22 ธ.ค. 2022 เวลา 03:59 • สิ่งแวดล้อม
ดัชนีคุณภาพอากาศ (Air Quality Index : AQI) เป็นการรายงานข้อมูลคุณภาพอากาศในรูปแบบที่ง่ายต่อความเข้าใจของประชาชนทั่วไป โดยเป็นค่าอากาศในแต่ละพื้นที่ ดัชนีคุณภาพอากาศ 1 ค่า ใช้เป็นตัวแทนค่าความเข้มข้นของสารมลพิษทางอากาศ 6 ชนิด ได้แก่
๑) ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5)
๒) ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10)
๓) ก๊าซโอโซน (O3)
๔) ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO)
๕) ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2)
๖) ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2)
คุณภาพอากาศของประเทศไทยแบ่งเป็น 5 ระดับ คือ ตั้งแต่ 0 ถึง 201 ขึ้นไป ซึ่งแต่ละระดับจะใช้สีเป็นสัญลักษณ์เปรียบเทียบระดับของผลกระทบต่อสุขภาพ โดยคุณภาพอากาศ 100 จะเป็นค่ามาตรฐานอากาศโดยทั่วไป หากสูงเกินกว่า 100 แสดงว่าค่าความเข้มข้นของมลพิษทางอากาศมีค่าเกินมาตรฐานและคุณภาพอากาศในวันนั้นจะเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน
#ข้อสังเกต ค่าฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน (PM2.5) นั้นเป็นคนละตัวกับค่า AQI (เป็นส่วนหนึ่งที่ถูกคำนวนในค่า AQI) โดยกรมควบคุมมลพิษกำหนดค่ามาตรฐานของประเทศไทย โดยใช้ค่ามาตรฐานเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ซึ่งหากค่า PM2.5 สูงกว่า 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ถือว่าเป็นระดับที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ ส่วนใหญ่ในแอพพลิเคชั่นจะแยกค่า AQI และค่า PM2.5 ออกจากกัน หากประชาชนต้องการทราบข้อมูลสามารถกดเข้าไปดูได้ในแต่ละหมดที่ทางแอพพลิเคชั่นกำหนด
ค่า AQI ของไทยและ US นั้นใช้สีและคำเตือนที่ใกล้เคียงกัน สามารถศึกษารายละเอียดได้ในตารางข้างล่าง
ที่มา
๑) เว็บไซต์ กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง กรมควบคุมมลพิษ
๒) เว็บไซต์ pollutionclinic.com
๓) เว็บไซต์ iqair.com
โฆษณา