28 ธ.ค. 2022 เวลา 13:41 • การศึกษา
ผมมองว่า
“ชีวิต” เปรียบได้กับ “ศึกสงคราม”
และ “พระธรรม” ในพระพุทธศาสนานั้น คือสิ่งสำคัญในการใช้ชีวิตที่เปรียบได้กับการออกรบเป็นอย่างมาก
1) “เกมส์รับ” (Defensiveness)
> “ศีลเป็นเกราะป้องกันชีวิต"
“..ใครที่เคยมีความคิดผ่านเข้ามาว่า "ไม่อยากอยู่ในโลกอีกต่อไปแล้ว อยากตายให้พ้นความน่ากลัวนานาประการ" เช่นความยากจน ความเป็นหนี้ ความเสื่อมเสียชื่อเสียงเกียรติยศ "ขอให้คิดถึงผู้ช่วยที่มีกำลังไม่มีที่เปรียบ คือศีล"
1
อย่ายอมตามง่าย ๆ โดยไม่เข้าหาที่พึ่ง "ศีลเป็นที่พึ่งได้จริง ทำตนให้มีศีล เพียงศีล ๕ ชีวิตก็จะสวัสดี" การทำลายชีวิตตนจะไม่เกิดขึ้นแม้มั่นใจว่า "การรักษาศีล ๕ เป็นการสร้างเกราะป้องกันชีวิต" ให้พ้นจากความคิดร้ายแรงของตนเอง .. "
1
“แสงส่องใจ ๒๕๔๑"
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร
> “เมื่อเรารักษาศีล ศีลจะรักษาเรา”
อานิสงส์ของการรักษาศีล ๕
๑. ทำให้อายุยืน ปราศจากโรคภัยเบียดเบียน
๒. ทรัพย์สมบัติที่อยู่ในความปกครอง มีความปลอดภัยจากโจรผู้ร้ายมาราวี เบียดเบียนทำลาย
๓. ระหว่างลูก หลาน สามี ภริยา อยู่ด้วยกันเป็นผาสุก ไม่มีผู้คอยล่วงล้ำกล้ำกรายต่างครองกันอยู่ด้วยความเป็นสุข
๔. พูดอะไร มีผู้เคารพเชื่อถือ คำพูดมีเสน่ห์เป็นที่จับใจไพเราะ ด้วยสัตย์ด้วยศีล
๕. เป็นผู้มีสติปัญญาดีและเฉลียวฉลาด ไม่หลงหน้าหลงหลัง จับโน่นชนนี่เหมือนคนบ้าคนบอหาสติไม่ได้ ผู้มีศีล เป็นผู้ปลูกและส่งเสริมสุขบนหัวใจคนและสัตว์ทั่วโลกให้ มีแต่ความอบอุ่นไม่เป็นระแวงสงสัย ผู้ไม่มีศีลเป็นผู้ทำลายหัวใจคนและสัตว์ ให้ได้รับความทุกข์เดือดร้อนทุกหย่อมหญ้า
นั่นคือ เมื่อเรา “มีธรรมมะ” อยู่ในใจ ก็เปรียบได้กับการออกศึกในชีวิต โดยที่เราสวม “เกราะ” ป้องกัน “ความทุกข์ไว้ชั้นหนึ่งแล้ว!
2) “เกมส์รุก” (Offensiveness)
แน่นอนว่าในการใช้ชีวิต เราย่อมต้องเผชิญกับ “ข้าศึก” สองประเภท คือ
i) เราต้องเจอในสิ่งที่ไม่อยากเจอ
ii) เราไม่พบเจอในสิ่งที่เราอยากเจอ
โดย “ข้าศึก” ทั้งสองประเภทนั้น สามารถทำให้เกิดความทุกข์ได้ หากเราไม่มี “ปัญญา” จาก “พระธรรม” ที่เปรียบได้กับ “อาวุธ” อันทรงพลานุภาพ ที่ใช้ “ประหัตประหาร” ความไม่รู้ หรือ “อวิชชา” ที่ทำให้เราเป็นทุกข์ได้จากการพบเจอกับ “ข้าศึก” ทั้งสองประเภทข้างต้นนั้น!
และ “แก่น” ของพระธรรม ที่ก่อให้เกิด “ปัญญา” ก็คือ “สติ” นั่นเอง
“บุคคลใดสามารถ ทำจิตให้ว่างจากกิเลส วันหนึ่งเพียงชั่วขณะจิตเดียว เรากล่าวว่า บุคคลนั้น มีจิตไม่ว่าง
จากฌาน"
พระพุทธพจน์
“สติปัฏฐาน" เป็นทางสายเดียวที่มุ่งตรงไปสู่พระนิพพาน.
ข้อความข้างต้นเป็นสิ่งที่ผมเคยอ่านพบ และนั่นเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ผมสนใจศึกษาเรื่อง “สติปัฏฐานสี่” ครับ
1
แล้วเราจะเริ่มฝึก “สติ” ได้อย่างไร?
posts เหล่านี้ของผม มีคำอธิบายเบื้องต้นให้แล้วครับ
> “จิตประภัสสร”
“สติ” ที่ฝึกดีแล้ว จะเปรียบเหมือนผิวใบบัวที่ถูกเคลือบด้วยสารธรรมชาติช่วยป้องกันจิตไม่ให้ “แปดเปื้อน โลภ โกรธ หลง” ที่ถาโถมเข้ามาสู่จิต คล้าย น้ำโคลนตมที่มาแปดเปื้อนใบบัว
เมื่อเป็นเช่นนี้ จิตจะเกิด “ความว่าง” และ “ผ่องใส” ด้วย “สติรู้” นำไปสู่ การเห็นวัฏจักรของความไม่เที่ยงแห่งจิตที่ถูก โลภ โกรธ หลง เข้ามาทำจิตให้มัวหมอง
จนเมื่อใดที่จิต เห็นการ “เกิดดับ” บ่อยๆเข้า จิตนั้นก็จะเป็นจิตของ “ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน”
และเมื่อ “สติ” ได้รับการฝึกให้ “กล้าแข็ง” มากขึ้นเรื่อยๆ
ก็เปรียบได้กับการที่เรามี “อาวุธ” เช่น “มีดดาบ” ซึ่งก็คือ “ปัญญา” ไว้ใช้ ออกรบกับ “ข้าศึก” ในชีวิตของเราได้อย่างสง่างาม!
3) “ทำไมผมจึงนับถือพระพุทธศาสนา”
4) “พระธรรมคือยา”
5) “พระธรรมคือเครื่องเลี้ยงชีพ”
6) “ทำไมผู้คนส่วนใหญ่จึงเข้าถึงธรรมะได้ยาก”
โฆษณา