25 ธ.ค. 2022 เวลา 18:30 • ไลฟ์สไตล์
สหราชอาณาจักร

หมาป่าถูกถลกหนังทั้งเป็น เกี่ยวอะไรกับโควิด19

หมาป่าถูกถลกหนังทั้งเป็น เกี่ยวอะไรกับโควิด19
หมาป่าถูกถลกหนังทั้งเป็น เกี่ยวอะไรกับโควิด 19 - TheStartup.online
หมาป่าถูกถลกหนังทั้งเป็น เกี่ยวอะไรกับโควิด 19
เป็นคลิปที่สะเทือนใจใครหลายคน โดยเฉพาะคนรักสัตว์
นักวิจัยของ Humane Society International/UK ได้เดินทางไปถ่ายทำที่ฟาร์มขนสัตว์ ซึ่งสุ่มเลือกไว้ 11 แห่ง เป็นฟาร์มในประเทศแถบเอเชีย ที่ส่งออกขนสัตว์ไปยังสหราชอาณาจักร
ในคลิปเผยให้เห็น ความทุกข์ทรมานของหมาป่า และแรคคูน หลายพันตัว ที่แออัดกันอยู่ในกรงลวดแคบ ๆ
เสียงร้องโหยหวนของหมาป่าดังระงมไปทั่วบริเวณฟาร์ม เสียงที่เกิดจากความเครียด ความหวาดกลัว และความเจ็บปวด
เมื่อประตูกรงเปิดออก มือเพชรฆาต ก็จับตัวมันกระชากออกมาจากกรง วางมันลงที่พื้น แล้วใช้ไม้กระบอง ฟาดไปที่หัวของมันอย่างแรง
เจ้าหมาป่าขนสีขาว ดิ้นชักกระตุกไปมาบนพื้นด้วยความเจ็บปวดสักพัก ร่างของมันก็นอนหมอบแน่นิ่งกับพื้น เลือดสีแดงสด ไหลออกมาจากปาก จากจมูกของมัน และไหลนองไปที่พื้น
จากนั้น มันถูกนำไปแขวนห้อยหัวเพื่อเตรียมถลกหนัง เพชรฆาตใช้มีดกรีดไปรอบลำตัวของมัน แล้วกระชากหนังของมันออกมาหมดทั้งตัว ไม่เว้นแม้แต่ส่วนหัวและใบหน้า
จากหมาป่าตัวอ้วนกลมขนสีขาวฟู ตอนนี้เหลือเพียงตัวเล็ก ๆ ที่ไร้ขนไร้หนังห่อหุ้ม ร่างขาวโพลนปนไปด้วยเลือดของมัน ถูกโยนไปกองรวมกับซากศพหมาป่าตัวอื่น ที่เป็นเพื่อนร่วมชะตากรรมเดียวกันกับมัน
แต่มันยังไม่ตาย! บนกองซากศพนั้น เนื้อตัวอันสั่นเทาของมัน พยายาม ตะเกียกตะกาย พยุงตัวเองให้ลุกขึ้น แต่มันลุกไม่ไหว สิ่งที่มันทำได้อย่างมาก ตอนนั้น เพียงแค่ผงกหัวอันสั่นเทาขึ้นมา มองไปรอบ ๆ บริเวณ มันยังคงมีความหวังที่จะหาหนทางหนีไปจากที่นี่
มันได้พยายามอย่างที่สุดแล้ว ที่จะเข้มแข็ง เพื่อรักษาชีวิตตัวเองให้รอดปลอดภัยจากอันตรายในครั้งนี้ แต่ร่างกายของมันก็ไม่อาจทนทรมานฝืนความเจ็บปวดได้อีกต่อไป
หลับให้สบายนะเจ้าหมาป่า เราได้แต่หวังว่าในชาตินี้ สิ่งเลวร้ายที่เจ้าได้พบเจอ จะเป็นครั้งแรก ครั้งเดียว และครั้งสุดท้ายในทุกภพชาติ ของดวงจิตเจ้า
#FurFreeBritain
คลิปนี้ถ่ายโดย นักวิจัยของ HSI/UK
TOWIE's Pete Wicks
TOWIE's Pete Wicks มีโอกาสได้เดินทางไปกับ องค์กรการกุศลเพื่อสัตว์ Humane Society International/UK
ในการสอบสวนโดย HSI/UK ร่วมกับองค์กรคุ้มครองสัตว์ของฟินแลนด์ Oikeutta Eläimille
ในฟาร์มขนสัตว์ที่ประเทศฟินแลนด์ กรงลวดยกสูงจากพื้นสร้างเป็นแถวยาว ภายในกรงแคบ ๆ นี้มีสุนัขจิ้งจอก และตัวมิ้งค์ มันต้องกิน นอน ขี้ เยี่ยว อยู่แค่ภายในกรงแคบ ๆ นี้เท่านั้น
 
ขี้และเยี่ยวของมัน บางส่วนจะติดอยู่ภายในกรง และบางส่วนจะตกลงไป กองสะสมที่พื้นดินด้านล่าง ส่งกลิ่นเหม็นคละคลุ้งไปทั่วบริเวณ
ภายในกรงลวด มีลูกสุนัขจิ้งจอกสีขาวตัวหนึ่งนอนตายอยู่ ส่วนลูกสุนัขจิ้งจอกที่ยังมีชีวิต เจ้าตัวเล็กร้อง งี๊ด งี๊ด มันกำลังพยายามหาวิธีที่จะเดินยังไง ไม่ให้ขาจิ๋วของมันตกลงไปในรูของตะแกรงลวด
แม่สุนัขจิ้งจอกที่อยู่ในกรง มองมาที่กล้อง แววตาของมันช่างเศร้าและสิ้นหวัง
ส่วนอีกกรง ตัวมิ้งค์ สองสามตัว กำลังเดินพล่านไปมาในกรงด้วยความหงุดหงิด มันเดินเหยียบซากศพเพื่อนของมัน ซึ่งนอนตายอยู่ที่พิ้นกรง
#FurFreeBritain
คลิปนี้ถ่ายโดย : TOWIE's Pete Wicks
Born In A Fur Farm
ชีวิตของมิงค์ตัวเมียที่ต้องถูกขังอยู่ในกรงเล็ก ๆ แคบ ๆ ในฟาร์มที่เปรียบเสมือน'นรกบนดิน' ความเครียด ความกดดัน ที่มันต้องเผชิญอยู่ทุกวันก่อนที่มันจะถูกรมแก๊สตาย นอกจากนี้มันยังต้องเจอกับความเลวร้ายทวีคูณเพิ่มขึ้นไปอีก
ในคลิปนี้เผยให้เห็นกระบวนการเพาะพันธุ์มิงค์ ในช่วงฤดูใบไม้ผลิปี 2021 คนงานจะจับมิงค์ตัวเมีย โยนเข้าไปในกรงมิงค์ตัวผู้ เพื่อให้มันผสมพันธุ์กัน
มิงค์ตัวเมีย ต้องตกเป็นเหยื่อทางอารมณ์ของมิงค์ตัวผู้ เมื่อมันถูกโยนเข้าไปในกรง มันมักจะถูกร่วมเพศด้วยความรุนแรง ทำให้มีเลือดออกที่อวัยวะเพศ และทำให้เป็นมดลูกอักเสบในที่สุด
นอกจากนี้ตัวเมียบางตัว ก็จะโดนตัวผู้ทำร้ายในขณะร่วมเพศ ตัวเมียบางตัวโดนตัวผู้กัดจนหัวเป็นแผลเหวอะหวะ บางตัวทนความเจ็บปวดไม่ไหว ในที่สุดก็นอนตายอยู่ในกรง
การฆ่าตัวมิงค์เพื่อเอาขน ทางฟาร์มจะโยนตัวมิงค์เข้าไปในห้องรมก๊าซคาร์บอน เพื่อให้มิงค์ขาดอากาศหายใจตาย
แต่เนื่องจากตัวมิงค์สามารถกลั้นหายใจใต้น้ำได้นานกว่า 10 นาที เจ้าของฟาร์มจึงสั่งให้คนงานทำอย่างไรก็ได้ให้ตัวมิงค์ตายเร็ว ๆ ก่อนที่เอาไปเข้าห้องรมแก๊ซ
คนงานต้องทำตามคำสั่งเจ้านาย เขาจับตัวมิงค์ออกมาบีบคอ ฟาดไปพื้น ฟาดไปที่กรงลวด พอมันแน่นิ่งแล้ว คนงานก็จะจับมันโยนลงไปในถังรวมกัน เพื่อนำไปเข้าห้องรมแก๊สพร้อมกันทีเดียว
ส่วนในฟาร์มขนสัตว์อื่น เช่น แรคคูณ หมาป่า นิยมฆ่าโดยใช้ไฟฟ้าช็อตที่ทวารหนัก หรืออวัยวะเพศของสัตว์ เพราะเป็นวิธีที่ไม่่ทำให้ขนสัตว์เกิดความเสียหาย
#FurFreeBritain
คลิปนี้ถ่ายโดย นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิสัตว์
"Baltic Devon Mink" (กลุ่ม Van Ansem)
ที่แฝงตัวเข้าไปทำงานในฟาร์มขนสัตว์ ฟาร์มใหญ่ที่สุดในลัตเวีย
Clip Link : Youtube
สรุปเนื้อหา : หมาป่าถูกถลกหนังทั้งเป็น เกี่ยวอะไรกับโควิด19
สรุปเนื้อหา : หมาป่าถูกถลกหนังทั้งเป็น เกี่ยวอะไรกับโควิด19
ปี 2000
สหราชอาณาจักร เป็นประเทศแรกในโลกที่ประกาศห้ามทำฟาร์มขนสัตว์ ด้วยเหตุผลทางจริยธรรม
จากวันนั้นจนถึงวันนี้ 20 กว่าปีแล้ว ที่สหราชอาณาจักรไม่ได้ทำฟารมขนสัตว์ แต่สหราชอาณาจักรก็ยังคงนำเข้าขนสัตว์จากต่างประเทศ เช่น จีน ฟินแลนด์ เดนมาร์ก และอีกหลายประเทศในยุโรป และอเมริกาเหนือ
สหราชอาณาจักร นำเข้าขนสัตว์ต่อปีมีมูลค่ารวมประมาณ 820 ล้านปอนด์
ในแต่ละปี สัตว์มีขนหลายล้านตัวต้องถูกฆ่าเพื่อเอาขนสัตว์มาขาย
ฟาร์มขนสัตว์ เลี้ยงสัตว์ป่า เช่น มิงค์ แรคคูน หมาป่า ในกรงเล็ก ๆ แคบ ๆ ในสภาพแวดล้อมที่แออัด และสกปรก ทำให้สัตว์เกิดความเครียด กัดกินกันเอง และเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของเชื้อโรคต่าง ๆ
ทางฟาร์มขนสัตว์ จะฆ่าตัวมิงค์ด้วยวิธีการ นำตัวมิงค์เข้าห้องรมแก๊สคาร์บอน ให้ขาดอากาศหายใจตาย ส่วนแรคคูน และหมาป่าจะถูกไฟฟ้าช็อตที่ทวารหนัก หรืออวัยวะเพศ เพื่อไม่ให้ขนเกิดความเสียหาย
คลิปนี้ไปถ่ายที่ฟาร์มขนสัตว์ในประเทศแถบเอเชีย แสดงให้เห็นหมาป่าถูกฆ่า ถลกหนังทั้งเป็น อย่างโหดเหี้ยมทารุณ
คลิปนี้ไปถ่ายที่ฟาร์มขนสัตว์ในประเทศฟินแลนด์ แสดงให้เห็น หมาป่าแม่ลูกอ่อนที่ถูกขังอยู่ในกรง แววตาของมันช่่างเศร้าและสิ้นหวัง
คลิปนี้ไปถ่ายที่ฟาร์มขนสัตว์ รายใหญ่ที่สุดในประเทศลัดเวีย แสดงให้เห็นความโหดร้ายในการเพาะพันธุ์มิงค์ เนื่องจากตัวมิงค์สามารถกลั้นหายใจได้นานถึง 10 นาที เพื่อให้มันตายเร็วขึ้น ตัวมิงค์จะถูกบีบคอ จับฟาดกับพื้น จับฟาดกับกรงลวด ก่อนที่จะนำมิงค์ไปเข้าห้องรมแก๊สคาร์บอน
Clip Link : Youtube
ขณะที่สหราชอาณาจักร ประกาศว่าฉันจะเป็น 'ผู้นำระดับโลกด้านสวัสดิภาพสัตว์' HSI ซึ่งเป็นองค์กรด้านคุ้มครองสัตว์ ก็เลยออกมาเรียกร้องให้ สหราชอาณาจักร หยุดนำเข้าขนสัตว์ทุกชนิด และให้สหราชอาณาจักรสั่งห้ามไม่ให้มีการซื้อขายขนสัตว์ทุกชนิดด้วย
 
เมื่อสหราชอาณาจักร เป็นผู้นำในการต่อต้านการทำฟาร์มขนสัตว์ การซื้อขายขนสัตว์ หลังจากนั้นประเทศต่าง ๆ ในทวีปยุโรป และประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ก็จะทยอยกันออกมาเปิดตัวว่า ประเทศฉันก็ไม่ทำฟาร์มขนสัตว์ ไม่ซื้อขายขนสัตว์ด้วยเช่นกัน
เมื่อไม่มีคนซื้อ ก็ไม่มีคนขาย และในที่สุดก็จะไม่มีใครทำฟาร์มขนสัตว์อีกต่อไป
นอกจากนี้การทำฟาร์มขนสัตว์ ยังเป็นแหล่งแพร่กระจายเชื้อโควิด 19 จากการนำสัตว์ป่ามาใส่กรงอยู่รวมกันอย่างแออัด ในสภาพแวดล้อมที่สกปรก ทำให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโควิด 19 จากสัตว์สู่คน และจากคนสู่สัตว์
ต่อมาเชื้อโควิด 19 ได้กลายพันธุ์ มิงค์หลายล้านตัวในหลายประเทศ ถูกรมแก๊สตายแล้วนำศพไปฝังกลบ
ในช่วงปี 2020 มีการระบาดของเชื้อโควิด 19 ในฟาร์มขนสัตว์หลายแห่ง ทั่วทวีปยุโรป และอเมริกาเหนือ หลายประเทศสั่งปิดฟาร์มขนสัตว์ ห้ามเพาะพันธ์มิงค์ ประเทศเดนมาร์กก็เช่นเดียวกัน
แต่ขณะนี้ที่เดนมาร์ก คำสั่งห้ามกำลังจะสิ้นสุดลงในวันที่ 1 มกราคม ปี 2023
มีเพียง 1% ของเกษตรกร จากผู้ทำฟาร์มมิงค์ทั่วทั้งประเทศเดนมาร์ก ที่ยังต้องการทำฟาร์มมิงค์ต่อ
มีข่าวว่าเดนมาร์ก ได้สั่งซื้อตัวมิงค์กว่า 10,000 ตัว จากต่างประเทศ ใส่กรงขนส่งข้ามน้ำ ข้ามทะเล ท่ามกลางอากาศที่หนาวเย็นของฤดูหนาว
ไม่มีข้อมูลแน่ชัดว่า มิงค์เหล่านี้จะได้รับการตรวจสุขภาพอยางไร แต่จากข่าวปี 2020 มีหลักฐานว่าในฟาร์มขนสัตว์ มิงค์ที่ป่วยแบบแสดงอาการ และมิงค์ที่มีสุขภาพดี ต่างเป็นโฮสต์แพร่เชื้อ โควิด 19 มาสู่มนุษย์ได้ทั้งนั้น
สัตว์ป่าควรอยู่ในป่า ตามวิถีธรรมชาติของมัน ถ้ามนุษย์ไม่เอาสัตว์ป่ามาขังกรงอยู่รวมกันอย่างแออัด เชื้อโรคแปลกใหม่ ก็คงไม่เกิดขึ้น
คุณสามารถช่วยสัตว์เหล่านี้ได้ด้วยการ
ร่วมลงชื่อเพื่อต่อต้านการซื้อขายขนสัตว์ในสหราชอาณาจักร
กับแคมเปญ #FurFreeBritain
ได้ที่ hsi.org/furfreebritain
#FurFreeBritain
Humane Society International/UK เป็นผู้นำแคมเปญ #FurFreeBritain เพื่อห้ามขายขนสัตว์ในสหราชอาณาจักร รัฐบาลสหราชอาณาจักรกล่าวว่า
ต้องการให้อังกฤษเป็น ผู้นำระดับโลกด้านสวัสดิภาพสัตว์
รัฐบาลสหราชอาณาจักร
HSI เชื่อว่าแนวทางที่เหมาะสมที่สุดในการแสดงให้เห็นว่า
สหราชอาณาจักร จะกลายเป็นประเทศแรกในโลกที่ห้ามขายขนสัตว์
ลุค พอลลาร์ด ส.ส. รัฐมนตรีเงาแห่งรัฐด้านสิ่งแวดล้อม อาหาร และกิจการชนบท กล่าวว่า
ความทุกข์ทรมานของสัตว์ ที่เปิดเผยในการสืบสวนของ HSI นั้นน่าสะอิดสะเอียนอย่างแท้จริง การค้าที่ล้าสมัยและไม่จำเป็นนี้ ไม่ควรมีในอุตสาหกรรมแฟชั่นของ
สหราชอาณาจักร
ลุค พอลลาร์ด ส.ส. รัฐมนตรีเงาแห่งรัฐด้านสิ่งแวดล้อม อาหาร และกิจการชนบท
รัฐบาลพรรคแรงงานชุดที่แล้ว สั่งห้ามการทำฟาร์มขนสัตว์ ในสหราชอาณาจักร และพรรคแรงงานได้ให้คำมั่นว่าจะสนับสนุน #FurFreeBritain
ลุค พอลลาร์ด ส.ส. รัฐมนตรีเงาแห่งรัฐด้านสิ่งแวดล้อม อาหาร และกิจการชนบท
เพื่อส่งข้อความว่า เราจะไม่สนับสนุนการปฏิบัติต่อสัตว์ที่น่าสยดสยองเช่นนี้ เราขอเรียกร้องให้รัฐบาลส่งสัญญาณ
ถึงความมุ่งมั่นในการห้ามขายขนสัตว์ใน
สหราชอาณาจักร
ลุค พอลลาร์ด ส.ส. รัฐมนตรีเงาแห่งรัฐด้านสิ่งแวดล้อม อาหาร และกิจการชนบท
การเรียกร้องของ HSI สำหรับการห้ามขายขนสัตว์ในสหราชอาณาจักร ได้รับการสนับสนุนจากคนดังมากมาย
เช่น Alesha Dixon / Paloma Faith / Sir Andy Murray OBE / Brian May CBE / Dr. Jane Goodall DBE /และ Joss Stone
ผู้ก่อตั้ง Ruffles Bexley, Nicola และ Laura เชื่อมั่นอย่างยิ่งว่าขนสัตว์เป็นของสัตว์ ดังนั้นจึงภูมิใจที่จะประกาศว่าร้านแฟชั่นบูติกของพวกเขา Ruffles Bexley เป็น 'ประสบการณ์การช็อปปิ้งที่ปราศจากขนสัตว์'
นักออกแบบแฟชั่น และผู้ค้าปลีกจำนวนมาก หลีกเลียงที่จะใช้ผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากขนสัตว์
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา Prada / Gucci / Armani / Versace / Michael Kors / Jimmy Choo / DKNY / Burberry / Chanel / และแบรนด์ดังอื่น ๆ ได้ประกาศนโยบายปลอดขนสัตว์
นอกจากนี้ แพลตฟอร์มค้าปลีกแฟชั่นออนไลน์อย่าง
Net-A-Porter และ Farfetch ยังได้แนะนำนโยบายปลอดขนสัตว์
European Mink
ในปี 1929 มิงค์อเมริกัน (มีสายพันธุ์ยุโรปด้วย) ถูกนำเข้าครั้งแรกในสหราชอาณาจักร เพื่อการเลี้ยงขนสัตว์เชิงพาณิชย์
ในปี 1956 มิงค์หลายตัวได้หลบหนีออกจากฟาร์ม หรือถูกปล่อยสู่ธรรมชาติ โดยเจตนา และเริ่มขยายพันธุ์
ในช่วงปี 1990 นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิสัตว์ ปล่อยตัวมิงค์จำนวนมากจากฟาร์มขนสัตว์
ตั้งแต่ปี 2000 ด้วยเหตุผลทางจริยธรรม สหราชอาณาจักร มีคำสั่งห้ามทำฟาร์มขนสัตว์
ตั้งแต่นั้นมาสหราชอาณาจักร ก็นำเข้าขนสัตว์จากต่างประเทศ เช่น อิตาลี ฝรั่งเศส โปแลนด์ จีน และรัสเซีย รวมมูลค่ากว่า 820 ล้านปอนด์ต่อปี
ฟินแลนด์เป็น 'ผู้ผลิต' ขนสุนัขจิ้งจอกรายใหญ่ที่สุดในยุโรป ในแต่ละปีจะมีสุนัขจิ้งจอก ประมาณ 2.5 ล้านตัวถูกฆ่าเอาขน
สหราชอาณาจักร นำเข้าขนสัตว์มูลค่ากว่า 14 ล้านปอนด์จากฟินแลนด์
สัตว์ในฟาร์มขนสัตว์ทั่วโลก มากกว่า 100 ล้านตัวถูกฆ่าเพื่อเอาขนสัตว์ทุกปี รวมถึงมิงค์ สุนัขจิ้งจอก แรคคูน ชินชิลล่า และโคโยตี้
นั่นแปลว่าในทุก 1 วินาทีจะมีสัตว์สามตัวถูกฆ่าตาย เพียงเพราะขนของพวกมัน นอกจากนี้ กระต่ายยังถูกฆ่าเพื่อเอาขนของมันอีกด้วย ซึ่งน่าจะมีจำนวนหลายร้อยล้านตัว
ในฟาร์มขนสัตว์ สัตว์ใช้เวลาทั้งชีวิตในกรงลวดขนาดเล็ก โดยปกติแล้วสุนัขจิ้งจอกจะถูกขังไว้ในกรงที่มีขนาดเพียง 1 เมตร ซึ่งเล็กกว่าพื้นที่ของพวกมันในป่าหลายพันเท่า
นี่คงเหมือนกับ คนที่ถูกบังคับให้ใช้ชีวิตทั้งชีวิตอยู่แต่ในลิฟต์ ในตู้เสื้อผ้า หรือในโลงศพ!
สุนัขจิ้งจอก แรคคูน ตัวมิงค์ สามารถติดเชื้อไวรัสที่เกี่ยวข้องกับ SARS-CoV มันจะทำหน้าที่เป็น 'โฮสต์กลาง' ในการแพร่ไวรัสโควิด 19 มายังมนุษย์
ที่ตลาดค้าสัตว์ป่าในประเทศจีน แรคคูนและสุนัขจิ้งจอก ถูกตรวจพบว่าติดเชื้อ SARS-CoV
HSI เรียกร้องให้รัฐบาลห้ามการบริโภค และการค้าสัตว์ป่าโดยสิ้นเชิง เพื่อลดความเสี่ยงของการระบาดใหญ่อีกครั้ง
ร่างข้อเสนอของจีน ที่ห้ามการบริโภคและการค้าสัตว์ป่าในปัจจุบัน อนุญาตให้ทำฟาร์มและฆ่าสัตว์ที่มีขน เช่น มิงค์ แรคคูน และสุนัขจิ้งจอก ได้อย่างถูกกฎหมาย โดยกำหนดให้สัตว์เหล่านี้เป็น 'ปศุสัตว์พิเศษ'
Farm Mink
การเพาะพันธุ์มิงค์เพื่อเอาหนังสัตว์แพร่หลายในยุโรปเหนือ อเมริกาเหนือ รัสเซีย และจีน โดยมักเลี้ยงในฟาร์มที่มีสัตว์หลายพันตัว ขังไว้ในกรงลวดที่อยู่ติดกัน
ในพื้นที่ใกล้ชิดเช่นนี้ เชื้อโรคสามารถผ่านจากตัวมิงค์ไปยังคนงานได้อย่างง่ายดาย หรือในทางกลับกัน เมื่อพวกมันสูดดมละอองที่ติดเชื้อ หรือสัมผัสพื้นผิวที่ปนเปื้อน
ตั้งแต่ฤดูใบไม้ผลิ ปี 2020
ไวรัสโคโรนาได้แพร่ระบาดในฟาร์มมากกว่า 400 แห่งในยุโรป เช่น โปแลนด์ อเมริกาเหนือ แคนาดา
เดือนธันวาคม ปี 2020
เนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นผู้เพาะพันธุ์มิงค์รายใหญ่อีกราย ได้ยุติการฆ่าสัตว์หลายล้านตัวเพื่อป้องกันการระบาดเพิ่มเติม และเลื่อนลำดับเวลาการปิดฟาร์มมิงค์ จากปี 2024 เป็นปี 2021
ปลายปี 2020
ทางการเดนมาร์ก สั่งให้ฆ่าตัวมิงค์ที่เลี้ยงในฟาร์มทั่วประเทศกว่า 17 ล้านตัว หลังจากตรวจพบไวรัสโควิด 19 ที่กลายพันธุ์ในมิงค์
ปี 2021
เดนมาร์กและสวีเดน ยกเลิกฤดูผสมพันธุ์ตัวมิงค์
เดือนสิงหาคม ปี 2020
สหรัฐอเมริกา พบตัวมิงค์ฟาร์มตัวแรกที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา ที่ยูทาห์ และตั้งแต่นั้นมา มีการระบาดที่ฟาร์มขนมิงค์อีก 16 แห่ง
ตามรายงานของกรมวิชาการเกษตร (USDA) Animal and Plant Health Inspection Service (USDA) Mike Brown จากสหพันธ์ขนสัตว์นานาชาติ กล่าวว่า
ตัวมิงค์ที่เลี้ยงในฟาร์มประมาณ 3 ล้านตัวในประเทศมากกว่า 12,000 ตัวเสียชีวิตจากโควิด-19 ก่อนการฆ่าเพื่อเอาหนังสัตว์ประจำปีในเดือนธันวาคม
USDA
Aan employee removing dead mink from a chamber after they were gassed on a farm near Naestved, Denmark on Nov. 6, 2020.Mads Claus Rasmussen / AFP - Getty Images file
เดือนพฤศจิกายน ปี 2020 ที่เดนมาร์ก
เกิดการระบาดและกลายพันธุ์ของเชื้อโควิด 19 ในฟาร์มขนสัตว์กว่า 200 แห่ง รัฐบาลสั่งปิดฟาร์มขนสัตว์ทั่วประเทศ ตัวมิงค์ 17 ล้านตัว ถูกฆ่าโดยจับเข้าห้องรมแก๊สให้ตาย หลังจากนั้นศพของมันถูกนำไปฝังกลบ
คำสั่งห้ามเพาะพันธุ์มิงค์ จะสิ้นสุดในวันที่ 1 มกราคม ปี 2023 มีเพียง 1% ของเกษตรกรผู้เลี้ยงขนมิงค์ในเดนมาร์ก (14 รายจากบริษัทฟาร์มมิงค์กว่า 1,200 แห่ง) ที่ยื่นขอความช่วยเหลือจากรัฐ เพื่อเริ่มต้นธุรกิจใหม่ หากมีการยกเลิกการห้ามชั่วคราว
องค์กรการกุศลด้านการคุ้มครองสัตว์ Humane Society International/Europe ประณามแผนการของเดนมาร์ก ที่จะนำเข้าตัวมิงค์ 10,000 ตัว จากไอซ์แลนด์ นอร์เวย์ สเปน โปแลนด์ และฟินแลนด์ เพื่อเริ่มโครงการเพาะพันธุ์ใหม่ สำหรับฟาร์มขนสัตว์
เป็นเรื่องน่ารังเกียจที่ขนมิงค์ 10,000 ตัวไปยังเดนมาร์ก รวมถึงสัตว์ 2,000 ตัว ที่กำลังถูกส่งจากไอซ์แลนด์ ข้ามทะเลฤดูหนาว ไปยังฟาร์มขนสัตว์ของเดนมาร์ก ซึ่งเจ้าของตัดสินใจที่จะหากำไรต่อไปจากสัตว์ที่ไม่มีทางสู้
ดร. Joanna Swabe ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายกิจการสาธารณะของ HSI/Europe
สิ่งนี้กำลังเกิดขึ้นทั่วสหภาพยุโรป ผู้คนมากกว่าหนึ่งล้านคนได้ลงนามในคำร้องอย่างเป็นทางการ เพื่อเรียกร้องให้ยุติการทำฟาร์มขนสัตว์ทั้งหมด
ดร. Joanna Swabe ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายกิจการสาธารณะของ HSI/Europe
ฟาร์มมิงค์เป็นระเบิดเวลาสำหรับความเสี่ยงต่อโรค และเราขอเรียกร้องให้ทั้งหน่วยงานระดับชาติที่มีอำนาจและคณะกรรมาธิการยุโรป ตรวจสอบการเคลื่อนย้ายสัตว์จำนวนมากที่อาจติดเชื้ออย่างใกล้ชิด รวมทั้งดำเนินการ
ปิดการค้าขนสัตว์ก่อนที่จะเกิดโรคระบาดครั้งต่อไป
ดร. Joanna Swabe ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายกิจการสาธารณะของ HSI/Europe
#FurFreeBritain
ฉันจะช่วยได้อย่างไรบ้าง :
คุณสามารถช่วยสัตว์เหล่านี้ได้ด้วยการ : 
เรียกร้องให้สหราชอาณาจักรหยุดการนำเข้าขนสัตว์!
ด้วยการร่วมลงชื่อกับแคมเปญ #FurFreeBritain
เพื่อยื่นคำร้องของ HSI สำหรับการห้ามขายขนสัตว์ในสหราชอาณาจักร
นี่คือข้อความในสิ่งที่คุณร่วมลงชื่อในแคมเปญ #FurFreeBritain
ถึง : รัฐมนตรีสหราชอาณาจักร
ฉันไม่เห็นด้วยกับความทุกข์ทรมานอย่างใหญ่หลวงที่เกิดกับสัตว์มากกว่า 100 ล้านตัวในแต่ละปี
ในการค้าขนสัตว์ระหว่างประเทศ ฉันสนับสนุนแคมเปญของ Humane Society International
เพื่อห้ามการขายขนสัตว์ในสหราชอาณาจักร และสร้าง #FurFreeBritain
การสร้างความโหดร้ายต่อสัตว์เพื่อแฟชั่นเล็ก ๆ น้อย ๆ เป็นสิ่งที่น่าสมเพช สหราชอาณาจักร ควรปิดพรมแดนเพื่อการค้าที่โหดร้ายนี้
ซึ่งสะท้อนถึงมุมมองของชาวอังกฤษมากกว่า 80% ที่เชื่อว่าการซื้อและขายขนสัตว์ในประเทศของตนเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้
ประเทศอื่นอีกหลายประเทศทั่วโลกกำลังเดินตามผู้นำของสหราชอาณาจักร ทั้งเรื่องการห้ามทำฟาร์มขนสัตว์ และเรื่องห้ามขายขนสัตว์
เป็นอีกครั้งที่แสดงให้เห็นว่า สหราชอาณาจักร เป็นผู้นำระดับโลกในด้าน การคุ้มครองสัตว์
โปรดให้คำมั่นว่า ไม่เพียงแต่จะคงคำสั่งห้ามนำเข้าแมว สุนัข และแมวน้ำ จากสหราชอาณาจักรเท่านั้น แต่ยังกำหนดให้มีการห้ามซื้อขาย เพื่อป้องกันไม่ให้สัตว์ทั้งหมดต้องถูกฆ่าเพื่อเอาขนของมันอีกด้วย
อ้างอิง :
UK bans travel from Denmark over spread of mutated coronavirus from mink
Denmark’s plan to restart mink fur farming by importing mink is branded contemptible by Humane Society International/Europe
BREAKING: 1 million mink culled on Dutch mink fur farms as COVID-19 infections spread
TOWIE’s Pete Wicks wells up with emotion as he goes undercover with HSI/UK at Finnish fur farms to expose cruelty
โฆษณา