28 ธ.ค. 2022 เวลา 13:35 • ปรัชญา
จิตมนุษย์ แท้จริงมันออกไป ไหนไม่ได้ มันถูกกักขังอยู่ มีวิญญาณทั้งหก ที่ใช้ในการเรียนรู้ ..การสัมผัส ไม่ได้ออกไปนอกกาย ..ภายในกายก็มีอารมณ์มากมาย ..อารมณ์อยาก อารมณ์พอใจ อารมณ์ที่ไม่พอใจ ได้มาแล้วก็ไม่พอ อยากได้มากๆ ..เค้าเรียกว่า โลภ หรือ ตัณหา.ได้มาแล้ว..ทิ้งขวางๆ หรือ พอใจอยู่แค่นั้น ก็เรียกว่า ภาวะตัณหา อยู่นานไป..เบื่อ. .อยากให้มันดี หรือ ดีกว่าเดิม บ้างครั้งกลับแย่กว่าเดิม เป็นความทะเยอทะยาน..ก็เรียกว่า วิภาวะตัณหา ทั้งตัณหา ภาวะตัณหา วิภาวะตัณหา ก็หมุนปั่นจิต ..วนอยู่ในสภาพเยี่ยงนี้..
แล้วก็มีราคะ โทสะ โมหะ เกิดขึ้น แสดงตัวตนเป็นนางมารร้ายบ้าง ขุนพลอยพยักบ้าง เป็นลิ้วล้อบ้าง เป็นนายบำเรอ นางบำเรอ ..เป็นอันธพาล .มันก็..เป็นเสรีภาพ ที่เกิดจากอารมณ์นึกคิดให้แก่จิตที่อาศัยเรือนกาย..ให้ใช้ เค้าเรียกว่า อารมณ์ไปดึงให้เกิดเป็นตัวกระทำ แสดงพฤติกรรม เยี่ยงอันธพาลบ้าง เป็นคนดี เป็นตนชั่ว เป็นนักเลง .เป็นนางอิจฉา เป็นอะไร ..ก็ได้ ที่อารมณ์เค้าจะบังคับจิต ให้จิตไปบังคับกาย แสดงพฤติกรรมต่างๆ มากมาย เค้าเรียกว่า แสดงตัว กระทำให้ดู ถ้าตาดีๆ จิตๆ เที่ยงๆ..บางคนก็แสดงภาพเป็นนางยักษ์ให้ดู .
แท้จริงแล้ว จิตของเราอยู่ในเรือนกาย เหมือนอยู่ในคอกควาย ..อารมณ์นั้นจะจูง ไปทางไหน จิตก็ทำตามอารมณ์ อารมณ์นั้นเป็นนายของจิต สนตะพายควายที่อยู่ในคอก อารมณ์จะพาจิตไปทางไหน ..ควายก็เดินตามอารมณ์ ..มีอารมณ์ใหญ่ ..แค่สามคำ ความโลภความโกรธความหลง ..มีปลักควายน้อยๆอยู่ใน ภายในคอกควายมากมาย ให้ควายไปคลุกโคลนตม หลงว่าสุขสบายอยู่กับโคลน ควายก็สาระวน อยู่ในคอก กินนอนอยู่ในคอกนี้ ..จนคอกนี้ผุพัง เสื่อมสลายไป ก็ออกจากคอก ไปหาคอกใหม่ ..อีก
คราวนี้ เราก็มาดูเรื่องราว ว่าอารมณ์ นั่นมาจากไหน ..ก็มาจากทั้ง ธาตุทั้งสี่ที่ประกอบเป็นเรือนกาย (อันนี้ ต้องอาศัย จิตนิ่ง จับกายมาอยู่นิ่ง..ทำจิตนิ่งๆ เฉย บังคับกายให้นิ่ง แล้วก็อาศัยการสร้างบุญกุศลบารมี ช่วยเหลือจิต ในการศึกษา) ถึงตรงนั้น เราก็จะได้ ศึกษาอำนาจของอารมณ์ที่ปรุงแต่งทั้งกายทั้งวิญญาณหก.ที่เค้าเรียกว่า จิตอยู่ใต้อารมณ์เป็นอย่างไร จิตไม่มีอิสระนั้นเป็นอย่างไร.ถึงตรงนั้น เราก็เปรียบเทียบเองได้ ว่า จิตพุทธะ จิตที่เป็นอิสระ ว่างไม่มีอารมณ์เกิดขึ้นนั้น จิตที่ไม่มีกายเป็นอย่างไร
โฆษณา