31 ธ.ค. 2022 เวลา 16:28 • ธุรกิจ

How to achieve career goals แบบกระชับ ฉบับไมล์ลี่ ♥

ขอแนะนำตัวกันอีกรอบ เนื่องจากไมล์ลี่ ไม่ได้เขียนบล๊อก ลง Blockdit นานมากๆ
ไมล์ลี่นะคะ ปัจจุบันเป็น Producer ให้ บริษัทเกมแห่งหนึ่งในเยอรมัน โดยตัวเราเองมี ประสบการณ์ในสายพัฒนาเกม ประมาณ 10 ปี
DISCLAIMER: วิธีที่เราใช้ เหมาะสำหรับคนที่มีเป้าหมายชัดเจนเท่านั้น ไม่เหมาะกับคนที่อยู่ในช่วงค้นหาตัวเอง
DISCLAIMER2: แนวทางของเราค่อนข้างใช้เวลา อาจจะใช้เวลาเป็นปี เพราะเราเน้นการพัฒนาแบบระยะยาว เพื่อไปถึง ultimate goal
วันนี้ เราจะมาเล่าวิธีการพัฒนาตัวเอง ตามแบบกระชับ ที่ทำให้ได้งานตรงใจ
โดยวิธีการของเรา แบ่งเป็น ไม่กี่ขั้นตอนง่ายๆ ตามนี้
1. กำหนด Goal ของเราเอง
ให้คิดถึงสิ่งที่ตัวเองอยากทำงาน ไม่ว่าจะเป็น ตำแหน่งงาน, Working Environment, รูปแบบการทำงาน ที่เป็นเป้าหมายปลายทางของเรา
ถ้านึกไม่ออกขนาดนั้น เริ่มจากตำแหน่งงานก่อนก็ได้
For Example
ปลายทาง เราอยากเป็น Senior Game Designer ทำเกมบน Mobile
นาย A นามสมมตื
ทีนี้ เราก็มารวบรวมข้อมูลกันดีกว่า ว่าเราจะต้องมีอะไรบ้าง เริ่มด้วยการเปิด เว็บหางานก่อนเลย
ส่วนตัวเรา ที่เป็นสายเกม เราจะชอบใช้
ข้างล่างจะเป็นตัวอย่างของ Job Description ตำแหน่ง Senior Game Designer เกม Pokémon GO
JD Senior Game Designer เกม Pokémon GO
หาเพียงแค่อันเดียวคงไม่พอ ลองดูอันอื่นบ้าง
JD Senior Game Designer ของ Zynga
JD Senior Game Designer ที่ Crazy Labs
จริงๆ เราควรหา JD เยอะกว่านี้ แต่เราขออนุญาตยกตัวอย่างแค่สามอัน แต่ทุกคนก็จะพอเห็นได้คร่าวๆแล้วว่า มีอะไรเป็น Requirement ที่เราต้องมีในตำแหน่งนั้นๆบ้าง
  • ประสบการณ์ 5 ปีในตำแหน่ง Game Designer
  • ประสบการณ์ 2-3 ปี ในการ lead/mentor Game Designer คนอื่น
  • มีความรู้ด้าน Game Design
  • มีประสบการณ์ในการทำเกมที่ Live แล้ว
  • .....และอื่นๆ
นอกจากนั้น เรายังสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้อีก เช่น
  • หา Community ที่ Game Designer อยู่ เพื่อพูดคุยหาจุดร่วมด้าน Skill หรือ ประสบการณ์ของพวกเค้า
  • ดูประวัติคนที่ทำงานบริษัทนั้นๆ ใน Linkedin เพื่อดูว่า บริษัทรับคนประมาณไหน
เราแนะนำว่า นอกจากหาเรื่องจุดร่วมแล้ว หาข้อมูลเรื่องการทำงาน, Range เงินเดือน และอื่นๆ เป็นการ check เบื้องต้นด้วยว่า เราชอบงานนี้จริงๆ หรือเปล่า
ถ้ามีเป้าหมายเป็น บริษัทไหนชัดเจน แนะนำให้ลอง อ่าน Vision ของ CEO หรือ Culture ของเค้าด้วย ว่า เป็นการทำงานประมาณไหน หรือทิศทางในอนาคต จะไปทางไหน เช่น อนาคตจะทำ NFT Games แต่ส่วนตัวไม่ชอบ จะได้สามารถเปลี่ยนใจทัน หรือว่าทำ Product เกมอะไร แบบไหน ข้อมูลส่วนนี้สามารถนำไปช่วยในการสัมภาษณ์งานอีกด้วย
2. วิเคราะห์ตัวเราเอง
เราสามารถเริ่ม ทำแบบง่ายๆ ด้วยการทำ SWOT Analysis สามารถเขียนเป็น list ยาวๆ ไปได้เลย ไม่ต้องห่วงว่าจะยาวเกินไป
SWOT Analysis
โดย
S: Strengths คือ การเขียนจุดเด่นของเราลงไป
เช่น ถนัดงานด้าน Monetization Design เมื่อเทียบกับด้านอื่น
W: Weaknesses คือ การเขียน จุดอ่อนของเราลงไป
เช่น ใช้ภาษาอังกฤษได้ไม่ค่อยดี
O: Opportunities คือ โอกาส หรือสิ่งที่เราได้เปรียบเมื่อเทียบกับภายนอก
เช่น จบด้านเกมมาโดยตรง เมื่อเทียบกับคนอื่นๆ
T: Threads คือ ข้อเสียเปรียบเมื่อเราเทียบกับคนอื่นๆ
เช่น ไม่ได้มี ประสบการณ์ในการ Mentor คนอื่นๆเลย
**ตรงนี้ส่วน O และ T เราแอบเอาเราไปเทียบกับคนที่ทำงานด้วยกัน หรือ คนที่ทำงานใน บริษัทเป้าหมายได้**
ตอนนี้ เราก็จะเริ่มเห็น ช่องว่าง ระหว่าง สิ่งที่เราเป็น กับงานที่เราอยากทำกันและ ขั้นตอนถัดไป จะเป็นการทำเพื่อลดช่องว่าง ตรงนั้น
3. วางแผน สำหรับ Self improvement
หลังจากได้ SWOT Analysis แล้ว หลายๆคน ที่ชอบวางแผนหรืออะไรแบบนี้ อาจจะเอาไปวาง กลยุทธ์ ด้วยวิธีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น TOWS Matrix หรืออื่นๆ
แต่เราเพื่อ Keep it simple stupid!! เราจะสนใจแค่ W และ T เป็นหลัก
จากตัวอย่าง
  • ใช้ภาษาอังกฤษได้ไม่ค่อยดี
  • ไม่ได้มี ประสบการณ์ในการ Mentor คนอื่นๆเลย
เพราะฉะนั้นเราต้องพัฒนา ภาษาอังกฤษให้อยู่ในระดับสื่อสารในการทำงานได้ และหาประสบการณ์ในการ mentor คนอื่นๆ
เรามาดูทีละหัวข้อกันดีกว่า
เราต้องพัฒนาภาษาอังกฤษให้อยู่ในระดับสื่อสารในการทำงานได้
Goal 1.
เราทำแบบไหนกันได้บ้าง คิดอะไรออกก็เขียนออกมาเลย พร้อมดูข้อดีข้อเสียไปด้วย
  • หาคอร์สภาษาเรียนเพิ่มเติม จากสถาบันต่างๆ ต้องใช้เงินจำนวนหนึ่ง และเวลาเพิ่มนอกจากงานหลัก อาจจะมีปัญหาเมื่อต้องคุยเรื่อง Technical จัดๆ แต่เราเรียนด้านนี้มาโดยตรง อาจจะชดเชยข้อเสียส่วนนั้นไปได้
  • ย้ายงานไปใน บริษัทที่ทำงานโดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก ไม่ต้องเสียเงินเยอะ ได้เงินเดือนด้วย แต่อาจจะต้องหา บริษัทที่ยินดีรับคนที่ภาษาไม่ดีแล้วไปพัฒนาในภายหลัง
  • ......อื่นๆ
ซึ่งในแต่ละ Choice ที่มี ก็จะสิ่งที่เราต้องทำเพิ่มเติมด้วย เช่น ถ้าเลือกเรียน อาจจะต้องจัดตารางเวลาเพิ่ม นอกเวลางาน หรือ ถ้าเลือกเปลี่ยนงาน ก็อาจจะ ต้องศึกษาหาบริษัทก่อน
หรือหัวข้อที่สอง
เราต้องหาประสบการณ์ในการ lead/mentor คนอื่นๆ
Goal 2.
ทำเหมือนเดิม list สิ่งที่เป็นไปได้ที่จะช่วยให้เราได้ ประสบการณ์ตรงนั้น
  • เมื่อประสบการณ์มากพอกับโปรเจค มีคนใหม่เข้าทีม อาสาเป็นคน On-boarding หรือสอนคนใหม่ วิธีนี้ อาจจะต้องรอเวลาและโอกาส แต่เป็นธรรมชาติ และเป็นจุดเริ่มที่ดี
  • นำเสนอโปรเจคใหม่ และนำโปรเจคด้วยตัวเองในส่วน Design เมื่อได้การ Approve จากฝ่ายบริหาร วิธีนี้อาจจะเสี่ยงหน่อย เพราะโปรเจคอาจจะไม่ได้รับการ Approve ต้องไปหาข้อมูลบริษัทเพิ่ม ทั้งเรื่อง ทุนที่มี เวลา แผนงานในอนาคตของ บริษัทและอื่นๆ รวมถึงแนวโน้มที่จะประสบความสำเร็จ ต้องเตรียม Pitch กับทางบริษัท
  • .....อื่นๆ
หลังจากเลือกแนวทางทั้งหมดแล้ว เราก็เริ่มมา estimate หรือประเมินเวลา ที่จะทำเสร็จ เราแนะนำให้เลือกเอาตาม pace ที่เหมาะสมของตัวเอง แล้วลอง มาปักเป็น Milestone กัน
โดย Milestone ที่ว่า เราอยากให้เป็น Goal หลวมๆที่ยืดหยุ่นได้ ด้านเวลา เพราะเราไม่รู้หรอกว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง แล้วดูว่า ในแต่ละ Milestone เรามี Goal ย่อยอะไรลงไปอีก
เช่น
ภายในอีกครึ่งปี เราจะสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ จากการลงคอร์ส
  • เดือนที่ 2 อย่างน้อยต้องสื่อสารเบื้องต้นได้ แบบใช้ในชีวิตประจำวัน
  • เดือนที่ 4 เริ่มสื่อสารแบบเฉพาะทางของ Game Design เบื้องต้นได้
  • เดือนสุดท้าย สามารถอธิบาย Feature ที่ซับซ้อนที่ตัวเองออกแบบให้เข้าใจง่ายๆ
หรือสำหรับคนสายเป๊ะ!! จะใช้หลัก SMART ช่วยในการตั้ง Goal คือ
S - Specific - ระบุเป้าที่ชัดเจน
M - Measurable - วัดผลได้
A - Archievable - ทำได้จริง
R - Relevant - เกี่ยวข้องกับเป้าหมายหลัก
T - Time-bound - ตีกรอบด้วยเวลาที่เราประเมิน
อ่านวิธีตั้งเพิ่มได้ใน link
โดยการ Plan พวกนี้ สามารถใช้ Tools ต่างๆได้ ตามชอบของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น Trello หรือ Notion และอื่นๆ
ตัวอย่าง Template จาก Notion
สำหรับคนที่ไม่ชอบใช้ Digital Product ก็สามารถซื้อ personal planner ที่เป็นเล่มตามร้านเครื่องเขียนได้เลย แบบน่ารักๆ มีเยอะมาก
ตัวอย่าง Template น่ารักๆที่ Print ได้
นอกจากนั้นอย่าลืมลำดับความสำคัญ ของแต่ละ Goal ที่ต้องไล่ทำด้วย
ส่วนตัวเรา ขอแนะนำวิธีง่ายๆ อย่าง MoSCoW method
คือการไล่ลำดับจาก สิ่งที่จำเป็นต้องมีถึงสิ่งที่ไม่จำเป็นต้องมี
MoSCoW Method
โดย ให้ Requirement หลัก ใน Job Description เป็น Must have กับ Should have
ส่วน Preferred Requirement เป็น Could have กับ Won't have
หากใครต้องการใช้วิธีอื่นในการลำดับความสำคัญ เลือกได้ตามความถนัดเลย
FUN FACT: 1 ในคำถามสัมภาษณ์ Product Manager ในเครือ FAANG คือ การให้อธิบาย TCP/IP ให้เด็กเก้าขวบฟังโดยเทียบกับ Ice-cream Truck
ที่สำคัญเมื่อเราประเมินเวลาออกมา หรือเห็นชัดๆแล้ว ว่า ไม่สามารถทำได้ในเร็วๆนี้แน่นอน แล้วกลัวว่า ตำแหน่งจะเต็มไปก่อน เราไม่อยากให้กังวลไป เพราะว่า บางตำแหน่ง ใช้เวลาเป็นปีในการหาคน หรือ บางตำแหน่งอาจจะปิดไปก่อน ตามที่เรากลัว แต่ให้ทุกคนรู้ไว้ว่า เมื่อถึงเวลาที่มันเปิดอีกครั้ง เราจะพร้อมกว่านี้แน่นอน เพราะเราเตรียมตัวมาแล้ว
HR ที่เรานับถือเคยบอกไว้ว่า
โอกาสที่ใช่จะมาในช่วงเวลาที่ถูกต้อง
นอกจากนั้นความรู้หรือประสบการณ์ที่เราสะสมมาจากการฝึก การวางแผน ไม่มีทางเปล่าประโยชน์ และตราบใดที่ยังอยู่ในสายงานนี้ เราจะได้ใช้งานมันอย่างแน่นอน
4. ลงมือ ฝึกทำ ทำงาน
ส่วนนี้ ไม่มีอะไรมาก ลงมือทำ โดยไม่กดดันตัวเองมากเกินไป ไม่งั้นอาจจะเกิด Toxic productivity ได้ ซึ่งอาจจะเสียสุขภาพจิตในระยะยาว
นอกจากเราทำตามแล้ว เรายังต้องคอย Track progress ของเราด้วย ว่าเป็นไปตามที่วางไว้ไหม
โดยเราจะถือว่า ทำเรียบร้อย เมื่อเราสามารถทำได้ ตาม Goal ที่วางไว้
5. สมัครงานนนนนนโลด!
เมื่อเรารู้สึกว่า เราพร้อมระดับนึง ส่วนตัวเราคือ อย่างน้อยต้องเป็นไปตาม Requirement ใน Job Description 80-90% และต้องมีข้อหลักๆ ซึ่ง ปกติ HR/Hiring Manager มักจะเขียนไว้ข้อแรกๆ
นอกจากนั้น เขียน Resume/CV และ Cover Letter ที่จะนำเสนอทั้ง Strength และ Opportunity ที่เป็นไปตามตำแหน่งที่ ประกาศไว้ รวมถึง Weaknesses และ Threats ที่เราได้พัฒนาขึ้นมาจากระยะเวลา เพื่อแสดงความเชื่อมั่นว่า เรา fit กับตำแหน่งนั้นจริงๆ
Template ของ CV/Resume รวมถึง Cover letter สามารถหาได้โดยทั่วไปตาม internet
แต่โดยส่วนตัว เราแนะนำให้เขียน Cover letter ด้วยตัวเองในแบบ Business Writing คือ เชื่อว่า คนอ่านไม่ได้มีเวลาอ่าน เพราะฉะนั้น เราแนะนำหลักการเขียนง่ายๆด้วย 6C คือ
  • 1.
    Clear ชัดเจน
  • 2.
    Concise กระชับ
  • 3.
    Coherent สอดคล้อง
  • 4.
    Correct ถูกต้อง
  • 5.
    Courteous สุภาพ
  • 6.
    Convincing น่าเชื่อ
ไปอ่านเต็มได้ใน Link ข้างล่าง
หลังจากส่งไปแล้ว และระยะเวลาทิ้งช่วงห่างระดับนึง หรือ หลังจากสัมภาษณ์แล้ว เราสามารถส่งเมลล์ Follow-up เพื่อถามถึง Feedback ของการสมัครงานหรือ สัมภาษณ์งานได้ เพื่อนำมาพัฒนาต่อไป
ด้วยวิธีนี้ เราได้ผ่านเข้ารอบแรก ไม่ว่าจะเป็นไปทำแบบทดสอบต่อ หรือสัมภาษณ์รอบแรก 70-80% (โดยเราคัดสมัครที่เราชอบจริงๆ 4-5 ที่ และ ได้ offer 2-3 ที่)
หากไม่ผ่านทั้งที่ เราพยายามแล้ว การสัมภาษณ์และการทำแบบทดสอบดูค่อนข้างดี อยากให้ทุกคน คิดถึงในแง่มุมกลับจากทางบริษัทว่า อาจจะมีปัจจัยอื่นๆ เช่น งบประมาณที่ไม่พอ ระยะเวลาเริ่มงานไม่เหมาะ หรือ เจอคนที่ตรงกับตำแหน่งมากกว่า (รวมถึง Preferred Requirement ด้วย) รวมถึง Soft skills ที่เรามีด้วย
เพราะการรับ Job Offer คือการตกลงกันของทั้งสองฝ่าย
นอกจากนั้น ด้วย Skill ที่เราพัฒนามาจากการทำทั้งหมด เป็นการเพิ่มโอกาส ในการสมัครงาน ซึ่งรวมถึงบริษัทอื่นๆที่ยินดีรับเราเข้าทำงานมากขึ้นอีกด้วย
สุดท้ายนี้ขอให้ทุกคนโชคดีกับการหางาน หวังว่า บทความนี้จะเป็นประโยชน์อยู่บ้าง
ช่องทางสำหรับติดตาม
โฆษณา