26 ธ.ค. 2022 เวลา 08:47 • ประวัติศาสตร์
วันที่ 26 ธันวาคมนั้น นอกจากจะเป็นวัน Boxing Day หรือ วันเปิดกล่องของขวัญ ซึ่งวันดังกล่าวจะเป็นวันที่มักจะเปิดของขวัญหลังจากวันคริสต์มาสผ่านพ้นไปแล้ว ยังเป็นวันที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มากมาย ไม่ว่าจะเป็น วันประกาศเอกราชของประเทศสโลวีเนียที่แยกออกจากยูโกสลาเวีย, วันที่คอฟุตบอลโดยเฉพาะพรีเมียร์ลีกอังกฤษจะได้ดูบอลที่เมามันส์ที่สุด เพราะว่ามันส่งผลต่อการลุ้นแชมป์ลีกได้ในระยะยาว, วันสถาปนาแนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติเวียดนามใต้หรือเวียดกง, วันแห่งการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ฯลฯ
แต่สำหรับคนไทยหลายคนนั้น วันที่ 26 ธันวาคมเป็นวันที่เศร้าสสดมากที่สุดและเป็นวันที่มีความสูญเสียชนิดที่ว่า ต้องจารึกไว้ในประวัติศาสตร์โลกไว้เลยทีเดียว นั้นก็คือ เหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิในปี ค.ศ. 2004 หรือ พ.ศ. 2547
สภาพชานเมืองทิศตะวันตกของเมืองบันดาอาเจะฮ์บนเกาะสุมาตราหลังสึนามิพัดถล่ม ถ่ายเมื่อ 2 มกราคม พ.ศ. 2548 หรือ ค.ศ. 2005
เหตุการณ์นี้ได้เริ่มต้นเมื่อเวลา 07.58 น. (ตามเวลาประเทศไทย) หรือ 00.58 น. (ตามเวลาเวลาสากลเชิงพิกัด) ได้เกิดแผ่นดินไหวอย่างรุนแรงซึ่งเป็นแผ่นดินไหวใต้ทะเล โดยศูนย์กลางอยู่บริเวณตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ห่างจากจังหวัดภูเก็ต ประมาณ 580 กิโลเมตร ที่ละติจูด 3.4 องศาเหนือ ลองจิจูด 95.7 องศาตะวันออก ขนาดความรุนแรง 8.9 แมกนิจูด(ภายหลังได้มีการปรับเพิ่มขึ้นเป็นช่วงระหว่าง 9.1-9.3 แมกนิจูดในปี ค.ศ. 2006) ส่งผลกระทบต่อทุกจังหวัดในภาคใต้ รวมถึงอาคารสูงหลายแห่งในกรุงเทพมหานครด้วย
ภาพหลังเหตุการณ์สึนามิถล่ม ปี พ.ศ. 2547 หรือ ค.ศ. 2004 (ภาพจาก ห้องสมุดภาพมติชน)
โดยจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวเกิดขึ้นใต้มหาสมุทรอินเดียที่ว่านั้น ลึกลงไป 30 กม. จากระดับน้ำทะเล ห่างจากเกาะซีเมอลูเวอไปทางทิศเหนือประมาณ 160 กม. ซึ่งตัวเกาะดังกล่าวตั้งอยู่ห่างออกไปทางทิศตะวันตกของเกาะสุมาตรา โดยรอยเลื่อนซุนดาเมกะทรัสต์ (Sunda megathrust) ได้เลื่อนตัวแตกออกยาวกว่า 1,300 กม.
หลังจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวผ่านไปได้สักพัก ก็ได้มีคลื่นน้ำขนาดใหญ่ที่เรานิยมเรียกว่า ‘สึนามิ’ (TSUNAMI) ได้เข้ามาทำลายล้างทุกสิ่งทุกอย่างในจังหวัดอาเจะฮ์จนราบเป็นหน้ากลอง และเข้ามาทำลายล้างทุกสิ่งทุกอย่างในประเทศอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น ไทย, มาเลเซีย, อินเดีย, ศรีลังกา, มัลดีฟส์, เมียนมา ฯลฯ รวมทั้งหมด 19 ประเทศ (บางประเทศจะมีผลกระทบที่ไม่ร้ายแรงมากนัก อย่าง เซเชลล์, เคนยา, เยเมน ฯลฯ)
ภาพเหตุการณ์ประชาชนกำลังวิ่งหนีคลื่นสึนามิเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ที่จังหวัดภูเก็ต
ที่ไทยได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์นี่พอสมควร โดยเฉพาะบริเวณ 6 จังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของประเทศไทยในช่วงธันวาคมของทุกปี เพราะว่าจะมีนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติเข้ามาท่องเที่ยวดังกล่าวเป็นจำนวนมาก และช่วงนั้นเป็นช่วงเข้าใกล้ปีใหม่ด้วย เลยทำให้คึกคักอยู่พอควรเลยทีเดียว
เหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิในปี ค.ศ. 2004 หรือ พ.ศ. 2547 นั้น เป็นเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ร้ายแรงที่สุดในอันดับ 3 ตลอดกาล (นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1900 เป็นต้นมา) เป็นรองแค่เหตุการณ์แผ่นดินไหวในประเทศชิลี ปีค.ศ. 1960 (แมกนิจูด 9.5) และแผ่นดินไหวในมลรัฐอะแลสกา สหรัฐอเมริกา ค.ศ. 1964 (แมกนิจูด 9.2) แต่ เหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิในปี ค.ศ. 2004 หรือ พ.ศ. 2547 นั้นถ้านับเฉพาะปี ค.ศ. 2000 เป็นต้นมา ถือได้ว่าเป็นเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ร้ายแรงที่สุดเท่าที่มีในประวัติศาสตร์
และเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในขนาดแมกนิจูดมากกว่า 9.0 ในช่วงปี ค.ศ. 1900 เป็นต้นมา จะมีอีกทั้งหมด 2 ครั้ง คือ แผ่นดินไหวที่คาบสมุทรคัมชัตคา ทางตะวันออกของรัสเซีย เมื่อ ค.ศ. 1952 (ตอนนั้นยังเป็นสหภาพโซเวียตอยู่) และแผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่น ค.ศ. 2011 แต่ 2 เหตุการณ์ที่ว่านั้นกลับมีผลกระทบไม่มากนักอย่างมีนัยสำคัญ เพราะว่ามีปัจจัยหลัก 3 ประการคือ
1. ชายฝั่งใกล้ศูนย์กลางแผ่นดินไหวมีประชากรอาศัยเบาบาง
2. พื้นที่ที่มีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่นอยู่ห่างไกลจากศูนย์กลางแผ่นดินไหวเหล่านั้นมาก
3. ระบบสาธารณูปโภคและระบบเตือนภัยมีประสิทธิภาพสูงมาก (ประเทศญี่ปุ่นคือกรณีศึกษาที่ดีในเรื่องนี้)
เหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิในปี ค.ศ. 2004 หรือ พ.ศ. 2547 นั้น ได้ส่งผลกระทบในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นการสูญเสียชีวิต, มูลค่าทางเศรษฐกิจ, ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ฯลฯ โดยมีการคาดการณ์เอาไว้ว่า มีผู้เสียชีวิตราว ๆ 227,898 คน ซึ่งมีการยืนยันตัวเลขจริงอยู่ที่ 184,167 คน มีผู้บาดเจ็บราว ๆ 125,000 คน มีผู้ที่หายสาบสูญราว ๆ 43,786 คน และมีผู้ไร้ที่อยู่อาศัยอย่างต่ำ 1,740,000 คน
โดยประเทศที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ อินโดนีเซีย รองลงมาคือ ศรีลังกา และ อินเดีย
ส่วนผลกระทบทางเศรษฐกิจมีการประเมินไว้ว่า สูญเสียราว ๆ 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 3.9 แสนล้านบาท) และเป็นค่าเงินในช่วงยุค 2000 ถ้าเอามาเทียบในปัจจุบัน (2022) ก็จะได้ราว ๆ 1.576 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 5.48 แสนล้านบาท) แต่ในความเป็นจริงอาจจะสูงมากกว่านี้อีกหลายเท่าตัว
ส่วนผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมนั้น จะพบว่า ก่อนหน้าที่จะเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว ได้มีข้อมูลที่ตกใจว่า บริเวณมหาสมุทรอินเดียนั้นมีความเปลี่ยนแปลงแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน ไม่ว่าจะเป็นปะการังเสียหาย ปลาทะเลมีน้อยเกินไป ฯลฯ แถมไม่ได้มีการฟื้นฟูป่าชายเลนด้วย แต่พอหลังจากเหตุการณ์นั้นไป ปรากฎว่า บริเวณมหาสมุทรอินเดีย ได้รับการฟื้นฟูอย่างมีนัยยะสำคัญ
Tsunami inundation in Khao Lak, Thailand
ส่วนในประเทศไทยนั้น ก็ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าวอยู่พอสมควร โดยพื้นที่ที่โดนสึนามิถล่มนั้น มี 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดภูเก็ต จังหวัดพังงา จังหวัดระนอง จังหวัดกระบี่ จังหวัดตรัง และจังหวัดสตูล ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างเป็นทางการอยู่ที่ 5,395 คน (มีการประเมินไว้ที่ 8,212 คน) มีผู้บาดเจ็บ 8,457 คน มีผู้ที่หายสาบสูญ 2,817 คน และมีผู้ไร้ที่อยู่อาศัย 7,000 คน ซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดอันดับที่ 4 รองจาก อินเดีย, ศรีลังกา และ อินโดนีเซีย ตามลำดับ
ส่วนมูลค่าความเสียหายนั้น ก็จะพบว่า บ้านเรือนประชาชน รีสอร์ต และโรงแรม ตลอดจนระบบสาธารณูปโภคต่างๆ อาทิ ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ ถนน ฯลฯ มีมากถึงหลายพันล้านบาทกันเลยทีเดียว
เรือบุเรศผดุงกิจ ของตำรวจน้ำ (813) ถูกคลื่นสึนามิซัด
นอกจากนี้ยังมีคนมีชื่อเสียงที่ได้สูญเสียไปจากเหตุการณ์ดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็น คุณ พุ่ม เจนเซ่น พระโอรสในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ขณะที่คุณพุ่มเล่นเจ็ตสกีอยู่ชายหาดโรงแรมมันดะเลย์รีสอร์ต บ้านเขาหลัก อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา สิริอายุ 21 ปี (ซึ่งหากคุณพุ่ม เจนเซ่น ยังมีพระชนม์ชีพอยู่ คุณพุ่ม เจนเซ่นจะมีอายุ 39 ปี), บรม ตันเถียร อดีตนักการเมืองไทยชาวพังงาที่ถึงแก่อนิจกรรมขณะมีอายุ 68 ปี และอีกหลายคนที่ไม่ได้กล่าวถึง
บรม ตันเถียร ม.ป.ช., ม.ว.ม.
คุณ พุ่ม เจนเซน
คุณ พุ่ม เจนเซน(คนซ้าย) กับ รัชกาลที่ 10 (คนขวา)
สำหรับประเทศไทยถือเป็นเหตุการณ์ ‘สึนามิ’ ครั้งแรกในประวัติศาสตร์ และนับว่าเป็นความสูญเสียที่ร้ายแรงเกินจะนึกฝัน และนับจากวันนั้น ผ่านไป 18 ปี เหตุการณ์ดังกล่าวจะไม่มีวันลืมเลือนของคนไทยทุกคน
โฆษณา