Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
BBLAM
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
23 ธ.ค. 2022 เวลา 12:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
3 เทคนิค ขายคืนกองทุน SSF อย่างไรไม่ให้ยุ่งยาก
ผู้ลงทุนหลายคนที่ต้องการใช้สิทธิลดหย่อนภาษี ช่วงเวลาปลายปีแบบนี้ คงกำลังเร่งหากองทุน SSF หรือ RMF เพื่อลงทุนกันอย่างแน่นอน
แต่ก็มีผู้ลงทุนอีกหลายท่านที่มีความกังวลเกี่ยวกับเรื่องเงื่อนไขการลงทุนว่า เมื่อครบกำหนดระยะเวลาลงทุนแล้ว การขายคืนกองทุนจะยุ่งยากไหม หรือซับซ้อนเกินไปหรือเปล่า ? เพราะกลัวจะทำผิดเงื่อนไข นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ใครหลายคนยังไม่กล้าที่จะเลือกลงทุนกับกองทุนลดหย่อนภาษี
อยากจะบอกว่า “ไม่ยุ่งยากเลย” ยิ่งถ้าเป็นกองทุน RMF หากกองทุนครบระยะเวลาลงทุนที่กำหนดตามเงื่อนไข คือ ลงทุนอย่างน้อย 5 ปี และถือครองจนถึงอายุ 55 ปีบริบูรณ์ ผู้ลงทุนก็สามารถขายคืนทั้งหมดได้ภายในก้อนเดียวเลย หรือจะทยอยขายคืนเป็นเดือน ๆ ไปก็สามารถทำได้เช่นกัน
แต่สำหรับกองทุน SSF อาจมีความยากขึ้นมาหน่อย เนื่องจากเงื่อนไขการลงทุนของกองทุน SSF มีความแตกต่างจาก RMF ในเงื่อนไขที่ว่า “เมื่อลงทุนแล้วต้องถือการลงทุนนั้นไป 10 ปีเต็ม นับจากวันที่ซื้อแบบวันชนวัน จึงจะสามารถขายคืนได้”
ด้วยเหตุผลนี้ จึงทำให้ผู้ที่ซื้อกองทุนอาจสับสนได้ว่า ควรจะขายคืนกองทุนเมื่อไรดี ซึ่งวันนี้ BBLAM จะมาแชร์ 3 เทคนิค ที่จะทำให้การขายคืนกองทุนลดหย่อนภาษี อย่าง SSF ไม่ยุ่งยากอีกต่อไป
เทคนิคที่ 1 ขายคืนทุกวันสุดท้ายของเดือน
2
หากผู้ซื้อกองทุนมีการลงทุนในกองทุน SSF อย่างสม่ำเสมอทุก ๆ เดือน แต่อาจไม่ได้เจาะจงวันที่ หรือมีวันที่ลงทุนไม่แน่นอน การใช้เทคนิคขายคืนทุกวันสุดท้ายของเดือนเมื่อครบกำหนด จึงเป็นวิธีที่ตอบโจทย์
เช่น เดือนนี้ลงทุนวันที่ 1 แต่เดือนหน้าลงทุนวันที่ 5 กรณีเช่นนี้อาจมีการสับสนได้ว่า เมื่อครบ 10 ปีแล้ว ควรจะขายคืนวันไหน หากเป็นเช่นนี้ การขายคืนทุกวันสุดท้ายของเดือน จึงเป็นวิธีที่ปลอดภัยที่สุด
เทคนิคที่ 2 ขายคืนแบบ + 3 วัน
สำหรับวิธีนี้จะเหมาะกับผู้ที่ลงทุนในกองทุน SSF อย่างสม่ำเสมอทุกเดือน และมีวันลงทุนที่แน่นอน หรือใช้วิธีการลงทุนแบบหักเงินลงทุนอัตโนมัติ
เมื่อครบกำหนดการลงทุน แนะนำให้เผื่อวันที่ขายคืนออกไปสัก 3 วัน เพราะในช่วงที่เราลงทุนทุก ๆ เดือน หากเรากำหนดวันที่ลงทุนแน่นอน
แต่บางเดือนวันที่เราต้องการตัดเงินเพื่อลงทุนไปตรงกับวันเสาร์-อาทิตย์ วันที่ตัดเงินเพื่อลงทุนก็อาจจะขยับไปตัดเงินในวันจันทร์ ดังนั้น การเผื่อเวลาขายคืนออกไปสัก 3 วัน จึงเป็นวิธีที่ปลอดภัยที่สุด
3
เช่น ผู้ซื้อกองทุนลงทุนในกองทุนรวม SSF โดยการหักเงินลงทุนอัตโนมัติ ทุกวันที่ 25 หากเดือนใดวันที่ 25 ตรงกับวันเสาร์ วันหักเงินก็จะถูกเปลี่ยนไปเป็นวันจันทร์ที่ 27 ทันที ดังนั้น การขายคืนสำหรับผู้ที่หักเงินอัตโนมัติ หรือมีวันลงทุนที่แน่นอน เพื่อไม่ให้ผิดเงื่อนไขการลงทุน แนะนำว่าควรขายคืนช้าออกไป 3 วัน จะปลอดภัยมากกว่า
เทคนิคที่ 3 ซื้อทุกเดือน แต่ขายคืนครั้งเดียว
กรณีนี้เหมาะกับผู้ที่ลงทุนในกองทุน SSF ทุกเดือน แต่ยังไม่มีความจำเป็นต้องใช้เงิน ดังนั้น เมื่อครบกำหนดเงื่อนไขการลงทุนแล้ว ยังไม่ต้องรีบขายคืนกองทุนออก อาจรวบยอดขายคืนสำหรับการลงทุนทั้งปี แล้วขายคืนในครั้งเดียว หรือจะขายคืนครั้งเดียวโดยนับไป 10 ปี หลังครบกำหนดการลงทุนครั้งสุดท้าย
เช่น หากลงทุนครั้งสุดท้ายในปี 2567 ก็สามารถขายคืนรวบครั้งเดียวได้ในช่วงปี 2577 หรือจะขายคืนหลังจากนั้นไปก็ได้ ขึ้นอยู่กับเป้าหมายที่เราต้องการจะใช้เงินลงทุนของก้อนนี้
▪️ อ่านมาถึงตรงนี้ เชื่อว่าใครที่กำลังมองหากองทุนลดหย่อนภาษี แต่กังวลเรื่องช่วงเวลาในการขายคืน ก็คงหายกังวลใจได้แล้ว ง่าย ๆ เพียงแค่นำ 3 เทคนิคนี้ไปปรับใช้ ก็เปลี่ยนเรื่องยุ่งยากให้กลายเป็นเรื่องง่ายได้
นอกจากจะได้เทคนิคในการขายคืนกองทุนแล้วนั้น ยังได้เคล็ดลับในการลงทุน เพื่อไม่ให้การขายคืนนั้นยุ่งยากอีกด้วย เรียกว่าศึกษาเรื่องเดียว แต่ได้ประโยชน์คุ้มคูณสองไปเลย
ทั้งนี้ สำหรับใครที่ยังเลือกกองทุนไม่ได้ BBLAM ขอแนะนำกองทุนลดหย่อนภาษีในรูปแบบผสม ที่มีการกระจายการลงทุนไปในหลากหลายสินทรัพย์ อย่างกองทุน B-INCOMESSF หรือหากต้องการลงทุนในกองทุนหุ้นไทยโดยเฉพาะ ก็มีกองทุน BEQSSF ให้เลือก หรือหากใครที่เน้นลงทุนตามเทรนด์อนาคตโลก BBLAM ก็มีกองทุนธีมนวัตกรรมอย่าง B-INNOTECHSSF, BCARESSF หรือ B-SIPSSF ให้เลือกลงทุนได้ตามต้องการ
สามารถอ่านรายละเอียดกองทุนนี้ได้ที่
B-INCOMESSF :
https://www.bblam.co.th/.../b-incomessf/b-incomessf/9179
BEQSSF :
https://www.bblam.co.th/.../super-savings-fund/beqssf/9345
B-INNOTECHSSF :
https://www.bblam.co.th/.../mutu.../9176/b-innotechssf/14865
BCARESSF :
https://www.bblam.co.th/.../mutual-funds/9176/bcaressf/16364
B-SIPSSF :
https://www.bblam.co.th/.../mutual-funds/9176/b-sipssf/14054
สำหรับผู้ที่สนใจลงทุนสามารถลงทุนได้ง่าย ๆ ผ่านโมบายแบงก์กิ้ง จาก ธนาคารกรุงเทพ และสำหรับผู้ลงทุนกองทุน RMF และ SSF ผ่านช่องทางของธนาคารกรุงเทพ สามารถชำระเงินลงทุนผ่านบัตรเครดิตธนาคารกรุงเทพได้อีกด้วย
ลูกค้า โมบายแบงก์กิ้ง จาก ธนาคารกรุงเทพ เลือกเพื่อลงทุนได้เลย คลิกลิงก์
https://www.bangkokbank.com/.../Save-And-Invest/Mutual-Funds
หรือลงทุนผ่าน BF Fund Trading จาก BBLAM ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
https://tinyurl.com/kfsebd74
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวน ได้ที่ BBLAM โทร 0 2674 6488 กด 8
www.bblam.co.th
หรือตัวแทนขายที่ได้รับการแต่งตั้ง ได้แก่ บมจ.ธนาคารกรุงเทพ โทร. 1333
บมจ.หลักทรัพย์ บัวหลวง โทร. 0-2231-3777 or 0-2618-1000
บมจ.กรุงเทพประกันชีวิต โทร. 0-2777-8999
บมจ.หลักทรัพย์ โนมูระ พัฒนสิน โทร. 0-2638-5500
บจ.หลักทรัพย์ เอเซีย พลัส โทร. 0-2680-1234
บมจ.หลักทรัพย์ ฟิลลิป (ประเทศไทย) โทร. 0-2635-1700
บมจ.หลักทรัพย์ เกียรตินาคินภัทร โทร. 0-2305-9449
บจ.หลักทรัพย์ ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) โทร. 0-2657-7000
บมจ.หลักทรัพย์ กรุงศรี โทร. 0-2659-7000
บมจ.หลักทรัพย์ เคจีไอ (ประเทศไทย) โทร. 0-2658-8889
บจ.หลักทรัพย์ อินโนเวสท์ เอกซ์โทร. 0-2949-1000
บจ.หลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา โทร. 0-2026-5100 กด 1
คำเตือน: การลงทุนมิใช่การฝากเงินและมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับเงินลงทุนคืนเต็มจำนวนเมื่อไถ่ถอน (ไม่คุ้มครองเงินต้น) / ผู้ลงทุนต้องศึกษาและทำความเข้าใจลักษณะสินค้า ข้อมูลสำคัญ นโยบายการลงทุน เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุในคู่มือการลงทุน SSF ก่อนการตัดสินใจลงทุน / กองทุนที่มีการลงทุนในต่างประเทศ มิได้มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมด
ทั้งนี้ อยู่ในดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน ดังนั้น ผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนจากการลงทุนในกองทุนดังกล่าว หรืออาจได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
ssf
rmf
bblam
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย