Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
BETTERCM
•
ติดตาม
25 ธ.ค. 2022 เวลา 10:11 • สุขภาพ
🎅ข้อเข่าเสื่อม โรคที่มาพร้อมกับวัยชรา
ข้อเข่าเสื่อมพบได้มากในผู้สูงอายุ ทำให้เกิดอาการปวดเข่า บวมแดง เข่าฝืด ยึด มีเสียงดังในเข่า
🤶สาเหตุเกิดจากหลายกรณี เช่น
การมีน้ำหนักตัวมาก ทำให้เข่าต้องรับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นหลายเท่าตัวในขณะก้าวเดิน
ความเสื่อมสะสมจากการที่ใช้ข่อเข่าไม่ถูกต้อง
เคยได้รับอุบัติเหตุบริเวณข้อ
เคยเป็นโรคที่เกี่ยวกับไขข้อมาก่อน เช่น รูมาตอยด์
🧙♂️การใช้ข้อเข่าที่ถูกวิธีจะช่วยยืดอายุการใช้งานของข้อเข่าได้ ตัวอย่างเช่น
• การนั่งซักผ้าบนเก้าอี้เตี้ยๆ ควรเหยียดเข่าสองข้าง และควรซักน้อยชิ้น หากใช้เครื่องซักผ้าได้ก็จะเป็นการดี
• การรีดผ้า ควรหลีกเลี่ยงการนั่งพื้นรีดผ้า อาจต้องใช้เก้าอี้มาเป็นตัวช่วยหรือยืนรีด จะเหมาะสมกว่า
• ควรใช้ไม้ถูพื้น หรือทำความสะอาดพื้น เพื่อหลีกเลี่ยงการก้มถูพื้น
• หลีกเลี่ยงการนั่งพับเพียบไปวัดฟังเทศน์ หันมานั่งเก้าอี้แทน
• การนั่งขัดสมาธิบนเก้าอี้ แทนการนั่งบนพื้น
• เลี่ยงการนั่งพื้นที่ต้องงอเข่ามาก โดยเฉพาะเวลาลุกขึ้นลง
• หลีกเลี่ยงการใช้ส้วมที่นั่งยองๆ เพราะจะเพิ่มอาการปวดเข่า อาจปรับส้วมมาเป็นแบบนั่งชักโครก
ถึงแม้จะเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ข้อ การควบคุมน้้าหนักตัว การบริหารกล้ามเนื้อและออกกำลังเพื่อสุขภาพ ก็สามารถบรรเทาอาการไปได้
👨🔬การรักษาด้วยการใช้ยา
▪️ยาแก้ปวดพาราเซตามอล เป็นยาที่ควรเลือกใช้เป็นอันดับแรกในกรณีที่ปวดไม่มาก
ควรระวังการใช้ยานี้ในผู้ที่มีปัญหาการทำงานของตับผิดปกติ
ไม่ควรกินยานี้มากกว่า 3 กรัมต่อวัน (เทียบเท่าขนาดยา 500 มิลลิกรัม จำนวน 6 เม็ด)
และไม่ใช้ติดต่อกันเกิน 5 – 7 วัน
▪️ยาทาเฉพาะที่ ที่มีส่วนผสมของยาต้านการอักเสบ NSAIDSs และเจลพริก (Capsaicin) ใช้ทานวด
▪️ยาต้านการอักเสบไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) ในรูปของยากิน และยาฉีด ช่วยลดอาการปวดและอักเสบได้ดี เหมาะสำหรับลดอาการปวดเล็กน้อยถึงปานกลาง
ควรใช้ยาอย่างระมัดระวัง โดยเฉพาะ
ในผู้สูงอายุ
ผู้ที่ได้รับยาสเตียรอยด์ ยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด
ผู้ที่เป็นโรคกระเพาะอาหาร
มีปัญหา หอบหืด ตับ ไต หัวใจ
ผลข้างเคียงของยาที่พบได้ เช่น ไม่สบายท้อง ท้องอืด ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ผื่นคัน พิษต่อตับ ไต
ยากลุ่มนี้อาจทำให้บวมและความดันโลหิตสูงขึ้น จึงไม่ควรใช้ยา ติดต่อเป็นเวลานาน
ยาแก้ปวดชนิดออกฤทธิ์สั้น เหมาะสำหรับการรักษาอาการปวดแบบฉับพลันที่ใช้ระยะเวลาในการรักษาไม่นาน เมื่อหายปวดแล้วจึงหยุดใช้
ในขณะที่ยาแก้ปวดชนิดออกฤทธิ์ยาว เหมาะสมในการใช้บรรเทาอาการปวด เนื่องจากทำให้ไม่ต้องกินยาบ่อย
▪️ยาคลายกล้ามเนื้อ
การอักเสบทำให้กล้ามเนื้อโดยรอบเกร็งตึงได้ การใช้ยาคลายกล้ามเนื้อจะช่วยลดอาการเหล่านี้ ซึ่งการใช้ยากลุ่มนี้จะใช้ในระยะเวลาสั้นๆ และยาบางอย่างอาจทำให้ง่วงซึม ซึ่งผู้สูงอายุจะต้องระวังการลื่นหกล้มหน้ามืดเมื่อเปลี่ยนอิริยาบถอย่างกระทันหัน
▪️ยาแก้ปวดในกลุ่มอนุพันธ์ของฝิ่น ใช้สำหรับระงับอาการปวดปานกลางถึงรุนแรง การใช้ยาในกลุ่มนี้ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างเคร่งครัด และระวังการใช้ยาในผู้ป่วยลมชัก มีการทำงานของตับหรือไตผิดปกติ มีประวัติเป็นโรคในระบบทางเดินหายใจ ซึ่งอาการไม่พึงประสงค์ที่พบได้บ่อย เช่น คลื่นไส้อาเจียน ท้องผูก ง่วงซึม มึนศีรษะ กดการหายใจ เป็นต้น
▪️ยาช่วยประคองหรือยาลดความเสื่อมของข้อ เช่นGlucosamine sulfate, Diacerein, น้ำไขข้อเทียม (Hyaluronic acid)
ยากลุ่มนี้ออกฤทธิ์ช้า ไม่ควรใช้ในผู้ที่ข้อเสื่อมรุนแรง
▪️ยาฉีดสเตียรอยด์เข้าข้อ สามารถลดอาการปวดในช่วงสั้นๆ 2-3 สัปดาห์ ไม่ควรฉีดประจำ เนื่องจากจะทำลายกระดูกอ่อนข้อต่อ ใช้ในกรณีที่ปวดเฉียบพลันเท่านั้น
🔸กรณีที่ข้อเสื่อมมากหรือรุนแรง อาจต้องผ่าตัด
🧙♀️การใช้ยากลุ่มต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) อาจทำให้ผู้สูงอายุเสี่ยงต่อการเกิดความดันโลหิตสูงขึ้นหรือไตวายได้ ดังนั้นจึงควรเพิ่มความระมัดระวังในการใช้ยากลุ่มนี้ในผู้สูงอายุที่มีประวัติความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ หรือโรคไต
นอกจากนี้ผู้สูงอายุบางท่านที่มีโรคประจำตัว อาจใช้ยาหลายชนิดที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดยาตีกัน รวมทั้งการใช้วิตามิน สมุนไพร หรืออาหารเสริมบางชนิดที่ไม่ควรใช้ในผู้ป่วยโรคไต เพราะอาจทำให้แร่ธาตุในร่างกายผิดปกติหรือการทำงานของไตแย่ลงได้
การเลือกใช้จึงควรมีข้อมูลทางวิชาการที่ยืนยันถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัย รวมถึงแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบก่อนการเริ่มใช้สมุนไพรหรืออาหารเสริมต่างๆ เพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายที่จะเกิดตามมา
😀มีปัญหาเรื่องการใช้ยาเชิญปรึกษาเภสัชกร
.
.
💢
https://www.paolohospital.com/th-TH/phrapradaeng/Article/Details/บทความ-กระดูกและข้อ/โรคข้อเข่าเสื่อม-โรคที่มาพร้อมกับวัยชรา
https://www.bumrungrad.com/th/medical-clinics-bangkok-thailand/geriatric/services/elderly-medicine-usage
ภาพจาก
แนวทางเวชปฏิบัติการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม - Thai Rheumatism Association
https://thairheumatology.org/phocadownload/36/Guideline_003.pdf
การใช้ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ในผู้สูงอายุ
https://ccpe.pharmacycouncil.org/index.php?option=article_detail&subpage=article_detail&id=680
.
.
🔰บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน
ยาแก้ข้ออักเสบ (กลุ่มเอ็นเสด)..ระวังอันตรายต่อไต
รองศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรหญิง นงลักษณ์ สุขวาณิชย์ศิลป์
หน่วยคลังข้อมูลยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/googledocview.php?url=https://pharmacy.mahidol.ac.th/knowledge/files/0523.pdf
🔰ผลต่อไต การใฃ้ยา NSAID อย่างต่อเนื่อง
ดังนั้นการใช้ยากลุ่ม NSAIDs จะต้องพิจารณาถึงอายุและภาวะโรคร่วมของผู้ป่วยแต่ละรายประกอบกัน เพื่อพิจารณาความเสี่ยงที่อาจเกิดอาการข้างเคียงจากยาที่อาจส่งผลต่อไตในผู้ป่วยเฉพาะราย ซึ่งระยะเวลาที่ใช้ยาควรสั้นที่สุดเท่าที่จำเป็นเท่านั้น แต่ยังไม่มีข้อมูลของระยะเวลาการใช้ยากลุ่ม NSAIDs ที่จะไม่ทำให้เกิดอาการข้างเคียงจากการใช้ยาต่อไตอย่างแน่ชัด
http://www.prachanath.su.ac.th/DIS/npt_npt/answerq/ansform.php?Q_id=108
🔰ห่วงไต ห่างไกลเอ็นเสด
https://chulalongkornhospital.go.th/kcmh/line/ห่วงไต-ห่างไกลเอ็นเสด/
AGS 2019 BEERS Pocket-PRINTABLE.indd
http://files.hgsitebuilder.com/hostgator257222/file/ags_2019_beers_pocket_printable_rh.pdf
POSTED 2022.12.25
บทความอื่น
ข้อเข่าเสื่อม
https://www.blockdit.com/posts/615964b29832e20ca1cfe2cc
https://www.blockdit.com/posts/61925c097cdddb2a3adbb37c
🎃NSAIDs กับ โรคไต
https://www.blockdit.com/articles/5f749c7f1785be244572eb67
ยาห้ามใช้ในคนสูงอายุ BEER CRITERIA
https://www.blockdit.com/posts/61c46e424df633ecb6be9395
ยาที่ควรระวังในหญิงตั้งครรภ์ เด็ก และผู้สูงอายุ
https://www.blockdit.com/posts/634a47cf63e68db5f0b781d7
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย