Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
รู้ทัน COVID-19
•
ติดตาม
1 ม.ค. 2023 เวลา 05:07 • สุขภาพ
วัคซีนรุ่นใหม่ (Bivalent vaccine)คืออะไร? ดีกว่ารุ่นเก่าขนาดไหน?
จะรอฉีดรุ่นใหม่ดีหรือจะฉีดวัคซีนรุ่นเก่ากระตุ้นภูมิไปก่อน
แต่ก็เบื่อฉีดวัคซีนแล้วนะ ไม่ฉีดเพิ่มได้หรือเปล่า 3 เข็มก็พอแล้วไหม ?
ถ้าไม่ฉีดเพิ่ม มีทางเลือกอื่นๆอีกไหม
โพสต์นี้มีข้อมูล และ คำตอบ แบบอ้างอิงวิชาการทางการแพทย์
(ใช้เวลาอ่านประมาณ 5-10 นาที)
Cr. https://lickingcohealth.org/covid-19/covid-19-vaccine-faqs/
สวัสดีครับ หลังจากที่ห่างหายกันไปนานไม่ได้โพสต์อะไรเกี่ยวกับโควิดเลย
เนื่องจากสถานการณ์ภายในประเทศในช่วงกลางปีที่ผ่านมา
แม้ว่าจะมีผู้ติดเชื้อรวมสูงขึ้นแแต่มีผู้ป่วยอาการหนักไม่เกินกว่าที่รองรับไหว
ส่งผลให้ภาพรวมผ่านไปได้ด้วยดี และ ยังไม่มีงานวิจัยของวัคซีนรุ่นใหม่
แต่ภายหลังจากประกาศให้ Covid-19 เป็นโรคประจำถิ่น
+ เริ่มมีการผ่อนกายมาตรการต่างๆลง
+ เชื้อมีกลายพันธุ์ เป็นสายพันธุ์ที่ดื้อวัคซีนหรือ ติดเชื้อง่ายมากขึ้น จาก BA.5 เป็น BA.2.75
+ ภูมิทั้งจากธรรมชาติที่ได้จากการติดเชื้อจริงในช่วงกลางปีที่ผ่านมาเริ่มตกลง และ/หรือ บางส่วน ก็ไม่มีการฉีดเข็มกระตุ้นเข็มตามนัด
+ ต้นฤดูหนาว เป็นฤดูที่จะมี การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสทางเดินหายใจอยู่แล้ว
รวมๆกันหลายปัจจัย ทำให้เริ่มมีแนวโน้ม
จำนวนผู้ป่วยโอกาสป่วยหนักและเสียชีวิตมากขึ้น
จากตัวเลข ของกระทรวง พบว่าในช่วงเดือน พย. ถึง ธค
มีจำนวนผู้ป่วยโอกาสป่วยหนักเพิ่มขึ้น จากตอนต้น ตค.
สัปดาห์ละ 2 พัน เป็น เกือบ 5 พันคน/สัปดาห์
ส่งผลให้ เสียชีวิตมากขึ้น จากตอนต้น ตค.
สัปดาห์ละ 50 เป็น เกือบ 113 คน/สัปดาห์
ซึ่งเป็นลักษณะเดียวกันทั่วโลก
Ref :1+2
จนเกิดกระแสรณรงค์การฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นกลับมาใหม่อีกรอบนึง
แต่ก็มีใครหลายๆคำถามเกิดขึ้นว่าคุ้มค่าที่จะฉีดเพิ่มไหม
เดี๋ยวเรามาดูข้อมูลกันนะครับ
Q1 ทำไมต้องฉีดวัคซีนอีก 4 เข็มไม่พอหรอ วัคซีนเต็มแขนไปหมดแล้ว
A1. การจะตอบคำถามนี้ ขึ้นอยู่กับว่า เราหวังประสิทธิภาพด้านไหนจากวัคซีน
โดยประโยชน์ของวัคซีน มี 4 อย่างหลักๆ
1. กันติด+แพร่
2.กันป่วย
3.กันป่วยหนัก
4. กันตาย
โดยเมื่อเราฉีดวัคซีนเข้าไปในร่างกาย จะไปกระตุ้นระบบภูมิต้านทาน 2 ระบบ ก็คือ
- B-cell ปล่อย ภูมิต้านทาน(Ab) มากันไวรัสให้เข้าเซลล์ไม่ได้ ทำให้ cell ไม่ติดเชื้อ
- T-cell ทำลาย Cell ที่ติดเชื้อ ไม่ให้แพร่เชื้อได้
ซึ่งเราพบว่า
ข้อ 1+2 (กันติด + กันป่วย) เป็น ผลจากการทำงานของ Ab เป็นหลัก
ข้อ 3+4 (กันหนัก +กันตาย) เป็น ผลจากการทำงานของ T-cell เป็นหลัก
ดังรูป
1
ref 3+4:
Covid-19 Vaccines —Immunity, Variants, Boosters
The T cell immune response against SARS-CoV-2
ปัญหา ก็คือ
= Ab จาก B-cell จะลดลงเรื่อยๆ ตามเวลา
ทำให้ประสิทธิภาพกันติดเชื้อจะลดลงเรื่อยๆ
แถมไวรัสยังขยันกลายพันธุ์ร่างใหม่ไปเรื่อย
ส่งผลประสิทธิภาพกันติดและกันป่วยลดลงเรื่อยๆ
แต่ T-cell จะกลับกันโดยพบว่า จะไม่ค่อยลดลลงตามเวลา
ร่างกายมักจะจดจำเชื้อได้ดี
โดยเฉพาะ ยิ่งถ้าได้รับการกระตุ้นด้วย Vaccine ที่กระตุ้น T-cell ได้ดี
อย่างเช่น Viral vector หรือ m-RNA
และเรายังพบอีกว่า T-cell ถ้า กระตุ้นเกิน 3 ครั้งแล้ว
มักจะไม่ทำให้ร่างกายจำได้ดีขึ้น
ซึ่งเมื่อก่อน แม้ภูมิจะตกก็ไม่มีปัญหาอะไร เพราะ
เชื้อโควิดนั้นแบ่งตัวช้ากว่าจะฟักตัวก็ใช้เวลาประมาณ 4-5 วัน
ทำให้ แม้ว่าภูมิจะตก แต่ระบบ t cell
จะสามารถทำงานได้ทันก่อนที่ไวรัสจะเพิ่มปริมาณ
แต่พอเป็นเชื้อโอไมครอนมีระยะเวลาการฟักตัวที่สั้นลง
แบ่งตัวเร็วขึ้น เหลือเพียง 2-3วัน+กลายพันธุ์
ทำให้ระบบ t cell ทำงานไม่ทัน กว่าจะเริ่มทำลายเซลล์ที่ติดเชื้อไวรัส
ไวรัสก็เพิ่มปริมาณจนเกินกว่าที่ร่างกายจะรับไหวแล้ว
ส่งผลให้มีโอกาสป่วยหนักหรือตายเยอะขึ้น
โดยเฉพาะในกลุ่มที่ อาจจะฉีดวัคซีนแล้วภูมิไม่ขึ้นหรือ
มี T-cell อ่อนแอ หรือ ทำงานผิดพลาด ก่อให้เกิดการอักเสบรุนแรง
ซึ่งก็คือ คนแก่ มีโรคประจำตัว ภูมิไม่ดี หรือ ก็คือ บรรดากลุ่ม 608 นั้นเอง
ดังนั้น คำตอบก็คือ ขึ้นกับว่าเป็น ประชากรกลุ่มไหน + หวังอะไร
ถ้า แข็งแรงดี ไม่มีปัจจัยเสี่ยง และหวังแค่ กันหนัก กับ กันตาย
การ ได้รับ Vaccine กระตุ้น T-cell ได้ดี
เช่น Az หรือ m-RNA มาแล้ว 3-4 เข็มอาจจะพอไว้ใจได้
แต่ถ้า กลุ่ม 608 หรือ คนที่หวังกันติดหรือ กันป่วย ด้วย คิดว่าน่าจะยังไม่พอ
Q2 ฉีดวัคซีน+เคยติดเชื้อแล้ว ยังต้องฉีดอีกเหรอ
ติดโควิดครั้งที่แล้วไม่เห็นรุนแรงเลย ถ้าติดอีกก็คงไม่รุนแรง
- ใช่ครับ ติดแล้วก็ติดอีกได้ บางคนติดมาแล้ว 3ครั้งก็มี
และเรามีข้อมูลต่างๆมากมายจากงานวิจัยว่า
คนที่ฉีดวัคซีนแล้วและมีการติดเชื้อหลังจากฉีดวัคซีน
โอกาสป่วยหนักจะน้อย และจะได้ภูมิคุ้มกันแบบลูกผสม
ที่เราเรียกว่า hybrid immunity
ซึ่งมีลักษณะเด่นก็คือ ภูมิจะตกช้าและ กระตุ้น ทีเซลล์ได้ดีมาก Ref 5+6
ซึ่งเป็นที่มาของการยกเลิกนโยบายซีโร่โควิดใน
บรรดาประเทศที่เคย Zero covid และฉีดวัคซีนได้เยอะแล้ว
ดังเช่นที่เห็นในฮ่องกง,ไต้หวัน,นิวซีแลนด์หรือ ญี่ปุ่น แม้กระทั่งในไทยเองก็เช่นกัน
แต่ก็มีบางกรณีที่ hybrid immunity อาจจะไม่น่าไว้ใจ
- ติดเชื้อครั้งที่แล้วมานานมาก
ตั้งแต่สมัย Delta หรือ โอไมคอนรุ่นแรก
เพราะว่าภูมิที่่ไวรัสรุ่นเก่าๆ จับกับหนามไวรัสรุ่นใหม่ที่มีการกลายพันธุ์ได้ไม่ดี
Protection conferred by Delta and BA.1/BA.2 infection against BA.4/BA.5 infection and
2 hospitalization: A Retrospective Cohort Study (Ref 5)
โดยอ้างอิงจากงานวิจัยในประเทศอังกฤษ ทำในประชากร 21,000 คนพบว่า
การติดเชื้อเดลต้าไม่สามารถช่วยป้องกันการติดเชื้อโอไมคอนสายพันธุ์ใหม่ๆได้ ลดโอกาสป่วยหนักได้เพียง 11%
ส่วนการติดเชื้อสายพันธุ์โอไมคอน ตั้งแต่รุ่นเริ่มต้น
สามารถช่วยป้องกันโอกาสในการป่วยหนักได้แค่ 18.8%
- ติดเชื้อครั้งที่แล้วแบบไม่มีอาการหรือไม่รุนแรง เพราะ อาจจะกระตุ้นภูมิขึ้นน้อยและไม่เพียงพอต่อการป้องกันครั้งหน้า
- ติดเชื้อครั้งที่แล้วอาจจะอยู่ในช่วง 3-4 เดือนแรกทำให้ภูมิยังสูงเลยป่วยไม่หนัก แต่ ครั้งหน้าถ้าอยู้ในช่วงภูมิตกก็อาจจะป่วยหนักได้
มีข้อมูลงานวิจัยจากในประเทศ Mexico ที่น่าสนใจ ตีพิมพ์ Preprint ไว้
-Protection of hybrid immunity against SARS-CoV-2 reinfection and severe COVID-19 during periods of
Omicron variant predominance in Mexico Ref 8
1
คำถามคือ ถ้าติดเชื้อซ้ำรอบ 2 จะรุนแรงขึ้น หรือ รุนแรงลดลง
เก็บข้อมูลในประชากร 4 หมื่นคน จากฐานข้อมูลภาครัฐ
โดยเปรียบเทียบในกลุ่มที่มีการติดเชื้อโควิดซ้ำว่า จะรุนแรงขึ้น
หรือ รุนแรงลดลง
1
ผลออกมาก็คือ
ประชากรส่วนใหญ่ซึ่งมีอายุน้อย อยู่ในช่วง 20-50 ปี
แต่ไม่ทราบว่มีโรคประจำตัวเท่าไร
พบว่า การติดเชื้อซ้ำ มักเกิดในคนที่ไม่ฉีด Vaccine
ส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่ความรุนแรงที่เท่าเดิมหรือลดลง
8.95 % ความรุนแรงลดลง
6.74% ความรุนแรงเพิ่มขึ้น โดย มี 0.74% จากป่วยไม่หนัก เป็นป่วยหนัก
โดยพบว่า อายุ การได้รับวัคซีน และ ระยะห่างหลังจากได้วัคซีนเข็มสุดท้าย
เป็นตัวที่ทำนายว่าใครจะติดเชื้อซ้ำรุนแรง
สรุปแล้ว การติดเชื้อซ้ำ มีแนวโน้มรุนแรงเท่าเดิมหรือลดลง
แต่ไม่ใช่กับทุกคน โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยง อาจจะรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต
ยิ่งถ้าไม่ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นนานเกินไป
Q3 : ถ้าไม่ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นนานเกินไป
ไม่นานเกินไปนี่ ฉีดกระตุ้นกี่เดือนดี
A3: เป็นการยากที่จะตอบว่าต้องฉีดกระตุ้นห่างกี่เดือนดี
เพราะเรารู้แค่ว่าระดับภูมิคุ้มกันจะตกลงเรื่อยๆ
ถ้าฉีดกระตุ้นถี่เกินไปมักจะได้ผลไม่ดี ภูมิขึ้นน้อย
ทำให้ได้ประสิทธิภาพไม่ดีเท่าที่ควร จนไม่คุ้มกับผลข้างเคียงจากวัคซีน
แต่ถ้าห่างเกินไป ประสิทธิภาพก็จะลดลง
จนอาจจะป่วยหนัก หรือ เสียชีวิตได้
เนื่องจากเรายังไม่ทราบว่าระดับภูมิคุ้มกันต่ำสุดที่
ยังสามารถป้องกันการติดเชื้อแบบรุนแรงหรือเสียชีวิตได้
หรือที่เราเรียกว่า correlate of protection (cop) อยู่ที่เท่าไร
เพราะการวัดระดับภูมิต้านทานมีหลายแบบ หลายบริษัท หลายเทคนิค
ยังไม่มีวิธีมาตรฐานที่ดีที่สุด
2
และภูมิต้านทานที่ได้เป็นการวัดในเชิงปริมาณ แค่บอกว่ามีภูมิเยอะหรือภูมิน้อย
แต่ไม่ได้บอกว่าภูมิที่มีสามารถในการยับยั้ง
หรือป้องกันการติดเชื้อไวรัสได้ดีขนาดไหน
อีกทั้งภูมิจะตกไวหรือ ช้า ยังแปรผัน ตาม อายุ
โรคประจำตัว ชนิดของวัคซีน ประวัติว่าเคยติดเชื้อหรือไม่อีก
รวมถึงไวรัสยังมีการกลายพันธุ์อยู่เรื่อยๆ
ส่งผลให้ ค่า COP น่าจะเปลี่ยนแปลงไปตามสายพันธุ์
สำหรับการวัดเชิงคุณภาพ เช่นการหา Neutralizing Ab เป็นวิธีที่ดี
แต่ทำได้ยากและแปรเปลี่ยนไปตามสายพันธุ์ในขณะนั้น
Ref 9 : A Covid-19 Milestone Attained
— A Correlate of Protection for Vaccines
ทำให้ ข้อมูลที่ช่วยในการตัดสินใจได้ดีกว่า คือ
- ประสิทธิภาพในชีวิตจริง ว่า ติดตามไปแล้ว ระยะเวลานานเท่าไร ถึงจะเริ่มมีโอกาสป่วยหนักหรือเสียชีวิตมากขึ้น
ซึ่งมี Registry ใหญ่ๆใน 2 ประเทศ คือ US+ UK ที่น่าสนใจ
จะขออนุญาติยกไว้ ตอนที่ 2 เพื่อไม่ให้ยาวเกินไป
รวมถึง Q4-Q5 ด้วยนะครับเพราะแค่นี้ก็ยาวมากแล้ว
Q4 : วัคซีนรุ่นใหม่ (Bivalent vaccine)คืออะไร?
และ รุ่นใหม่ดีกว่า รุ่นเก่าจริงไหม ?
ถ้ายังไม่เคยฉีด รอฉีดตัวหม่เลยได้ไหม ?
Q5 : ไม่อยากฉีด Vaccineแล้ว กลัวผลข้างเคียง
เห็นเค้าว่ายิ่งฉีดเยอะยิ่งติดเยอะ มีทางเลือกอื่นอีกไหม?
1
Ref
1.
https://ddc.moph.go.th/covid19-dashboard/
2.
https://www.worldometers.info/coronavirus/
3.
https://www.nejm.org/doi/pdf/10.1056/NEJMra2206573?articleTools=true
4.
https://www.nature.com/articles/s41590-021-01122-w
5.
https://www.medrxiv.org/content/10.1101/2022.12.13.22283400v1.full.pdf
6.
https://www.medrxiv.org/content/10.1101/2022.12.02.22282921v1
7.
https://www.medrxiv.org/content/10.1101/2022.11.14.22282310v1.full.pdf
8.
https://www.medrxiv.org/content/10.1101/2022.12.08.22283269v1.full.pdf
9.
https://www.nejm.org/doi/pdf/10.1056/NEJMp2211314?articleTools=true
<<toBeConvertedToEmptyParagraph>>
6 บันทึก
14
9
14
6
14
9
14
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย