27 ธ.ค. 2022 เวลา 11:14 • ปรัชญา
“ลัทธิเพเกิ้น” Paganism ลัทธินอกศาสนา
ศาสนาเพเกิน (Paganism) คือ "ศาสนานอกศาสนา"  ฟังดูนำขันไหม  แต่นี่คำที่ถูกเรียกเชิงดูถูก   คำว่า Pagan นี้มาจากภาษาละติน paganus แปลว่า “ผู้ที่อยู่ในชนบท”
คำว่า เพเกิ้น (Pagan) เป็นคำที่มีความหมายกว้างที่ใช้พูดถึงรวมๆของศาสนาหรือการปฏิบัติของหมู่ชนสมัยก่อนที่จะมีการนับถือศาสนาคริสต์ในยุโรป หรือถ้าขยายความขึ้นไปอีกก็จะหมายถึงผู้ที่มีธรรมเนียมการนับถือพระเจ้าหลายองค์ (polytheistic) หรือศาสนาพื้นบ้าน (folk religion) โดยทั่วไปในโลกจากมุมมองของผู้ที่นับถือคริสต์ศาสนาในโลกตะวันตก
ลักษณะการปฏิบัติของลัทธิเพกันคือการทำให้คนอื่นเปลี่ยนศาสนา (proselytism) และการความนิยมในการนับถือปรัมปราวิทยาต่าง ๆ (mythology)
ในปัจจุบันนี้ คำนี้มีความหมายหลายอย่าง   แต่จากทัศนคติตะวันตกในนัยยะของความหมายในปัจจุบันหมายถึงความศรัทธาที่เป็นพหุเทวนิยมของผู้ที่ปฏิบัติตามแบบเจตนิยม (spiritualism) วิญญาณนิยม (animism) หรือลัทธิชามันหรือหมอไสยศาสตร์ (Shamanism) เช่นในศาสนาพื้นบ้าน ในลัทธิการนับถือพระเจ้าหลายองค์ หรือในศาสนา Neo-paganism (ศาสนานอกศาสนาใหม่)
พัฒนาการของความหมายของคำว่า Pagan
เดิมนั้น คำว่า Pagan ได้รับการตีความหมายอย่างกว้างที่รวมถึงศาสนาทุกศาสนาที่อยู่นอกกลุ่มศาสนาอับราฮัมของผู้นับถือลัทธิเอกเทวนิยม (monotheism) ที่รวมทั้งศาสนายูดาย ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม กลุ่มที่ว่านี้รวมทั้งศาสนาทางตะวันออก  ปรัมปราวิทยาของชนอเมริกันพื้นเมืองหรือพวกอินเดียนแดง (Native American mythology)
และศาสนาพื้นบ้านโดยทั่วไปที่ไม่ใช่คริสต์ศาสนา ในความหมายที่แคบลง "ลัทธินอกศาสนา" จะไม่รวมศาสนาของโลก  ที่เป็นศาสนาที่เป็นที่ยอมรับกันอย่างเป็นทางการแต่จะจำกัดอยู่ในศาสนาท้องถิ่นที่ยังไม่ได้จัดอยู่ในระบบศาสนาของโลก
คำว่า "ศาสนานอกศาสนา" หรือ “ลัทธินอกศาสนา” เป็นคำที่ผู้นับถือคริสต์ศาสนานำมาใช้เรียก “เจนไทล์” (gentile) หรือคนนอกศาสนาของศาสนายูดายหรือชาวยิว ที่เป็นการใช้คำที่ออกไปทางเหยียดหยามโดยหมู่ผู้นับถือลัทธิเอกเทวนิยมของโลกตะวันตก   เทียบเท่ากับการใช้คำว่า “heathen” (ฮีทเธน) หรือ “อินฟิเดล” (infidel) หรือ “กาเฟร” (kafir) และ “มุชริก” (mushrik) ที่ผู้ที่นับถืออิสลามใช้เรียกคนต่างศาสนาเช่นกัน
ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 คำว่า "ลัทธินอกศาสนา" ก็กลายมาเป็นที่นิยมใช้กันสำหรับผู้นับถือลัทธินอกศาสนาใหม่ ฉะนั้นนักวิชาการหลายแขนงในปัจจุบันจึงต้องใช้คำนี้ในความหมายที่แบ่งเป็นสามกลุ่ม:
1. พหุเทวนิยมในประวัติศาสตร์ (เช่นลัทธินอกศาสนาเซลต์ (Celtic paganism) หรือลัทธินอกศาสนานอร์ส (Norse paganism))
2. ศาสนาพื้นบ้าน/ศาสนาเผ่าพันธุ์/ศาสนาท้องถิ่น (เช่น ศาสนาพื้นบ้านของชาวจีนหรือ ศาสนาพื้นบ้านของชาวแอฟริกา)
3. ลัทธินอกศาสนาใหม่   เช่นวิคคา (Wicca) และ ลัทธินอกศาสนาใหม่เยอรมัน (Germanic Neopaganism)
บางส่วนของสัญญลักษณ์เพเกิน ซึ่งแต่ละอันหมายถึงการบูชาเทพเพเกิ้นแต่ละอย่างที่ไม่เหมือนกัน
ด้วยเหตุผลต่างๆ เหล่านี้นักชาติพันธุ์วิทยาจึงเลี่ยงใช้คำว่า "ลัทธินอกศาสนา" หรือ "ศาสนานอกศาสนา"  เพราะความหมายอันแตกต่างกันและไม่แน่นอน  ในการกล่าวถึงความศรัทธาตามที่มีกันมาหรือในประวัติศาสตร์ และมักจะใช้คำที่มีความหมายเฉพาะเจาะจงมากกว่า เช่น เจตนิยม, วิญญาณนิยม, ลัทธิชามัน หรือสรรพเทวนิยม (pantheism)
โฆษณา