Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
สุพรรณวันนี้ สุพรรณวันหน้า
•
ติดตาม
25 ธ.ค. 2022 เวลา 04:29 • หุ้น & เศรษฐกิจ
เศรษฐกิจในจังหวัดเราจะดีกว่าเดิมได้อย่างไร กับภาวะเศรษฐกิจที่ยุ่งเหยิงขนาดนี้
“ตัวฉันเกิดมาเป็นหนุ่มสุพรรณ ทํานาตากแดดทั้งวัน จนตัวฉันนั้นมันดําปิ๊ดปี๋…” นี่คือคำร้องท่อนหนึ่งของเพลงหนุ่มสุพรรณ ประโยคเดียวที่สามารถสื่อถึงจังหวัดสุพรรณบุรีได้ดี เป็นจังหวัดที่ขึ้นเชื่อเรื่องการทำเกษตรกรรมมากที่สุดในแถบภาคกลาง และประชากรที่นี่ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก ทั้งทำนา ทำไร่ ทำสวน การปศุสัตว์ การประมง ฯลฯ โดยเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้แก่จังหวัดมากที่สุด
จังหวัดสุพรรณบุรีแบ่งเขตการปกครองเป็น 10 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองสุพรรณบุรี, เดิมบางนางบวช, ด่านช้าง, บางปลาม้า, ศรีประจันต์, ดอนเจดีย์, สองพี่น้อง, สามชุก, อู่ทอง และหนองหญ้าไซ ซึ่งแต่ละอำเภอมีจุดเด่นในด้านเกษตรกรรมที่แตกต่างกันออกไป แต่วันนี้เราจะขอเจาะลึกของอำเภออู่ทอง ที่มีพืชเศรษฐกิจที่น่าสนใจและสำคัญคือ “อ้อย”
จากการสำรวจในอำเภออู่ทอง พบว่า ประชากรที่ปลูกอ้อย ส่วนใหญ่มักเป็นเพศชาย ที่มีอายุเฉลี่ย 51 ปี จบการศึกษา ม.3 หรือ ป.6 และมีประสบการณ์การปลูกอ้อยไม่น้อยกว่า 22 ปี โดยยึดถือการทำไร่อ้อยเป็นอาชีพหลัก รองลงมาคือการทำนา แสดงให้เห็นว่า อาชีพปลูกอ้อยเป็นอาชีพของวัยกลางคนขึ้นไป ในรุ่นลูกรุ่นหลานยังไม่มีการสานต่ออาชีพนี้
เพราะภาพภายนอกอาจจะมองว่าอาชีพเหล่านี้ไม่ได้ทำให้เขาร่ำรวยหรือมีเงินมากกว่าการทำงานในเมืองหลวง แต่หารู้ไม่ว่า “อ้อย” เป็นพืชที่สำคัญทางเศรษฐกิจของสุพรรณบุรีโดยแท้ ไม่แพ้การทำนาปลูกข้าวสักนิด และตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน ตลาดมีความต้องการอ้อยและน้ำตาลอยู่ตลอดเวลา เรียกได้ว่าอุตสาหกรรมนี้มีแต่เติบโตขึ้นมาเรื่อยๆ นั่นเอง
ยิ่งไปกว่านั้นประเทศไทยเป็นประเทศที่ผลิตน้ำตาลจำหน่ายทั้งในประเทศและส่งออกต่างประเทศ เป็นอันดับที่ 2 ของโลก ในแต่ละปีมีปริมาณการส่งออกถึง 5.004 ล้านตัน สร้างรายได้เข้าประเทศได้กว่า
70,000 ล้านบาทต่อปี เกษตรกรชาวไร่อ้อยต้องเร่งผลิตอ้อยส่งโรงงานผลิตน้ำตาลไม่ต่ำกว่าปีละ 60 ล้านตัน ซึ่งจังหวัดสุพรรณบุรีได้เปรียบกว่าจังหวัดอื่นอย่างมาก
ตรงที่มีโรงงานผลิตน้ำตาลของมิตรผลอยู่ในพื้นที่อำเภอด่านช้าง จึงสะดวกและง่ายต่อการขนส่ง แต่ปัจจุบันเรากลับมีพื้นที่ปลูกอ้อยเพียง 76,644 ไร่ ผลผลิตอ้อยเฉลี่ย 10.35 ตันต่อไร่ ซึ่งยังถือว่าน้อยและไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาดด้วยซ้ำ
ด้านนายนพดล มาตรศรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคชาติไทยพัฒนา จ.สุพรรณบุรี ได้ให้ความเห็นในเรื่องไว้ว่า “หากรัฐสามารถจูงใจให้เกษตรกรหันมาปลูกอ้อย ให้เพียงพอต่อความต้องการของตลาดได้จะเป็นการช่วยเสริมความมั่นคงทางเศรษฐกิจตั้งแต่ระดับรากฐาน ไม่ว่าจะเป็นการจัดโครงการโซนนิ่งพื้นที่เกษตร โดยให้การสนับสนุนด้านเงินทุนและเทคโนโลยีแก่เกษตรกรในพื้นที่เป้าหมาย” ซึ่งในปัจจุบันในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล
มีกฎหมายกำหนดระบบแบ่งผลประโยชน์ที่ทุกฝ่ายยอมรับ โดยที่รัฐยังให้การสนับสนุนด้านการกำหนดราคา และเงินอุดหนุนเกษตรกร ทำให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยในปัจจุบันได้รับราคาอ้อย ขั้นสุดท้ายรวมกับเงินช่วยเหลือแล้ว เฉลี่ย 1,100 บาทต่อตัน แต่หากรัฐเพิ่มการสนับสนุนด้านเทคโนโลยี ที่จะทำให้ช่วยลดต้นทุนการเพาะปลูกต่อไร่ ก็จะทำให้ประหยัดลงได้กว่าเดิม เงินของเกษตรกรก็มากขึ้น รายได้มากขึ้น คุณภาพชีวิตก็ดีขึ้น และพลอยทำให้เศรษฐกิจดีขึ้นเช่นกัน
ข่าว
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย