Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Think Trade Think DITP
•
ติดตาม
23 ธ.ค. 2022 เวลา 01:00 • การตลาด
ศึกรังนกไทย – เวียดนาม
รังนกเป็นที่นิยมในเอเชีย เริ่มมาจากความเชื่อในสมัยฮ่องเต้ ด้านสรรพคุณบำรุงกำลัง บำรุงสุขภาพ บำรุงผิวพรรณ และชะลอความชรา มาจนภึงปัจจุบัน และถ่ายทอดวัฒนธรรมการรับประทานรังนก สู่ประเทศต่างๆ เช่น ญี่ปุ่น สิงคโปร์ เวียดนาม รวมถึงไทย
ผู้แข่งขันรายใหม่ในตลาดจีน
วันที่ 14 พฤศจิกายน 2565 ศุลกากรแห่งชาติจีน (GACC) ประกาศอนุญาตนำเข้ารังนกเวียดนามที่ผ่านมาตรฐาน โดยรังนกที่ได้รับอนุญาตนำเข้าเป็นรังนกบริสุทธิ์ (ผ่านการคัดขนออก และทำความสะอาดแล้ว) และผลิตภัณฑ์รังนกสำเร็จรูปพร้อมรับประทาน
ถ้ำรังนกต้องขึ้นทะเบียนกับหน่วยงานควบคุมของเวียดนามพร้อมแจ้งให้ฝ่ายจีนทราบ และโรงงานแปรรูปรังนกต้องขึ้นทะเบียนกับ GACC ปัจจุบัน GACC ยังไม่ได้ประกาศรายชื่อโรงงานแปรรูปรังนกที่ขึ้นทะเบียนกับ GACC นอกจากนี้เวียดนามต้องสร้างระบบตรวจสอบย้อนกลับของรังนกจากถ้ำรังนกถึงขั้นตอนการส่งออก และรับรองว่าสามารถเรียกคืนผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องในกรณีที่เกิดปัญหา รวมถึงสามารถเรียกร้องความรับผิดชอบจากถ้ำรังนกที่ขึ้นทะเบียนได้
ข้อมูลจาก กระทรวงเกษตร และพัฒนาชนบทเวียดนาม ระบุว่า อุตสาหกรรมรังนกของเวียดนามมีการพัฒนาและเติบโตตั้งแต่ปี 2553 ปัจจุบันเวียดนามมีผู้ประกอบการรังนกมากกว่า 22,000 ราย ผลผลิตต่อปีประมาณ 120 ต้น มูลค่า 450 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วน 3% ของผลผลิตรังนกทั้งหมดของโลก
สถานการณ์บริโภครังนกในจีน
จีนเป็นประเทศที่ผู้บริโภครังนกที่ใหญ่ที่สุดของโลก ปี 2564 ตลาดรังนกในจีนมีมูลค่ามากกว่า 40,000 ล้านหยวน ขยายตัว 33% (YOY) จนถึงสิ้นปี 2564 บริษัทที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับรังนกเพื่อบริโภคที่ได้เข้าระบบตรวจสอบย้อนหลังของ Chinese Academy of Inspection and Quarantine (CAIQ) จำนวน 18,468 ราย ประกอบด้วยบริษัทจีน 18,397 ราย (บริษัทแปรรูป 100 ราย บริษัทนำเข้า 482 ราย บริษัทจำหน่าย 17,615) และบริษัทแปรรูปต่างประเทศ 71 ราย
โดยมีผู้บริโภคใช้บริการเพื่อตรวจสอบข้อมูลย้อนกลับจำนวน 17.5 ล้านครั้ง ตลาดบริโภคหลัก ประกอบด้วยตลาดสตรีมีครรภ์ ตลาดคนรักษาสุขภาพ ตลาดของขวัญ ของกำนัล และตลาดอาหารทั่วไป โดยกลุ่มผู้บริโภคส่วนมากเป็นกลุ่มที่มีอายุระหว่าง 20 – 35 ปี ซึ่งมีสัดส่วนคิดเป็น 60%
สถานการณ์นำเข้ารังนกในจีน
ตลาดจีนต้องพึ่งพาการนำเข้ารังนกเป็นหลัก ปัจจุบันจีนอนุญาตนำเข้ารังนกจากต่างประเทศเป็นจำนวน 4 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย และเวียดนาม โรงงานแปรรูปที่ได้ขึ้นทะเบียนกับ GACC ทั้งหมด 77 ราย ประกอบด้วย มาเลเซีย 41 ราย อินโดนีเซีย 33 ราย ไทย 3 ราย
ข้อมูลจาก GACC พบว่า ปี 2564 จีนนำเข้ารังนกจากต่างประเทศ (HS Code 4100010) มีปริมาณ 352.52 ล้านหยวน ประกอบด้วย อินโดนีเซีย 2,264,39 ล้านหยวนคิดเป็นสัดส่วน 64.30% มาเลเซีย 1,255.96 ล้านหยวน คิดเป็นสัดส่วน 35.66% ไทย 1.37 ล้านหยวน คิดเป็นสัดส่วน 0.04%
ข้อมูลจาก CAIQ พบว่า ปี 2564 รังนกนำเข้าที่เข้าระบบตรวจสอบย้อนกลับของ CAIQ เป็นรังนกบริสุทธิ์ 331.1 ตัน ผลิตภัณฑ์รังนกพร้อมรับประทาน 25.9 ต้น รังนกขน 17.8 ตัน โดยนำเข้ารังนกบริสุทธิ์จากประเทศอินโดนีเซีย 228.5 ตัน ลดลง 14.4% (YOY) มาเลเซีย 102.5 ตัน เพิ่มขึ้น 47.1% (YOY) และไทย 0.1 ตัน (ไม่มีการเปลี่ยนแปลง) ไทยมีรังนกบ้านหรือรังนกคอนโด จำนวน 10,020 หลัง ถ้ำรังนกที่ขึ้นทะเบียนสามารถส่งออกได้มีจำนวน 21 ถ้ำสามารถผลิตรังนกได้ ปีละ 8 ตัน
บริษัทที่ขึ้นทะเบียนกับ GACC จำนวน 3 ราย ได้แก่ บริษัท Siam International Bird Nest Co.,Ltd กำหนดเวลาระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม 2561 – 31 กรกฎาคม 2566 บริษัท Siam South Sea Bird’s Nest Co.,Ltd. กำหนดเวลาระหว่าง 1 สิงหาคม 2561 – 31 กรกฎาคม 2566 และบริษัท Power Star Enterprise Co.,Ltd กำหนดเวลาระหว่างวันที่ 8 กรกฎาคม 2565 – 8 กรกฎาคม 2570
ข้อเสนอแนะและข้อคิดเห็นของสำนักงานส่งเสริมการค้าต่างประเทศ
รังนกไทยที่จำหน่ายในตลาดจีนส่วนมากเป็นผลิตภัณฑ์รังนกสำเร็จรูปพร้อมรับประทาน และเน้นช่องทางจำหน่ายผ่าน E-commerce เป็นหลัก ได้รับความนิยมจากผู้บริโภค เช่น แบรนด์ Ninest , Nana,Boki , Bwell, B BIRD Bird Nest , Blumarine ผู้ประกอบการที่ประสงค์ส่งออกรังนกไปยังจีนควรเร่งใช้โอกาสหลังเหตุการณ์แพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ที่ประชาชนจีนให้ความสำคัญกับการรักษาสุขภาพมากขึ้น
รวมถึงโอกาสของนโยบายลูกคนที่สอง (เริ่มดำเนิน ตุลาคม 2558) และลูกคนที่สาม (เริ่มดำเนิน สิงหาคม 2564) ของจีนทำให้สตรีมมีครรภ์มีจำนวนเพิ่มขึ้น และส่งเสริมให้ความต้องการบริโภครังนกเพิ่มขึ้นตาม อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการไทยต้องให้ความสำคัญกับคุณภาพของผลิตภัณฑ์รังนก และยึดคุณภาพเป็นจุดขายสำคัญ และสร้างความโดดเด่นกับผลิตภัณฑ์ในการแข่งขัน
Reference
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ เมืองหนานหนิง สาธารณรัฐประชาชนจีน
ธุรกิจ
เศรษฐกิจ
จีน
4 บันทึก
2
4
4
2
4
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย