร.4 ที่มีการตัดถนนแทนคลอง ร.5-6 มีการสร้างอาคารแบบตะวันตกทั้งไม้และปูน ร.7 เป็นช่วงเวลาองศิลปะแบบโมเดิร์นและสภาพบ้านเมือง สังคมยุคสงคราม ร.8-9ตอนต้นคือช่วงเวลาที่ผู้เขียนบันทึกากประสบการณ์ส่วนตัว
หลายข้อมูลเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยน่าสนใจ อ่านจนจบในรวดเดียวได้ ตัวอักษรใหญ่น่าจะคิดมาแล้วว่าคนอ่านรุ่นใหญ่จะสบายตา ออกแบบจัดหน้ากระดาษดี ไม่ลึกเข้าไปในสัน หนังสือ
ได้จินตนาการภาพตามตัวอักษร เดินไหลไปตามเรื่องราวคล้ายนั่งรถชมเมือง หรือเดินเข้าซอยซอกแซกประกอบความทรงจำส่วนตัวที่เดินดูเมืองปกติ ตั้งแต่เริ่มเดินจริงจังตอนจบป.ตรีและโท จนตอนนี้ยิ่งชอบและไปเดินบ่อยร่วมกับอ่าน แนะนำสำหรับคนสนใจตึกเก่า เมือง วิถีชีวิต อ่านสนุกแต่บางเรื่องก็นะ ยุคไหนสมัยไหนไม่เคยเปลี่ยน เช่น การเห็นคุณค่า รัฐไม่เคยใส่ใจหรือช้าเกินการณ์ ช่วงนี้มีการสร้างทาง สถานีรถไฟฟ้ายิ่งทุบทำลายอาคารสถานที่เยอะมาก
งานอนุรักษ์ล่าสุดได้ร่วมฟังสัมมนาช่วงค่ำของ Facebook fanpage : Songkhal Heritage Trust มีสมาคมฯสถาปนิกสยามฯ มหาวิทยาลัย และหน่วยงานต่างๆ จะจัดกันเป็นประจำหนังจากนี้ทุกเดือน เข้าฟังไม่เสียค่าใช้จ่าย
สนุกมาก คราวนี้ฟังการออกแบบร้านคาเฟ่อะเมซอนสาขาสงขลาเมืองเก่า(เราเคยไปแล้วเขียนไว้) และงานอนุรักษ์ตึกแถวที่สิงคโปร์จากอาจารย์และสถาปนิกของ NUS สิงคโปร์

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา