28 ธ.ค. 2022 เวลา 12:04 • สุขภาพ
‼️ยาอะไรบ้างที่กินแล้วง่วง เสี่ยง วูบขณะขับรถ
❗ยาลดน้ำมูก แก้แพ้ แก้คันต่างๆ นั้นเป็นสิ่งที่รู้กันดีอยู่แล้วว่า หากคุณไม่สบายมีน้ำมูก แพ้อากาศ หรือแพ้อะไรก็ตาม เมื่อกินยานี้แล้วจะมีผลข้างเคียงคือ​ ทำให้เกิดอาการง่วงซึมจนอาจทำให้เกิดการหลับในหรือวูบขณะขับรถได้
❗ยานอนหลับ
ใช้เพื่อคลายความวิตกกังวลอันเป็นสาเหตุของปัญหานอนไม่หลับ และหลังจากตื่นนอนมาแล้วฤทธิ์ของยานอนหลับนั้นอาจจะยังไม่หมดไปจนอาจเป็นเหตุให้เกิดการเบลอและวูบหลับขณะขับขี่ได้
❗ยาแก้ปวดชนิดที่ออกฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง เพื่อบรรเทาอาการปวด ก็อาจจะทำให้มีอาการมึนงงหรือเกิดอาการง่วงจนทำให้เกิดการวูบหลับขณะขับขี่ได้
❗ยาคลามกล้ามเนื้อ
พวกยาโทลเพอริโซน (Tolperisone) และยาออเฟเนดรีน (Orphenadrine) ก็อาจจะต้องงดการขับขี่รถยนตืไปก่อนจะดีที่สุด เพราะยาอาจทำให้ประสิทธิภาพในการขับขี่ลดลง ตัดสินใจได้ช้าลง มองเห็นเป็นภาพเบลอ ไม่ชัดเจน ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุตามมาได้
.
.
😪ถ้าหากคุณ​กินยาเหล่านี้แล้วเกิดอาการง่วงนอน​ มึนงง กรุณาแจ้งแพทย์และเภสัชกร เพื่อที่จะ
🔹ปรับขนาดยา
🔹ปรับเวลาในการกินยา เช่น อาจกินยาหลังจากขับรถถึงที่หมายแล้ว หรือให้กินก่อนนอน
🔹ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อทดแทนการใช้ยา
🔹อาจเปลี่ยนเป็นยาอื่นที่มีผลทำให้ง่วงนอนน้อยกว่า
.
.
👨‍⚕️การปฏิบัติตัวเมื่อกินยาเหล่านี้
🔸หากได้ยาใหม่ ควรสังเกตอาการข้างเคียงในช่วงแรก แม้ว่ายาจะมีแนวโน้มทำให้ง่วงแต่ไม่จำเป็นเสมอไปว่าจะเกิดขึ้นกับทุกคน
🔸แจ้งแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้ง หากคุณกินยา ยาสมุนไพร หรืออาหารเสริม เพราะยาบางอย่างอาจเสริมฤทธิ์ในการเกิดผลข้างเคียง
🔸ไม่ควรกินยาร่วมกับเครื่องดื่มที่ผสมแอลกอฮอล์ เช่น เบียร์ ไวน์ บรั่นดี เหล้า
🔸หากมีอาการง่วงให้หยุดขับรถชั่วคราว การกินยาอย่างต่อเนื่องประมาณ 1-2 สัปดาห์ร่างกายมักจะปรับตัวได้ อาการง่วงอาจลดลงหรือหายไปในที่สุด
🔸ห้ามหยุดยาเองโดยที่แพทย์ไม่ได้สั่ง ยาบางอย่างหากหยุดยาโดยทันทีอาจมีผลต่อภาวะโรคของท่านได้
.
.
😀มีปัญหา​เรื่อง​การ​ใช้​ยา​เชิญ​ปรึกษา​เภสัชกร​
.
.
💢
.
ภาพจาก
.
.
เคล็ดไม่ลับ…ขับรถไม่หลับใน
.
.
  • หลับในขณะขับรถ อันตรายที่ต้องระวัง
9 โรคหรืออาการต้องห้ามที่ห้ามขับรถ
Medications That Cause Fatigue
Medication Classes Commonly Associated with Daytime Sleepiness
Pharma Watch: A User's Guide to Sleeping Pills
"One Pill Makes You Drowsy" in SA Mind 27, 1, 10 (January 2016)
doi:10.1038/scientificamericanmind0116-10
โฆษณา