27 ธ.ค. 2022 เวลา 10:43 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ข่าวเรือหลวงสุโขทัยอับปางกลางอ่าวไทย และลูกเรือที่สูญหายร่วม 30 ชีวิต ซึ่งหลายคนอาจต้องลอยคออยู่กลางทะเล โดยไม่มีอุปกรณ์ช่วยชีวิตอย่างห่วงยางและเสื้อชูชีพติดตัว เป็นข่าวร้ายส่งท้ายปีที่ไม่มีใครอยากให้เกิด
บทความชิ้นนี้ สมาธิ ธรรมศร นักสื่อสารวิทยาศาสตร์และนักวิชาการด้านฟิสิกส์ประยุกต์ โลกศาสตร์ และดาราศาสตร์ ชวนผู้อ่านมาเรียนรู้สาระพื้นฐานเกี่ยวกับฟิสิกส์ของเรือ ความแปรปรวนของท้องทะเล และการเอาตัวรอดเมื่อเรืออับปาง ด้วยภาษาที่เข้าใจง่ายและไม่มีสมการที่ชวนปวดหัว
แต่เรื่องที่น่าปวดหัวยิ่งกว่าคือ คำชี้แจงต่างๆ นานาของกองทัพเรือที่ยังไม่มีน้ำหนักมากพอจะรับฟังได้แล้ว ยังลากออกทะเลจนหาฝั่งไม่เจอ
สำหรับ #เรือหลวงสุโขทัย หากประเมินตามหลักฟิสิกส์ถือว่า ‘มีโอกาสค่อนข้างน้อย’ ที่จะอับปางเพราะคลื่นทะเลเพียงปัจจัยเดียว แต่เหตุสลดครั้งนี้อาจมีสาเหตุอื่นร่วมด้วย อาทิ ความผิดพลาดในการบังคับเรือ อุปกรณ์ในเรือไม่พร้อมใช้งาน เรือขาดการซ่อมบำรุง หรือเกิดจากหลายสาเหตุร่วมกัน
การวิเคราะห์การสวมเสื้อชูชีพ ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม และกิจกรรมที่มีผลต่ออัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางทะเล (An analysis of lifejacket wear, environmental factors, and casualty activity on marine accident fatality rates) ของคณะนักวิทยาศาสตร์จากประเทศอังกฤษและประเทศนิวซีแลนด์ นำโดยเซบาสเตียน จอห์น พิตแมน (Sebastian John Pitman) ที่ตีพิมพ์ล่าสุดชี้ว่า “การสวมเสื้อชูชีพสามารถช่วยเพิ่มโอกาสการรอดชีวิตได้มากถึง 94 เปอร์เซ็นต์”
สำคัญที่สุดคือ กระบวนการสืบหาสาเหตุของเรืออับปางครั้งนี้ ต้องทำอย่างถูกต้องและโปร่งใสตามหลักวิชานิติวิศวกรรมศาสตร์ แต่หากย้อนกลับไปดูวีรกรรมของกองทัพไทย เราจะพบท่าทีส่อทุจริตนานัปการ โดยนายทหารระดับสูงแทบไม่เคยถูกตรวจสอบและลงโทษอย่างจริงจังสักครั้ง
โฆษณา