3 ม.ค. 2023 เวลา 02:00 • ข่าว

ฟ้องทางอาญา เรื่อง PDPA ทำอย่างไร

การถูกละเมิดทาง PDPA นั้น อย่างที่ทราบกันดีว่าสามารถฟ้องกันได้ทั้งแบบอาญา แพ่ง และปกครอง ขึ้นอยู่กับรูปแบบของการถูกละเมิด ซึ่งเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลสามารถเลือกที่จะฟ้องในรูปแบบที่เหมาะสมได้ แล้วการถูกละเมิดแบบไหนที่เข้าข่ายการ ฟ้องทางอาญา และขั้นตอนการฟ้องร้องทางอาญาจะต้องทำอะไรบ้าง
ความผิดทางอาญาของ PDPA
ความผิดทางอาญาของ PDPA กำหนดโทษอาญา ตามมาตรา 79-81 “ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหว โดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล หรือผิดจากวัตถุประสงค์ที่ได้แจ้งไว้ หรือ โอนข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหวไปยังต่างประเทศโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย”
-ทำให้ผู้อื่นเกิดความเสียหาย เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย โทษจำคุก <= 6 เดือน หรือ ปรับ <= 500,000 บาท
-เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น โทษจำคุก <= 1 ปี หรือ ปรับ <= 500,000 บาท
-ผู้ใด ล่วงรู้ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่นเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ตามพ.ร.บ.นี้ ห้ามนำไปเปิดเผยแก่ผู้อื่น เว้นแต่เปิดเผยตามหน้าที่ หรือเพื่อประโยชน์แก่การสอบสวนหรือพิจารณาคดี หรือ ได้รับความยินยอมเป็นหนังสือเฉพาะครั้งจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล หรือเปิดเผยให้หน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย หรือ ข้อมูลคดีต่างๆ ที่เปิดเผยต่อสาธารณะ โทษจำคุก <= 6 เดือน หรือ ปรับ <= 500,000 บาท
ผู้กระทำความผิดที่เป็นนิติบุคคล หากกรรมการหรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้นสั่งการหรือกระทำหรือละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิดต้องรับโทษในส่วนที่กำหนดโทษอาญาไว้ด้วย
ขั้นตอนการ ฟ้องทางอาญา
-รวบรวมพยานหลักฐาน
-เรียบเรียงเรื่องราว
-ปรึกษาทนายความ
-วินิจฉัยว่าเป็นคดีอาญาหรือไม่
-ดำเนินการยื่นฟ้อง
-ขึ้นศาล
-นัดสอบคำให้การสืบพยาน
-ศาลตัดสิน
เราเองในฐานะเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลก็ต้องพิจารณาให้ดีว่า ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับเรานั้นมันมากมายเพียงพอที่จะฟ้องร้องคดีทางแพ่งหรือไม่ ทางที่ดีควรติดต่อ DPO ของหน่วยงานหรือบริษัทฯ ที่ทำการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลของเราก่อนจะดีที่สุด บางทีเรื่องอาจจะไม่ต้องถึงขั้นขึ้นโรงขึ้นศาลก็ได้
โฆษณา