Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
อ่าน เขียน เรียน รู้
•
ติดตาม
23 ธ.ค. 2022 เวลา 02:00 • สุขภาพ
เป็นไข้หวัดใหญ่เสี่ยงต่อโรคหัวใจจริงหรือ
เชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนยังมีการระบาดอยู่ทั่วโลก มิได้หมดไป ขณะนี้เรามีวัคซีนป้องกันและยาที่ไช้รักษาจนทำให้อัตราการเสียชีวิตลดลงเป็นอย่างมาก จนปัจจุบันมีการใข้ชีวิตตามปกติวิถีใหม่มากขึ้นเรื่อย ๆ ถึงกระนั้นยังมีเชื้อโรคตัวหนึ่ง ที่มิใช่โควิด-19 ที่เราต้องระวัง เชื้อตัวนี้มีการระบาดเกือบทุกปีเป็นระลอก ๆ แต่เรามักไม่ให้ความสำคัญ เชื้อโรคนั้นคือ เชื้อไข้หวัดใหญ่ (influenza)เรียกสั้น ๆ ว่า ฟลู (flu)
ปกติแล้วเชื้อไข้หวัดใหญ่ เมื่อเราติดเชื้อจะทำให้เกิดอาการของทางเดินหายใจ ตั้งแต่จมูกลงไปถึงปอด ร่วมกับมีอาการไข้ และปวดเมื่อยตามตัว อาการเหมือนหวัดแต่อาการจะกนักกว่าไข้หวัดธรรมดา
นอกจากอาการทางเดินหายใจแล้ว มีนักวิทยาศาสตร์พบข้อสังเกตสำคัญเมื่อราว 90 ปีที่ผ่านมาว่า ในฤดูกาลการระบาดของไข้หวัดใหญ่ มีผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลด้วยเรื่องโรคหัวใจ โดยเฉพาะโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (acute myocardial infarction) มากขึ้นในช่วงเวลาเดียวกัน และมีการศึกษาต่อ ๆ มา ทั้งทางระบาดวิทยา และในสัตว์ทดลองพบว่า การติดเชื้อไข้หวัดใหญ่นั้น เพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันสูงขึ้น 2 เท่า
กลไกที่เชื่อมโยงระหว่างการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่และโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน มีคำอธิบายว่า การติดเชื้อไวรัสดังกล่าวทำให้ร่างกายเกิดการอักเสบและมีการกระตุ้นระบบการแข็งตัวของเลือด ก่อให้เกิดการอุดตันของหลอดเลือดได้ง่ายกว่าปกติ นอกจากนี้้เชื้อโรคดังกล่าวยังกระตุ้นให้เกิดคราบพลัก (plaque) บนผนังหลอดเลือดทำให้หลอดเลือดหัวใจตีบตันตามมาได้
เมื่อเป็นเช่นนี้ เราจะทำอย่างไรที่จะลดความเสี่ยงทั้งการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่และโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
ตอบได้อย่างเต็มปากเต็มคำว่า “ต้องฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่” เพื่อป้องกันการติดเชื้อแม้ว่าจะป้องกันได้ไม่ร้อยเปอร์เซ็นต์ก็ตาม แต่ก็สามารถลดความรุนแรงของโรคได้ นอกจากนี้มีงานวิจัยสนับสนุนชัดเจนว่า การเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ สามารถป้องกันโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันได้ โดยลดความเสี่ยงลง 29%
เมื่อเข้าใจเช่นนี้ว่า ไข้หวัดใหญ่เพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน และวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ สามารถป้องกันการติดเชื้อ และลดความรุนแรงของการติดเชื้อ แถมยังสามารถป้องกันโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันได้อีก
ดังนั้นแล้ว เราควรมารับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่กัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้สูงอายุและผู้มีโรคประจำตัวต่าง ๆ โดยฉีดปีละ 1 ครั้ง วัคซีนตัวนี้เป็นวัคซีนเชื้อตายที่มีความปลอดภัยสูง และผลข้างเคียงน้อย เรามาฉีดกันเถอะครับ
อ้างอิง
Barnes M, Heywood AE, Mahimbo A, et al. Heart 2015;101:1738–1747.
สุขภาพ
ไลฟ์สไตล์
missiontothemoon
บันทึก
3
1
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
รู้ทันหมอ
นานาสาระ โควิด-19
3
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย