26 ธ.ค. 2022 เวลา 01:00 • คริปโทเคอร์เรนซี
“Ransomware”ประโยชน์ของบิตคอยน์
1
หนึ่งในประโยชน์ของบิตคอยน์ที่เกิดขึ้นก็คือ การใช้เรียกค่าไถ่ ซึ่ง Ransomware โปรแกรมที่เข้ารหัสข้อมูลของเหยื่อ และเรียกค่าไถ่เพื่อแลกกับกุญแจที่ใช้ในการถอดรหัสข้อมูลให้กลับมาเหมือนเดิม
1
Ransomware เริ่มต้นครั้งแรกกับ AIDS ที่ Dr. Joseph Popp นักชีววิทยาได้ส่งแผ่นดิสก์ และแปะป้ายว่าเป็นข้อมูลเกี่ยวกับโรคเอดส์ ส่งให้กับผู้ที่อยู่ใน mailing list กว่า 20,000 คน ใครที่ Run ไฟล์บนแผ่นนั้น และ reboot เครื่องครบ 100 ครั้งก็จะพบกับข้อความที่บอกให้จ่ายเงิน $189 ให้กับ PC Cyborg Corporation ใน Panama เพื่อแลกกับกุญแจในการถอดรหัส
หลังจากนั้น ก็มี Ransomware กันประปราย แต่ด้วยความที่ระบบสถาบันการเงินที่มีการตรวจสอบลูกค้า (KYC) จึงทำให้การจ่ายค่าไถ่เป็นไปด้วยความยากลำบาก เพราะตำรวจสามารถที่จะตามจับคนร้ายได้ Ransomware บางตัวจึงเลือกให้จ่ายค่าไถ่ด้วย e-Gold (digital currency แรก ๆ ซึ่งต่อมาต้องปิดตัวลง เพราะมีแต่คนเอาไปใช้ทำธุรกรรมผิดกฎหมาย)
1
Cr : Kaspersky
แต่หลังจากการเกิดขึ้นของบิตคอยน์ได้ไม่นาน Ransomware ก็กลับมาอีกครั้ง โดยในปี 2013 CryptoLocker ซึ่งสามารถเรียกค่าไถ่ไปได้กว่า 41,928 BTC (คิดเป็นเงิน 27 ล้านเหรียญสหรัฐในเวลานั้น หรือมากกว่า 700 ล้านเหรียญสหรัฐในปัจจุบัน)
1
และกลายเป็นแรงบันดาลใจดี ๆ ให้กับอาชญากรอีกมากมายในการสร้างสรรค์ Ransomware อีกเป็นจำนวนมาก รวมทั้ง TorrentLocker, WannaCry, CryptoWall, REvil เป็นต้น
1
และเหมือนกับว่า ธุรกิจ Ransomware เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมไม่กี่อย่างที่สร้างการเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจในโลกบิตคอยน์ Comparitech พบว่าราคาค่าไถ่ที่เรียกโดยคนร้ายมีค่าสหสัมพันธ์กับราคาของบิตคอยน์มากถึง 0.73 (ถ้าจะให้เปรียบเทียบ ก็เหมือนคนร้ายคิดว่า 1 BTC = 1 BTC โดยไม่สนใจอัตราแลกเปลี่ยนสักเท่าใดนัก)
1
ในช่วงปี 2020-2021 ที่ราคาบิตคอยน์ขึ้นแบบที่ต้องร้องขอชีวิต อาชญากร Ransomware ก็มีชีวิตที่ "ดีย์"​ ตามไปด้วย จึงมีความสามารถในการจ้างทีมงานที่ใหญ่ขึ้น เพื่อสามารถพัฒนา Ransomware ให้ใช้ช่องโหว่ใหม่ ๆ ได้มากขึ้น
1
และเริ่มมีแนวคิดในการทำ Ransomware-as-a-service ซึ่งแทนที่จะลงทุนลงแรงปล่อย Ransomware เอง ก็ทำหน้าที่เป็นผู้ผลิต และให้บริการ Ransomware คล้ายกับธุรกิจคลาวด์ที่เรารู้จักกันดี
1
คนร้ายจะคอยพัฒนาระบบ Ransomware ใหม่ และเปิดบริการเว็บให้กับสมาชิกที่เอาไว้ให้เหยื่อมาแชตออนไลน์ ตกลงจ่ายค่าไถ่ และดึงกุญแจที่ใช้ในการถอดรหัสออกไป โดยคิดค่าบริการเหล่านี้กับสมาชิกเป็นรายเดือน โดยสมาชิกจะต้องไปพยายามหาวิธีปล่อย Ransomware เอง
2
สมาชิกจึงพยายามไปลงทุนลงแรงกับบริษัทขนาดกลาง/ใหญ่ และทำให้คนภายในบริษัทติดกับ และเผลอ Run Ransomware จนติดทั้งระบบ จนเหยื่อต้องยอมที่จะจ่ายค่าไถ่ เพื่อให้ระบบกลับมาทำงานดังเดิม
วันนี้ที่มาเขียนเรื่องนี้เล่าให้ฟังก็เพราะ หลังจากที่ราคาบิตคอยน์ตกต่ำ การโจมตีด้วย Ransomware ก็ลดลงตามไปด้วย แต่ตอนนี้กลับมาระบาดกันอีกครั้ง โดยกลุ่มคนร้ายที่ถูกขนานนามว่า HiveLeaks
1
คนร้ายกลุ่มนี้อาศัย Social Engineering หรือการส่งอีเมลของ Ransomware ให้เหยื่อเผลอเปิด รวมไปถึงช่องโหว่ของระบบต่าง ๆ เช่น Microsoft Exchange Server, Windows ในการระบาด
ระบบ HiveLeaks นี้ใช้การขู่ให้ลูกค้าจ่ายเงินด้วยแผนการ Triple Extortion โดยขั้นแรกขู่ให้ลูกค้าจ่ายเงิน เพื่อแลกกับกุญแจการถอดรหัสข้อมูล ขั้นที่สอง เว็บดังกล่าวมีข้อมูลชื่อลูกค้า
และเวลานับถอยหลัง พร้อมกับขู่ว่าถ้าลูกค้าไม่จ่ายเงิน ข้อมูลจะถูกเปิดเผยในที่สาธารณะ และต่อที่สาม คนร้ายทำการศึกษาข้อมูลเหล่านี้ เพื่อหาข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าของเหยื่อ ติดต่อลูกค้า และบอกว่าข้อมูลของลูกค้าจะถูกเปิดเผย ถ้าเหยื่อไม่จ่ายเงิน เพื่อสร้างแรงกดดันอีกทางหนึ่ง ถ้าหากบริษัทนั้นเป็นบริษัทใหญ่ คนร้ายอาจจะขู่ว่าจะติดต่อหน่วยงานกำกับ เช่น ก.ล.ต.​ เพื่อสร้างแรงกดดันอีกทางหนึ่งด้วย
2
ในตอนนี้ HiveLeaks ได้มีการอัพเดทโปรแกรมครั้งล่าสุด โดยเขียนขึ้นจากภาษา Rust ซึ่งยากต่อการตรวจสอบ ตรวจจับ อีกทั้งยังไม่มีช่องโหว่ของการเข้ารหัสเหมือนเวอร์ชั่นก่อนหน้า ทำให้หากไม่จ่ายเงินให้กับคนร้าย ก็แทบจะไม่มีทางถอดรหัสเองได้
1
Antivirus software หลายตัวยังไม่สามารถตรวจสอบ Ransomware ตัวนี้ได้ จึงทำให้สามารถหลบเลี่ยงการตรวจสอบได้ง่าย การป้องกันที่ดีที่สุดในวันนี้คือ
1
  • ลงระบบ Antivirus ที่ดี มีการ update virus definition อย่างสม่ำเสมอ รวมไปถึงระบบที่มีการใช้ AI ในการตรวจสอบพฤติกรรมที่ผิดปกติ
1
  • ลดสิทธิ์ของพนักงานในการเข้าถึงข้อมูลให้อยู่ในระดับที่จำเป็นเท่านั้น
1
  • การสำรองข้อมูลอย่างสม่ำเสมอในแบบที่ไม่สามารถถูกเขียนทับได้ (write-once) ในหลาย ๆ ที่ (redundant) และเก็บอยู่ในคนละ platform (เช่น online vs offline, windows vs linux เป็นต้น) และมีการทดสอบอย่างสม่ำเสมอว่า สามารถที่จะกอบกู้ข้อมูลได้ หากเกิดอะไร
1
  • อบรมพนักงานให้มีความระมัดระวังอยู่ตลอดเวลา
  • วางแผนระบบรักษาความปลอดภัยที่ดี มีการใช้ Multi-Factor Authentication
  • อัพเดทซอฟท์แวร์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อแก้ไขช่องโหว่ในซอฟท์แวร์
1
ใครที่รักบิตคอยน์อย่างเหลือประมาณ อ่านจบก็คงรู้สึกเฉย ๆ แต่สำหรับตัวผมเอง ผมเห็นว่า ระบบการเงินโลกเราผ่านการพัฒนามานับเป็นพัน ๆ ปี จนกระทั่งเราหาจุด "สมดุล" ถึงแม้มันจะไม่ได้ดีที่สุดกับทุก ๆ คน
แต่มันก็ทำให้คนดีอยู่ง่าย คนร้ายอยู่ยาก บิตคอยน์ที่ปฏิเสธความรับผิดชอบในทุก ๆ ด้าน โดยอ้างสิทธิเสรีภาพอย่างสุดประมาณ กลับกลายเป็นระบบที่ส่งเสริมให้คนไม่ดีได้อยู่สบาย
2
ท้ายสุดนี้ ผมขอฝากพระบรมราโชวาทที่เกี่ยวข้องที่เรามักจะเคยได้ยินกันเป็นประจำในอดีตกันครับ
ในบ้านเมืองนั้นมีทั้งคนดีและคนไม่ดี ไม่มีใครจะทำให้คน ทุกคนเป็นดีได้ทั้งหมด การทำให้ บ้านเมืองมีความปรกติสุขเรียบร้อย จึงมิใช่การทำให้ ทุกคนเป็นคนดี หาก แต่อยู่ที่การส่งเสริมคนดี ให้คนดีได้ ปกครองบ้านเมืองและควบคุมคนไม่ดีไม่ให้ มีอำนาจไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้…
พระบรมราโชวาทในพิธีเปิดงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติ จังหวัดชลบุรี ค่ายลูกเสือวชิราวุธ
1
อ้างอิง :
โฆษณา