4 ม.ค. 2023 เวลา 00:00 • ธุรกิจ

ไทยเตรียมเก็บ "ภาษีคาร์บอน" ปรับธุรกิจ เซฟโลก

เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2565 มีการประชุม APEC 2022 พูดถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมพร้อมประการจุดยืนของไทยต่อการร่วมแก้ปัญหาภาวะโลกร้อน ทำให้ประเด็น “ภาษีคาร์บอน” เป็นสิ่งที่กำลังถูกพูดถึงในวงการธุรกิจไทย เมื่อ EU ตั้งเป้าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อไม่ให้อุณหภูมิโลกถึง 1.5 องศา
เมื่อภาษีคาร์บอนเข้ามามีบทบาทในไทย K SME จึงอยากชวนเจ้าของธุรกิจทุกท่านเตรียมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงนี้ เพื่อปรับธุรกิจควบคู่ไปกับการรักษ์โลกอย่างยั่งยืน
ภาษีคาร์บอน คือภาษีที่รัฐเรียกเก็บจากการผลิต และจำหน่ายที่ใช้เชื้อเพลิง เช่น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน ซีเมนต์ ซึ่งปล่อยออกชั้นบรรยากาศโลก ทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจก ต้นเหตุของภาวะโลกร้อน
1
ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของไทยอยู่อันดับที่ 21 ของโลก โดยมีปริมาณ 0.8% ภายในงานประชุม COP26 ไทยประกาศปรับแผนมุ่งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 40% ภายในปี 2030 (จากเดิม 30%)
1
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่าการจัดเก็บภาษีคาร์บอนสามารถทำได้ทั้งทางตรงและทางอ้อมดังนี้
📌 กรณีจัดเก็บภาษีคาร์บอนทางตรงจากการผลิต
ต้องมีการออกแบบกระบวนการตรวจสอบปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยจากกระบวนการผลิต และการรายงานผลให้กับกรมสรรพสามิต รวมถึงเพื่อให้สอดคล้องกับการปฏิบัติตาม EU –CBAM และ ร่างพระราชบัญญัติการเปลี่ยนสภาพภูมิอากาศ
📌 กรณีจัดเก็บภาษีคาร์บอนทางอ้อมจากเชื้อเพลิงฟอสซิล
กรมสรรพสามิตสามารถเริ่มจัดเก็บภาษีเชื้อเพลิงฟอสซิลให้อ้างอิงกับปริมาณ CO2 ที่ได้จากการเผาไหม้ได้ทันที โดยกำหนดอัตราภาษีจากเชื้อเพลิง ตามกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตที่อ้างอิงกับปริมาณ CO2 และปริมาณการปล่อย CO2 ของเชื้อเพลิงแต่ละประเภท
ทั้งนี้ควรดำเนินการแบบค่อยเป็นค่อยไป เพื่อให้ผู้ประกอบการได้มีการปรับตัว
แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่ SME ในไทยต้องปรับตัว
Energy (พลังงาน) ⚡️
ตั้งแต่กระบวนการผลิต ไปจนถึงการจัดจำหน่ายต้องประหยัดพลังงานให้มากที่สุด หันมาเลือกใช้พลังงานทดแทน เพื่อประหยัดพลังงาน เช่น แผงโซลาเซลล์ กังหันลม
Business (ธุรกิจ) 💼
ปรับโครงสร้างธุรกิจโดยใช้โมเดล ESG มุ่งพัฒนาสินค้าไปพร้อมกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน โดยปรับโครงสร้างการผลิตให้ครอบคลุมกับประหยัดพลังงาน
Product (ผลิตภัณฑ์) 📦
ผลิตสินค้า Green Product สินค้าสีเขียว ลดปริมาณบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ครั้งเดียว เช่น ขวาดพลาสติก หลอด เปลี่ยนมาผลิตหรือปรับเป็นสินค้าใช้ได้หลายครั้ง
ที่มา : ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, ERDI.CMU
📍อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ 👉 https://kbank.co/3Fb7ScU
#KSME #KBankLive
โฆษณา