2 ม.ค. 2023 เวลา 02:55 • ธุรกิจ
อายิโนะโมะโต๊ะ กำไรจาก ธุรกิจเทคโนโลยี มากกว่าอาหาร
7
ปกติแล้ว เราจะคุ้นเคยว่าสินค้าของอายิโนะโมะโต๊ะคือผงชูรส หรือซอสปรุงรสต่าง ๆ
2
แต่รู้ไหมว่า จริง ๆ แล้ว อายิโนะโมะโต๊ะ มีกำไรมากกว่าครึ่งหนึ่ง มาจากธุรกิจเทคโนโลยีสุขภาพ และชิ้นส่วนชิปคอมพิวเตอร์ ที่คาดว่าแม้แต่ Intel หรือ AMD ก็เป็นหนึ่งในลูกค้าของ อายิโนะโมะโต๊ะ เช่นกัน
4
แบรนด์ผงชูรส เข้ามาผลิตสินค้าด้านสุขภาพ และชิ้นส่วนชิปได้อย่างไร ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
1
จุดเริ่มต้นของอายิโนะโมะโต๊ะ เริ่มต้นขึ้นเมื่อ 114 ปีที่แล้ว
โดย ดร.คิคุนาเอะ อิเคดะ ได้คิดค้นรสชาติหนึ่งที่ชื่อว่า
“อูมามิ” ที่ไม่เหมือนกับรสชาติอื่น ๆ ที่เคยลิ้มลอง
1
รสชาติอูมามินี้เอง ได้ถูกพัฒนาให้เป็นผลิตภัณฑ์เครื่องปรุงรส และผงชูรสตัวแรกของโลก ภายใต้
แบรนด์ที่มีชื่อว่า “อายิโนะโมะโต๊ะ”
2
และผงชูรสนี้ ได้กลายเป็นภาพจำของอายิโนะโมะโต๊ะให้กับคนทั่วโลกว่า เป็นธุรกิจที่ขายผลิตภัณฑ์ปรุงรสอาหารที่ใช้ในครัวเรือน และร้านอาหาร
แต่อายิโนะโมะโต๊ะเอง ไม่ได้มีแค่ธุรกิจผลิตเครื่องปรุงรสพวกนี้เท่านั้น เพราะในปี 1938 ก็มีการจัดตั้งสถาบันวิจัยของตัวเอง เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์อีกด้วย
2
โดยแรกเริ่มนั้น ทำหน้าที่วิจัยและสกัดกรดอะมิโน ซึ่งเป็นสารที่อยู่ในผงชูรส ต่อยอดเป็นวัตถุดิบให้กับอุตสาหกรรมเคมีและเครื่องสำอาง
3
แต่แน่นอนว่า การผลิตเพียงวัตถุดิบไม่ได้สร้างรายได้ที่มากมาย ทำให้ในช่วงปี 1970 หน่วยวิจัยจึงได้รับโจทย์ว่าจะต้องคิดค้นผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ให้ได้
1
ซึ่งผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ ถือเป็นตัวแรกที่ไม่ใช่สินค้าในอุตสาหกรรมอาหารก็คือ ABF หรือย่อมาจาก “Ajinomoto Build-up Film”
5
โดย ABF คือ ฟิล์ม ที่ทำหน้าที่เป็นฉนวนที่อยู่ระหว่างตัวชิปและแผงวงจร ซึ่งมีคุณสมบัติที่ยืดหยุ่นและทนทาน สามารถนำไฟฟ้าได้ดีและเป็นทางผ่านให้เกิดปฏิกิริยาเคมีได้
6
นอกจากนี้ ยังสามารถทนทานต่อความร้อนที่สูง
ทำให้สามารถป้องกันไม่ให้ชิปได้รับความเสียหาย จากความร้อนที่เกิดขึ้นในแผงวงจรคอมพิวเตอร์
1
แม้ในช่วงแรกจะไม่มีใครมั่นใจว่า ฟิล์มจากโรงงานผลิตผงปรุงรสจะสามารถใช้งานได้จริงในอุตสาหกรรมชิปหรือไม่ ทำให้ไม่มีบริษัทชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ให้ความสนใจ ABF
2
แต่ในที่สุด ฟิล์ม ABF ก็สามารถตีตลาดชิ้นส่วนชิปคอมพิวเตอร์ได้ในอีก 2 ปีถัดมา ซึ่งแม้ไม่มีการเปิดเผยว่าใครเป็นลูกค้าขั้นสุดท้าย แต่มีหลายคนคาดการณ์ว่าคือ AMD และ Intel ผู้ผลิตชิปคอมพิวเตอร์สองรายใหญ่ของโลก
4
นอกจาก ABF แล้ว อีกหนึ่งธุรกิจใหม่ที่มาควบคู่กันคือ ธุรกิจเทคโนโลยีสุขภาพ ซึ่งเกิดจากการนำกรดอะมิโนไปต่อยอดการใช้งาน ตัวอย่างเช่น
- เทคโนโลยีรักษาโรคหายากทางการแพทย์ และพัฒนาเป็นตัวยาเสริมภูมิคุ้มกัน
- ผลิตภัณฑ์สารอาหารสำหรับนักกีฬา
- วัตถุดิบเครื่องสำอาง
3
โดยในปี 2021 อายิโนะโมะโต๊ะ มีรายได้ทั้งสิ้น 299,736 ล้านบาท และกำไร 20,924 ล้านบาท
แบ่งเป็นรายได้จาก
- อาหารและเครื่องปรุงรส 58%
- สุขภาพและชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ 22%
- อาหารแช่แข็ง 19%
- อื่น ๆ 1%
3
หากลองไปดูผลประกอบการ กลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีสุขภาพและชิ้นส่วนชิปของอายิโนะโมะโต๊ะ จะพบว่า
 
- ปี 2019 รายได้ 60,774 ล้านบาท กำไร 5,117 ล้านบาท
3
- ปี 2020 รายได้ 62,847 ล้านบาท กำไร 6,875 ล้านบาท
2
- ปี 2021 รายได้ 65,917 ล้านบาท กำไร 11,362 ล้านบาท
4
เห็นได้ว่าทั้งรายได้และกำไรเติบโตอย่างต่อเนื่อง
และกำไรจากส่วนธุรกิจนี้ คิดเป็น 54% ของกำไรทั้งหมดในปีที่ผ่านมาของกลุ่มอายิโนะโมะโต๊ะ หรือเป็นสัดส่วนเกินครึ่งหนึ่งเลยทีเดียว
ที่น่าสนใจคือ ธุรกิจกลุ่มนี้เป็นธุรกิจเพียงกลุ่มเดียวที่มีรายได้เติบโตอย่างต่อเนื่อง และยังสามารถทำกำไรสุทธิได้ดีกว่าธุรกิจกลุ่มอาหาร
เพราะรายได้ทุก ๆ 100 บาทของกลุ่มอาหาร จะมีกำไรเพียง 12 บาท ในขณะที่รายได้ทุก ๆ 100 บาทของกลุ่มเทคโนโลยีสุขภาพและชิ้นส่วนชิป จะมีกำไรมากถึง 17 บาท
4
จึงนับได้ว่าหน่วยธุรกิจนี้ กลายเป็นอีกหนึ่งธุรกิจหลักของบริษัท และทำให้อายิโนะโมะโต๊ะในวันนี้ ไม่เหมือนในอดีตที่ผ่านมา
2
เพราะนอกจากผงชูรสและเครื่องปรุงแล้ว
อายิโนะโมะโต๊ะ ยังมีสินค้าจากธุรกิจสุขภาพและชิ้นส่วนชิปเข้าไปอยู่ในชีวิตประจำวันของเราอย่างไม่รู้ตัว..
1
ใครอยากมีความรู้เรื่องตลาดหุ้น ลงทุนแมนแนะนำ หนังสือ BLACK SWAN เล่มนี้ ราคา 380 บาท ที่เล่าถึงความล้มเหลวก่อนที่จะสำเร็จของนักลงทุนในตำนาน 12 คน สามารถสั่งซื้อ ได้ที่
1
โฆษณา