30 ธ.ค. 2022 เวลา 05:56 • ความคิดเห็น
Review Book (Four Thousand Weeks Time Management for Mortals) EP.4
ชีวิตเรามีแค่สี่พันสัปดาห์
เพราะเราไม่ได้มี "เวลา" "แต่เรา คือ เวลา
ความท้าท้ายในการบริหารจัดการเวลา ที่มีจำกัดของเรา ไม่ได้เกี่ยวกับทำอย่างไรให้ทุกอย่างเสร็จได้ แต่เป็นการหาวิธีให้เราสามารถตัดสินใจอย่างชาญฉลาดที่สุดว่า "เราจะไม่ทำอะไร" และทำอย่างไรให้สบายใจเมื่อไม่ได้ทำสิ่งนั้น
เราต้องเรียนรู้ที่ผัดวันประกันพรุ่งให้เก่งกว่าเดิม การผัดวันประกันพรุ่งเป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ไม่ว่าช่วงใด ช่วงหนึ่ง ประเด็นไม่ได้อยู่ที่ว่าการกำจัดการผัดวันประกันพรุ่ง แต่เป็นการเลือกอย่างฉลาดขึ้นว่าสิ่งไหนที่ควรจะถูกเลื่อนออกไปเพื่อที่จะได้มุ่ง ความสนใจเป็นยังสิ่งที่สำคัญที่สุด เทคนิคการบริหาร จัดการเวลา คือ การวัดว่า มันสามารถช่วยให้เราละเลยในสิ่งที่สมควรละเลยหรือไม่
มีเรื่องเล่าเปรียบเทียบเกี่ยวกับหินในขวดโหล ปรากฏในครั้งแรกในหนังสือของสตีเฟน โควีย์ ตีพิมพ์ปี 1994 ชื่อว่า First Things First
เรื่องเล่ามีอยู่ว่า มีครูท่านหนึ่งมาถึงชั้นเรียนในวันหนึ่งพร้อมกับหิ้วหินก้อนค่อนข้างใหญ่หลายก้อน หินกรวดจำนวนหนึ่ง ทรายหนึ่งถุง และโหลแก้วขนาดใหญ่โหลหนึ่งมาด้วย
เขาตั้งโจทย์ที่ท้าทายกับบรรดานักเรียนว่า พวกเขาจะสามารถใส่ก้อนหินก้อนใหญ่ หินกรวด และทรายทั้งหมดเข้าไปในโหลได้ไหม พวกเด็กนักเรียน (ที่ดูจะขาดไหวพริบอย่างเห็นได้ชัดเจน) พยายามใส่กรวดหินหรือทรายเข้าไปก่อน แล้วก็พบว่าพวกเขาไม่สามารถใส่ก้อนหินเข้าไปได้ ในที่สุด
ครูก็สาธิตวิธีการแก้ปัญหา เขาใส่หินก้อนใหญ่ ๆ ลงไปก่อน จากนั้นก็ใส่กรวด แล้วก็ทราย เพื่อให้ของที่มีขนาดเล็กกว่าได้อยู่ตามช่องระหว่างสิ่งที่มีขนาดใหญ่กว่า
เรื่องนี้สอนให้รู้ว่า ถ้าคุณให้เวลากับสิ่งที่สำคัญที่สุดเป็นอันดับแรก คุณจะสามารถทำทุกสิ่งทุกอย่างได้เสร็จและมีที่อีกมากมายสำหรับสิ่งที่มีความสำคัญรองลงมา แต่ถ้าคุณไม่ได้ทำสิ่งที่อยู่ในรายการตามลำดับเช่นนี้ คุณก็จะไม่มีมีวันทำเรื่องใหญ่ๆ ได้เลย
คำถามที่สำคัญไม่ได้อยู่ที่การแยกให้ออกระหว่างกิจกรรมที่สำคัญกับไม่สำคัญ แต่จะทำอย่างไรเมื่อมีสิ่งที่ค่อนข้างสำคัญซึ่งอาจถือได้ว่ามีคุณสมบัติที่จะเป็นหินก่อนใหญ่ได้อยู่เหมือนกัน
ในปริมาณที่มากเกินไป โดยมีผู้คนหัวคิดชาญฉลาดแบ่งหลักการออกเป็น 3 ประการ
1. ศิลปะแห่งการละทิ้งอย่างสร้างสรรค์
หลักการที่หนึ่งเมื่อเป็นเรื่องเวลาให้จ่ายให้ตัวเองก่อน
หลักการที่สอง จำกัดจำนวนชิ้นงานที่ทำอยู่
หลักการที่สาม การอดกลั้นกับความยั่วยวนของสิ่งที่สำคัญในระดับปานกลาง
แต่ถ้าคุณเป็นเหมือนคนส่วนใหญ่ คือ จ่ายให้ตัวเองเป็นสิ่งสุดท้าย
ถ้าคุณพยายามหาเวลาให้กับสิ่งที่สำคัญที่สุดด้วยการจัดการกับสิ่งอื่นๆ ที่คุณต้องการใช้เวลาทำให้หมดก่อน โดยหวังว่าในท้ายที่สุดมันจะยังพอมีเวลาเหลือ คุณจะผิดหวัง วิธีเดียวที่จะทำให้มั่นใจได้ว่ามันจะเกิดขึ้น คือ ทำเรื่องนั้นก่อนบางส่วนในวันนี้ไม่ว่าจะน้อยแค่ไหน " ถ้าเราไม่เก็บออมเวลาเล็กน้อยให้ตัวคุณเองทีละนิด จากทุกๆสัปดาห์ตั้งแต่ตอนนี้ มันจะไม่มีช่วงไหนในอนาคตที่อยู่ดีๆ คุณจะทำทุกอย่างสำเร็จได้อย่างมหัศจรรย์และมีเวลาว่างเต็มไปหมด"
2. ความสมบูรณ์แบบและการเป็นอัมพาต
ผู้ผัดวันประกันพรุ่งที่ดีจะยอมรับความจริงว่า ไม่สามารถทำทุกอย่างให้สำเร็จลุล่วงได้ จึงพยายามตัดสินว่าควรมุ่งเน้นภารกิจชิ้นไหนและอะไรที่ควรละทิ้งอย่างชาญฉลาดที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
ในทางตรงกันข้าม ผู้ผัดประกันพรุ่งที่แย่จะพบว่าตัวเองกลายเป็นอัมพาตเพียงเพราะว่าไม่อาจยอมรับความคิดเรื่องการเผชิญหน้ากับข้อจำกัดต่างๆ ของตนเอง
Time and Free will แบรกซงเขียนไว้ว่า เราชอบความรู้สึกที่ลังเลตัดสินใจไม่ได้มากกว่าการผูกมัดตัวเองไว้กับเส้นทางเดียวเสมอ เพราะ "อนาคตที่เราสามารถเลือกทิ้งได้ตามใจชอบปรากฏต่อหน้าเราพร้อมกันในหลากหลายรูปแบบ และพวกมันล้วนแล้วแต่น่าดึงดูดใจและมีความเป็นไปได้พอๆกัน" และนี้เป็นสาเหตุว่าทำไม่เราจึงมองเห็นเสน่ห์ในความหวังมากกว่าการครอบครอง และในความฝันมากกว่าความเป็นจริง
3. การลงหลักปักฐานที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
ไม่ใช่แค่เพราะการลงหลักปักฐานคือสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่เพราะการใช้ชีวิตให้เต็มที่จำเป็นต้องมีการลงหลักปักฐานด้วย
อนาคตมักจะน่าพึงใจกว่าปัจจุบันเพราะคุณสามารถดื่มด่ำกับความหวังทั้งปวงที่คุณมี ถ้าจะให้ลงหลักปักฐานให้ดีคุณควรจะลงหลักปักฐานในแบบที่ยากเกินกว่าจะเปลี่ยนใจ เมื่อเราตัดสินใจเลือกโดยรู้ว่าแทบจะย้อน
กลับไปเลือกใหม่ไม่ได้ พวกเขามักจะมีความสุขมากกว่า เพราะตอนนี้มันมีแค่ทางเดียวที่คุณจะเดินทางต่อไปได้ คือ การก้าวไปข้างหน้าไปสู่ผลที่ตามมาจากสิ่งที่คุณเลือกเอง
โฆษณา